หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อำนวยความสะดวกในการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกินจากที่สายการบินกำหนด

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-GDI-5-119ZC

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อำนวยความสะดวกในการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกินจากที่สายการบินกำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

4221 อาชีพสำรองบัตรโดยสาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการเรียกเก็บและคำนวณค่าระวางสัมภาระเกินจากที่สายการบินกำหนด รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน โดยสามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตัวเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพสำรองบัตรโดยสาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐานและข้อกำหนดของสายการบิน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30110.01 ให้ข้อมูลการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 1.คำนวณค่าระวางสัมภาระเกินในระบบสำรองที่นั่ง 30110.01.01 90229
30110.01 ให้ข้อมูลการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 2.แจ้งค่าระวางสัมภาระเกินที่เรียกเก็บแก่ผู้โดยสาร 30110.01.02 90230
30110.01 ให้ข้อมูลการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 30110.01.03 90231
30110.02 เรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 1.เรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกินจากผู้โดยสาร 30110.02.01 90232
30110.02 เรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 2.ออกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 30110.02.02 90233
30110.02 เรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน 3. สรุปการจัดเก็บค่าระวางสัมภาระเกินประจำวันตามขั้นตอนปฏิบัติของสายการบิน 30110.02.03 90234

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการอ่าน และการตีความข้อมูลในการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน



- ทักษะในการสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skilled and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          - หนังสือรับรองการทำงาน



          - แบบประเมินการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - แบบประเมินข้อเขียน



          - ใบผ่านการฝึกอบรมในการให้บริการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสาร (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทก์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



          1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



          2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน และการสอบสัมภาษณ์



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน



          *ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะและหน่วยสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตในการเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน เริ่มตั้งแต่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสัมภาระเกิน ยืนยันข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งค่าระวางสัมภาระเกินแก่ผู้โดยสาร เรียกเก็บค่าระวาง และสรุปยอดประจำวันรายงานต่อแผนกการเงิน โดยสามารถชี้แจงให้ผู้โดยสารทราบ เรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกินและสรุปยอดได้อย่างถูกต้อง



(ก) คำแนะนำ



          ขอบเขต (Range Statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนผู้โดยสาร มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ



          1. ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (Workplace Procedures) ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานสรุปยอดประจำวัน



          2. สถานที่ทำงาน (Work Site) เคาน์เตอร์จองบัตรโดยสาร หรือ ผ่านระบบสำรองที่นั่งของสายการบินตามสถานที่ที่สายการบินกำหนด



          3. สภาวะในการทำงาน (Operating Conditions) การเก็บค่าระวางกรณีการเปลี่ยนแปลงชั้นการเดินทางและจุดหมายปลายทาง



          4. ข้อมูล/เอกสาร (Information/Documents) เช่น บัตรโดยสาร เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ใบเสร็จ รายงานสรุปยอดประจำวัน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. ค่าระวางสัมภาระเกิน (Excess Baggage Fee) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำสัมภาระ (Checked Baggage) บรรทุกเกินจากที่สายการบินกำหนด



          2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน ได้แก่ ใบเสร็จ (Excess Baggage Receipt) และ Electronic Miscellaneous Document (EMD)



          3. รายงานสรุปยอดการเงินประจำวัน คือ การสรุปยอดการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระเกิน ตามนโยบายของสายการบิน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 สอบสัมภาษณ์



          18.2 สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ