หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ค่าสายตาที่ได้จากวิธี Subjective test

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-5-159ZE

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ค่าสายตาที่ได้จากวิธี Subjective test

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3254 ผู้ตรวจวัดสายตาและช่างประกอบแว่นตา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          วิเคราะห์ค่าสายตาที่ได้จาก วิธี Subjective Test ด้วยการตรวจสอบค่าสายตาบนกรอบแว่นทดลอง (Trial Frame) รวมทั้งประเมินการรับรู้ (Spatial Perception) ด้านขนาด ความลึก ความเป็นแนวและประเมินความผิดปกติของภาพ (Spatial Distortion) ตลอดจนการแก้ไขเพื่อลดความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวัดสายตาประกอบแว่น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02131 วิเคราะห์ค่าสายตาบนกรอบแว่นทดลอง (Trial Frame) 1. เลือกขนาดกรอบแว่นทดลองให้ตรงตามระยะห่างระหว่างรูม่านตา (Pupil Distance : PD) ของผู้รับบริการ 02131.01 105122
02131 วิเคราะห์ค่าสายตาบนกรอบแว่นทดลอง (Trial Frame) 2. ใส่เลนส์ทดลองตามค่าสายตา ที่วัดได้อย่างถูกต้อง 02131.02 105123
02131 วิเคราะห์ค่าสายตาบนกรอบแว่นทดลอง (Trial Frame) 3. ปรับค่าสายตากรณีที่ต้องทำ Spherical Equivalent 02131.03 105124
02131 วิเคราะห์ค่าสายตาบนกรอบแว่นทดลอง (Trial Frame) 4. ระบุผลกระทบที่เกิดจาก Effective Power 02131.04 105125
02132 ประเมินการรับรู้ (Spatial Perception) ด้านขนาด ความลึก ความเป็นแนว และประเมินความผิดปกติของภาพ (Spatial Distortion) 1. แก้ไขเพื่อลดความผิดปกติ ด้านขนาดภาพสองตา (Aniseikonia) 02132.01 105126
02132 ประเมินการรับรู้ (Spatial Perception) ด้านขนาด ความลึก ความเป็นแนว และประเมินความผิดปกติของภาพ (Spatial Distortion) 2. แก้ไขเพื่อลดความผิดปกติจาก Prism ที่ไม่ต้องการ(Unwanted Prism) 02132.02 105127
02132 ประเมินการรับรู้ (Spatial Perception) ด้านขนาด ความลึก ความเป็นแนว และประเมินความผิดปกติของภาพ (Spatial Distortion) 3. แก้ไขเพื่อลดความผิดปกติของสมดุล Prism ในแนวตั้ง(Vertical Prism Imbalance) 02132.03 105128
02132 ประเมินการรับรู้ (Spatial Perception) ด้านขนาด ความลึก ความเป็นแนว และประเมินความผิดปกติของภาพ (Spatial Distortion) 4. แก้ไขเพื่อลดความผิดปกติของภาพที่เกิดจากการเอียงของเลนส์ (Aberration) 02132.04 105129

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะการสื่อสาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเลือกขนาดกรอบแว่นทดลอง

2. ทักษะการใส่เลนส์ทดลองตามค่าสายตาที่วัดได้อย่างถูกต้อง

3. ทักษะการปรับค่าสายตา

4. ทักษะการประเมินการรับรู้ และการประเมินความผิดปกติของภาพ

5. ทักษะการแก้ไขเพื่อลดความผิดปกติของภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติของภาพ

2. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบค่าสายตาบนกรอบแว่นทดลอง

3. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขเพื่อลดความผิดปกติของภาพ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          ผลการประเมินภาคปฏิบัติในการวิเคราะห์ค่าสายตาที่ได้จาก วิธี Subjective Test และการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          จัดการประเมินทางภาคทฤษฎีก่อน และตามด้วยการประเมินภาคปฏิบัติ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

          วิเคราะห์ค่าสายตาที่ได้จาก วิธี Subjective Test

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          Subjective test หมายถึง การวัดสายตาที่ต้องมีการสอบถามข้อมูลจากผู้รับบริการ เช่น ให้ทดลองอ่าน แล้ววัด และประเมินเพื่อเพิ่มหรือลดกำลังเลนส์แล้วสอบถามความชัดของเลนส์ที่ให้ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบทดสอบข้อเขียน (ข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวลือก)

18.2 การสาธิตการปฏิบัติงาน

18.3 การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ