หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสะอาด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-2-138ZD

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสะอาด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

5321 ผู้ช่วยเหลือคนไข้

5321 เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

5321 เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลคลินิก หรือบ้านพักคนชรา

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ดูแลสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการให้สะอาด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่ต้องดูแลความสะอาด คือ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะข้างเตียง การเปลี่ยนแก้วน้ำเหยือกน้ำ การจัดของใช้บนเตียงผู้ป่วย ที่นอน หมอน ผ้าห่ม และจัดผ้าม่านให้เรียบร้อย เป็นต้น รวมถึงสิ่งแวดล้อมทั่วไปในหอผู้ป่วย เช่น การทำความสะอาดเคาน์เตอร์ การทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม จัดเก็บผ้าสะอาดที่ใช้กับผู้ป่วย จัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วย และจัดเก็บของในห้องเก็บให้เรียบร้อย พร้อมทั้งตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการรักษาความสะอาดได้
10201.01.01 104888
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับชนิดอุปกรณ์
10201.01.02 104889
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยเลือกวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมตามชนิดอุปกรณ์
10201.01.03 104890
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. ทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงของผู้ป่วย
10201.01.04 104891
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. เปลี่ยนแก้วน้ำ เหยือกน้ำ ตามกำหนดเวลา
10201.01.05 104892
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 6. จัดของใช้บนเตียงผู้ป่วยที่นอน หมอน ผ้าห่ม ให้เป็นระเบียบ
10201.01.06 104893
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 7. จัดผ้าม่านและรูดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
10201.01.07 104894
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

8. ทำความสะอาดเคาน์เตอร์พยาบาล (nursing station)

10201.01.08 155871
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.01 ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

9. ทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม

10201.01.09 155872
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.02 จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ
10201.02.01 104895
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.02 จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. จัดเก็บอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงและรอบเตียงของผู้ป่วยให้เรียบร้อยตามมาตรฐานของหน่วยงานที่กำหนด
10201.02.02 104896
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.02 จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. จัดเก็บผ้าสะอาดในห้องผ้าที่ใช้กับผู้ป่วยให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่าย
10201.02.03 104897
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.02 จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

4. จัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่าย
และเป็นไปตามที่หน่วยงานกำหนด

10201.02.04 155873
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.02 จัดเก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. จัดเก็บของในห้องเก็บของให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่าย
และเป็นไปตามที่หน่วยงานกำหนด

10201.02.05 155874
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.03 ตรวจสอบอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้งานในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 1. มีความรู้ถูกต้องเรื่องความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการได้
10201.03.01 104898
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.03 ตรวจสอบอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้งานในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2. ตรวจสอบจำนวนของอุปกรณ์คุณภาพของอุปกรณ์ และความพร้อมใช้ของอุปกรณ์
10201.03.02 104899
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.03 ตรวจสอบอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้งานในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3. ตรวจรับและส่งมอบอุปกรณ์ พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบ และลงชื่อกำกับ
10201.03.03 104900
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.03 ตรวจสอบอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้งานในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4. รายงานให้พยาบาลวิชาชีพทราบเมื่อเกิดปัญหาอันก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในหอผู้ป่วย
10201.03.04 104901
HLT-ZZZ-2-138ZD-10201.03 ตรวจสอบอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้งานในหอผู้ป่วย/ในหน่วยบริการภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. ติดตามการดำเนินงานภายหลังการแจ้งซ่อมแซมหรือการได้รับการแก้ปัญหาแล้ว 10201.03.05 104902

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงของผู้ป่วยเปลี่ยนแก้วน้ำ เหยือกน้ำ

2. การทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วยโดยเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมตามชนิดอุปกรณ์

3. การทำความสะอาดบริเวณ Nursing station

4. การทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม เช่น รถทำแผล เสาน้ำเกลือ รถยา รถช่วยฟื้นชีวิต รถใส่อุปกรณ์เจาะเลือดและให้น้ำเกลือ และอื่นๆ (ถ้ามี)

5. การจัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วย/หน่วยให้บริการให้เป็นระเบียบ

6. การตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย/หน่วยให้บริการ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการวิธีการทำความสะอาด

2. การแยกชนิดของใช้ของผู้ป่วย

3. คุณสมบัติของน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด

4. ผลข้างเคียงของการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นสารเคมี

5. วิธีการแก้ไขและปฏิบัติการช่วยเหลือเมื่อได้รับพิษจากสารเคมีในน้ำยาทำความสะอาด

6. วิธีการนำน้ำยาไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องมืออย่างถูกต้อง

7. การเลือกวิธีทำความสะอาดให้เหมาะสมกับอุปกรณ์

8. การทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียง

9. ความรู้ในการจัดเรื่องน้ำดื่ม

10. การป้องกันอุบัติเหตุขณะทำความสะอาดอุปกรณ์

11. การใช้ภาชนะใส่น้ำดื่มและการทำความสะอาด

12. หลักการจัดของใช้บนเตียงผู้ป่วย ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ให้เป็นระเบียบและปลอดภัย

13. ผลกระทบต่อผู้ป่วยในการจัดของใช้บนเตียงไม่เป็นระเบียบ

14. การดูแลของใช้บนเตียงให้สะอาด

15. การประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยหลังการจัดของใช้บนเตียง

16. การตรวจสอบผ้าม่านให้สะอาดและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

17. การจัดผ้าม่านให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เกิดความสุขสบาย และเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ป่วย

18. หลักการทำความสะอาดด้วย Antiseptic อย่างปลอดภัย

19. การจัดเรียงเอกสารหรือสิ่งที่จำเป็นให้เป็นระเบียบ หมวดหมู่ และสะดวกต่อการใช้

20. หลักการใช้น้ำยา Antiseptic ในการทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม (รถทำแผล เสาน้ำเกลือ รถยา รถช่วยฟื้นชีวิต รถใส่อุปกรณ์เจาะเลือด และให้น้ำเกลือ และอื่นๆ)

21. การทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม

22. ประโยชน์ของการจัดอุปกรณ์ของใช้ให้เป็นระเบียบ

23. หลักการจัดวางของใช้และการจัดทำป้ายชื่อ

24. การจัดหมวดหมู่ของใช้เพื่อสะดวกในการหยิบใช้

25. การจัดทำบัญชีของใช้หรืออุปกรณ์เพื่อสำรวจจำนวนของใช้หรืออุปกรณ์ที่สมบูรณ์พร้อมใช้ หรือชำรุด

26. จัดวางอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียงให้สะดวกต่อการหยิบใช้

27. หลักปฏิบัติการหยิบ จับ ของใช้บนโต๊ะข้างเตียงและรอบเตียงของผู้ป่วยและญาติอย่างระมัดระวัง

28. ระเบียบการจัดวางผ้าที่สะดวกต่อการหยิบใช้

29. การตรวจนับจำนวนแยกชนิดของผ้าในการนำไปใช้

30. การตรวจ Check ผ้าที่ชำรุดนำไปแก้ไข และซ่อมแซม

31. มีความรู้ในการสังเกตผ้าที่สะอาดและติดเชื้อ แยกแยะได้อย่างถูกต้อง ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

32. การจัดอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้สะดวกต่อการหยิบใช้ และปิดป้ายชื่ออุปกรณ์ในหอผู้ป่วยหรือจัดทำป้ายอุปกรณ์ที่ใช้ให้ชัดเจน

33. การตรวจตราหรือสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในหอผู้ป่วยให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา

34. การจัดอุปกรณ์ในห้องเก็บของให้สะดวกต่อการหยิบใช้ และปิดป้ายชื่ออุปกรณ์ในห้องเก็บของหรือจัดทำป้ายอุปกรณ์ที่ใช้ให้ชัดเจน

35. การตรวจตราหรือสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในห้องเก็บของให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา การตรวจตราหรือสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในห้องเก็บของให้พร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา

36. ความรู้เรื่องการจัดทำความสะอาดด้วยน้ำยา Antiseptic บริเวณหอผู้ป่วย

37. การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และคนอื่นๆ

38. การตรวจ Check จำนวนและคุณภาพของอุปกรณ์จัดชุดให้ครบ

39. การแยกชุดอุปกรณ์ที่จะใช้กับการรักษาให้ถูกต้องเพื่อการทำความสะอาด

40. มีความรู้ในการจัดส่งอุปกรณ์ไปหน่วยงาน จะทำการทำความสะอาดปราศจากเชื้อ

41. การตรวจรับอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนับจำนวนตรวจสอบชื่อของอุปกรณ์และวัน เวลา ที่ได้ฆ่าเชื้อแล้วพร้อมลงบันทึก

42. มีความรู้ระยะเวลาของการฆ่าเชื้อมีเวลาปลอดภัยในเวลาที่กำหนด ถ้าเกินเวลาต้องจัดส่งทำลายเชื้อใหม่

43. การตรวจตราภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตรายในหอผู้ป่วย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่ชำรุด สายไฟฟ้าที่หลุดห้อย หรือหลอดไฟไม่ติดและอื่นๆ

44. การรายงานด้วยลายลักษณ์เมื่อแจ้งการส่งซ่อม

45. การตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ได้ส่งซ่อมแล้วส่งกลับมา

46. การลงบันทึกการรับของและรายงานให้พยาบาลวิชาชีพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน    

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          การปฏิบัติงานภายในขอบเขตดังนี้

          ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับชนิดอุปกรณ์ ดังนี้ เตียง โต๊ะหัวเตียง เก้าอี้ รถเข็นผู้ป่วย เปล เสาแขวนน้ำเกลือ หมอน ที่นอน ที่หุ้มด้วยพลาสติก ใช้น้ำและผงซักฟอก เช็ดถูทุกวัน และเมื่อจำหน่ายผู้ป่วย และจัดเก็บในบริเวณที่หน่วยงานกำหนด

          ทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เป็นส่วนรวม เช่น รถทำแผล รถยา รถช่วยฟื้นชีวิต รถใส่อุปกรณ์เจาะเลือดและให้น้ำเกลือ เป็นต้น โดยใช้น้ำยาที่หน่วยงานกำหนด

          จัดเก็บอุปกรณ์ในหอผู้ป่วยให้เรียบร้อย เป็นระเบียบหยิบใช้ง่ายและเป็นไปตามที่หน่วยงานกำหนด เช่น จัดเก็บผ้าที่ใช้กับผู้ป่วย ได้แก่ เสื้อ ผ้าถุง กางเกง ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน ผ้าขวางเตียง ผ้ายาง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ที่ต้องเก็บให้เรียบร้อย ได้แก่ แก้วน้ำ  เหยือกน้ำ ถาด ชามรูปไต หม้อนอน เป็นต้น

(ก) คำแนะนำ

          ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ดูแลรักษาความสะอาดในหอผู้ป่วย หมายถึง การทำความสะอาดอุปกรณ์บนโต๊ะข้างเตียง แก้วน้ำ เหยือกน้ำ และการเลือกใช้น้ำยาที่เหมาะสมกับอุปกรณ์

          2. ดูแลความสะอาดนอกห้องผู้ป่วย หมายถึง บริเวณ Nursing station ห้องทำหัตถการ ห้องเก็บของอุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า ของผู้ป่วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมินโดยประเมินด้วยการทดสอบความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ