หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจคัดกรองปัญหาการมองเห็น ด้วยวิธี Objective test

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-4-157ZE

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจคัดกรองปัญหาการมองเห็น ด้วยวิธี Objective test

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3254 ผู้ตรวจวัดสายตาและช่างประกอบแว่นตา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          การตรวจคัดกรองปัญหาการมองเห็น ด้วยวิธี Objective test โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Retinoscope หรือใช้ Auto-Refractor เพื่อระบุค่าสายตาของผู้รับบริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวัดสายตาประกอบแว่น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02111 เตรียมความพร้อมก่อนการวัดสายตา ด้วยวิธี Objective test 1. ซักประวัติผู้ถูกวัดได้ครบถ้วน และบันทึกข้อมูลครบทุกรายการ 02111.01 105109
02111 เตรียมความพร้อมก่อนการวัดสายตา ด้วยวิธี Objective test 2. เตรียมห้องตรวจวัดสายตาตามเกณฑ์ที่กำหนด 02111.02 105110
02111 เตรียมความพร้อมก่อนการวัดสายตา ด้วยวิธี Objective test 3. เตรียมตำแหน่งของผู้ถูกวัด ตามเกณฑ์ที่กำหนดกรณีใช้ Retinoscopeหรือ เตรียมเครื่องวัดในกรณีใช้ Auto-Refractometer 02111.03 105111
02112 ใช้ Retinoscope หรือ Auto-Refractometer เป็นเครื่องมือในการตรวจหาค่าสายตา 1. ระบุลักษณะการเคลื่อนที่ของแสงสะท้อนจากตาผู้ถูกวัด กรณีใช้ Retinoscopeหรือ จัดหน้าของผู้ถูกวัดตามตำแหน่งที่ถูกต้อง กรณีใช้ Auto-Refractometer 02112.01 105112
02112 ใช้ Retinoscope หรือ Auto-Refractometer เป็นเครื่องมือในการตรวจหาค่าสายตา 2. ระบุค่าสายตาที่ได้จากการตรวจวัดอย่างถูกต้อง กรณีใช้ Retinoscopeหรือ ปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่อง กรณีใช้ Auto-Refractometer 02112.02 105113

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้ Retinoscope หรือทักษะการใช้เครื่อง Auto-Refractometer ได้ถูกต้องตามคู่มือ

2. ทักษะการระบุประเภทของสายตาตามแสงที่ปรากฏจากตาผู้ถูกวัด

3. ทักษะการแปลผลค่าสายตาที่ได้จากการตรวจวัด

4. ทักษะการระบุค่าสายตาที่ได้จากการตรวจวัด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับดวงตา และปัญหาสายตา

2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมห้องตรวจวัดสายตา

3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ Retinoscope และการระบุค่าสายตา หรือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่อง Auto-Refractometer


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          ผลการประเมินภาคปฏิบัติในการระบุค่าสายตา โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Retinoscope หรือใช้ Auto-Refractometer ได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          จัดการประเมินทางภาคทฤษฎีก่อน และตามด้วยการประเมินภาคปฏิบัติ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

          ตรวจคัดกรองปัญหาการมองเห็นด้วยวิธี Objective test โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Retinoscope หรือใช้ Auto-Refractometer

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. Retinoscope หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้วัดความผิดปกติของระบบหักเหของแสงที่ลูกนัยน์ตา ด้วยการหาค่าของจุด far-point ของตา ซึ่งอยู่ที่ระยะอนันต์

          2. Auto-Refractor หมายถึง ระบบการตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบ Refraction  เข้าไปในกระบอกตา เพื่อตรวจสอบว่าแสงที่ผ่านตา Cornea และ Lens นั้น ตกลงไปที่จอรับภาพพอดี หรือถึงก่อนจอรับภาพ หรือ หลังจากจอภาพ และตรวจสอบความโค้งของกระจกตาว่าผิดไปในแนวใดแนวหนึ่งในรัศมี 360 องศา โดยเครื่องสามารถระบุผลการตรวจสายตาสั้น ยาว หรือเอียง และองศาของสายตาเอียงโดยแบ่งเป็น ตาซ้ายและตาขวา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบทดสอบข้อเขียน (ข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวลือก)

18.2 การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ