หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-GDI-4-115ZC

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5112 อาชีพต้อนรับผู้โดยสารภาคพื้น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการชี้แจงรายละเอียดและกฎข้อบังคับต่าง ๆ ของสายการบิน และสนามบินได้อย่างถูกต้อง ในการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่องและการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพต้อนรับผู้โดยสารภาคพื้น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ข้อกำหนด International Standards ของ IATA Ground Operations Manual-IGOM- ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ ICAO- ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30106.01 ตรวจสอบเอกสารการเดินทางของผู้โดยสาร 1. ตรวจสอบตัวตนของผู้โดยสารกับเอกสารการเดินทาง 30106.01.01 90198
30106.01 ตรวจสอบเอกสารการเดินทางของผู้โดยสาร 2. ตรวจสอบข้อมูลบัตรขึ้นเครื่องของผู้โดยสาร 30106.01.02 90199
30106.01 ตรวจสอบเอกสารการเดินทางของผู้โดยสาร 3. ตรวจสอบบัตรขึ้นเครื่องของผู้โดยสารผ่านระบบ 30106.01.03 90200
30106.02 ตรวจสอบผู้โดยสารบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง 1. ตรวจนับผู้โดยสารในเที่ยวบินให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารลงทะเบียน 30106.02.01 90201
30106.02 ตรวจสอบผู้โดยสารบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง 2. แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้โดยสารให้ตรงตามจำนวนผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องจริง 30106.02.02 90202
30106.02 ตรวจสอบผู้โดยสารบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง 3. ตรวจสอบสัมภาระขึ้นเครื่องของผู้โดยสาร 30106.02.03 90203

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการตรวจอัตลักษณ์ของผู้โดยสาร



- ทักษะในการตรวจเอกสารการเดินทาง



- ทักษะในการตรวจสัมภาระที่นำติดตัวขึ้นเครื่อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ในการตรวจอัตลักษณ์ของผู้โดยสาร



- ความรู้ในตรวจเอกสารการเดินทางผู้โดยสาร



- ความรู้ กฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับสัมภาระนำติดตัวขึ้นเครื่อง



- ความรู้ในมาตรฐานสายการบินในการรักษาความปลอดภัยบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน



          - เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน



          - แบบประเมินการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          - แบบประเมินข้อเขียน



          - ผลการทดสอบความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



          1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



          2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน และการสอบสัมภาษณ์



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน



          *ในกรณีที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ผ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินแจ้งหน่วยสมรรถนะและหน่วยสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และไปทบทวนสมรรถนะ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินสามารถกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารและตรวจสอบจำนวนผู้โดยสารตามขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของเที่ยวบิน รวมถึงสัมภาระที่ผู้โดยสารนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความปลอดภัยบริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง



(ก) คำแนะนำ



          ขอบเขต (Range Statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน มีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ



          1. ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (Workplace Procedures) ขั้นตอนการปฏิบัติงานความปลอดภัยบริเวณทางออกขึ้นเครื่อง



          2. สถานที่ทำงาน (Work Site) บริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง



          3. สภาวะในการทำงาน (Operating Conditions) การเปลี่ยนแปลงของเที่ยวบิน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์ต่างๆ



          4. ข้อมูล/เอกสาร (Information/Documents) เอกสารการเดินทาง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การให้บริการ ณ บริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. เอกสารการเดินทาง ได้แก่ บัตรขึ้นเครื่อง บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง



          2. บัตรขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) หมายถึง บัตรที่ระบุที่นั่งเพื่อเป็นการอนุญาตให้เดินทางตามเที่ยวบินที่ระบุ



          3. บัญชีรายชื่อผู้โดยสาร (Passenger Manifest) หมายถึง รายชื่อผู้โดยสารที่เดินทางในเที่ยวบินที่กำหนด โดยมีข้อมูลเรื่องชื่อ สกุล เลขที่นั่งของผู้โดยสาร หรือข้อมูลอื่น ๆ ตามมาตรฐานของสายการบิน



          4. จำนวนผู้โดยสารลงทะเบียน หมายถึง รายชื่อผู้โดยสารที่ผ่านการ Check-in และมีการระบุเลขที่นั่ง



          5. สัมภาระขึ้นเครื่องของผู้โดยสาร หมายถึง สิ่งของที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องบินภายใต้ระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางการเดินทางทางอากาศ และตามมาตรฐานของสายการบิน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 สอบข้อเขียน



          18.2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ