หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและกำหนดมาตรฐานในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-MPD-5-087ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและกำหนดมาตรฐานในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต




8160 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและกำหนดมาตรฐานในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นม จะต้องสามารถปฏิบัติงานในส่วนของการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักร การวิเคราะห์สาเหตุ รวบรวม และศึกษารายละเอียดของเอกสารที่ใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการทำงานของเครื่องจักรและการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะการทำงานของเครื่องจักร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร: น้ำนมโคดิบตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6003-2553) - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 298) พ.ศ. 2549 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 351) พ.ศ. 2556 เรื่อง นมปรุงแต่ง- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2556 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
D2011 วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201101เก็บข้อมูลการผลิตเป็นรายวันรายเดือน ในแต่ละเครื่องจักรเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาเครื่องจักร D2011.01 107622
D2011 วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201102 เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงเครื่องจักร D2011.02 107623
D2011 วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201103ตรวจสอบและดำเนินการสำรวจกระบวนการทำงานของเครื่องจักรพร้อมทั้งสามารถระบุถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของเครื่องจักรที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ D2011.03 107624
D2012 กำหนดมาตรการในการปรับปรุงของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201201 กำหนดมาตรการในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรให้มีมาตรฐานที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ D2012.01 107625
D2012 กำหนดมาตรการในการปรับปรุงของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201202 วางแผนในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อยอดการผลิต D2012.02 107626
D2012 กำหนดมาตรการในการปรับปรุงของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201203 วิเคราะห์มาตรการในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรให้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน D2012.03 107627
D2012 กำหนดมาตรการในการปรับปรุงของเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 201204 คาดคะเน ประเมิน และทดสอบผลที่ได้รับจากการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรให้เป็นไปตามเป้าหมาย D2012.04 107628

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้พื้นฐานด้านช่าง เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล




- ความรู้และทักษะด้านกระบวนการผลิตนม




- ความรู้ด้านเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะด้านการคำนวณ




2. ทักษะด้านการอ่านและตีความ




3. ทักษะด้านกระบวนการผลิต




4. ทักษะด้านการควบคุมเครื่องจักร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้ด้านน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม




2. ความรู้ด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




ไม่มี




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ไม่มี  




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




N/A




(ง) วิธีการประเมิน




1. ข้อสอบข้อเขียน




2. ข้อสอบสัมภาษณ์




3. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของเครื่องจักร คือ การวิเคราะห์สาเหตุ รวบรวม และการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะการทำงานของเครื่องจักร พร้อมทั้งสามารถระบุถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของเครื่องจักรที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้ และสามารถรายงานผลการปฏิบัติงานซ่อมบำรุง โดยดูจากการความถูกต้องของการทำงานของเครื่องจักรภายหลังการซ่อมบำรุง และผลการปฏิบัติงานตามแผนการซ่อมบำรุง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. ข้อสอบข้อเขียน




2. ข้อสอบสัมภาษณ์




3. แฟ้มสะสมผลงาน



 


ยินดีต้อนรับ