หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาทักษะความรู้และทัศนคติในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศ

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-MPD-6-097ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาทักษะความรู้และทัศนคติในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการผลิตผลิตภัณฑ์นม จะต้องสามารถปฏิบัติงานในส่วนของการนำองค์กรได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะ ความรู้ และทัศนคติ เพื่อเป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศ และพัฒนาและเรียนรู้ด้านความเป็นผู้นำด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (Life long learning) เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรืออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมได้ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: น้ำนมโคดิบตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6003-2553) - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2549 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 351) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมปรุงแต่ง- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2556 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
E3021 พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (Lifelonglearning)ด้านความเป็นผู้นำ 302101 ประยุกต์ใช้การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติงานและความเป็นผู้นำ E3021.01 107675
E3021 พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (Lifelonglearning)ด้านความเป็นผู้นำ 302102 มีทักษะในการบริหารความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกองค์กร E3021.02 107676
E3022 มีคุณลักษณะของความเป็นผู้นำ 302201 มีคุณลักษณะของผู้นำในศตวรรษที่ 21 E3022.01 107677
E3022 มีคุณลักษณะของความเป็นผู้นำ 302202 มีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม (Moral Quotient) ในการบริหาร E3022.02 107678

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้และทักษะทางด้านการสื่อติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างประเทศ




- ความรู้และทักษะด้านการผลิตผลิตภัณฑ์นม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะด้านการชี้นำองค์กร




2. ทักษะด้านการบริหารการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร




3. ทักษะด้านการวิเคราะห์องค์กร




4. ทักษะด้านการการบริหารทางการเงิน




5. ทักษะด้านเทคนิคการเจรจาต่อรอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้ด้านน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม




2. ความรู้ด้านวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์




3. ความรู้ด้านการชี้นำองค์กรและหลักการบริหารระบบโครงสร้างองค์กร




4. ความรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้นำองค์กรที่มีประสิทธิภาพ




5. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกองค์กร




6. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงาน การบริหารความก้าวหน้าในสาขาอาชีพของบุคลากรในองค์กร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




ไม่มี




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ไม่มี  




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




N/A




(ง) วิธีการประเมิน




1. ข้อสอบข้อเขียน




2. ข้อสอบสัมภาษณ์



3. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การบริหารความขัดแย้ง หมายถึง วิธีจัดการกับความขัดแย้งภายในองค์กร ที่ผู้บริหารนำมาใช้เพื่อลดความขัดแย้งภายในองค์กร ซึ่งวิธีการบริหารความขัดแย้งมีหลายวิธี เช่น การหลบหลีกความขัดแย้ง (Avoiding Style) การให้ความช่วยเหลือ (Accommodating Style) การแข่งขัน (Competing Style) การให้ความร่วมมือ (Collaborating Style)




2. คุณลักษณะผู้นําในศตวรรษที่ 21 หมายถึง ผู้นำที่มีลักษณะดังนี้ มีความรอบรู้ (Knowing),  มีอุดมการณ์ (Ideology), รู้เท่าทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ, กล้าตัดสินใจ (Discussion Courage),   มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategy of Vision), รู้จักการสร้างทีมงาน สร้างเครือข่าย, ใฝ่บริการ (Service Mind)




3. มีความคิดด้านศีลธรรม (Moral Quotient : MQ) หมายถึง ระดับจริยธรรมศีลธรรมบุคคล ซึ่งสามารถการควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีสำนึกผิดชอบชั่วดี และเคารพนับถือผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. ข้อสอบข้อเขียน




2. ข้อสอบสัมภาษณ์




3. แฟ้มสะสมผลงาน



 


ยินดีต้อนรับ