หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง อย่างปลอดภัย

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการขับขี่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SDE-ZZZ-0-011ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง อย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้สำหรับการขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง เพื่อความปลอดภัย โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมการขับขี่ ได้แก่ การใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด ระยะเวลาในการใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด จำนวนครั้งการออกตัวรถยนต์กะทันหัน จำนวนครั้งการลดความเร็วกะทันหัน ชั่วโมงการขับขี่ต่อเนื่อง และชั่วโมงการทำงานต่อวัน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 25222. ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01106.01 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง โดยใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง ในสภาวะปกติที่ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด โดยต้องไม่เกิน 53 ครั้ง ในระยะทางทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01106.01.01 104851
01106.02 ระยะเวลาที่ใช้ในการขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงด้วยความเร็วเกินกว่าที่กำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง ในสภาวะปกติที่ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดที่ระยะเวลาน้อยกว่า 23 นาที ในระยะทางทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01106.02.01 104852
01106.03 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง โดยมีจำนวนครั้งการออกตัวกระทันหันเกินกำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง โดยการออกตัวกะทันหันด้วยความเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที จากสถานะรถหยุดนิ่ง ไม่เกิน 1 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01106.03.01 104853
01106.04 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง โดยมีจำนวนครั้งการลดความเร็วกระทันหันเกินกำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง โดยการลดความเร็วกะทันหันด้วยความเร็วมากกว่า 13 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่รถเคลื่อนที่ ไม่เกิน 3 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01106.04.01 104854
01106.05 ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในการขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง 1. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง ตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ถูกต้อง 01106.05.01 104855
01106.05 ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในการขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง 2. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง ต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง ต้องพักอย่างน้อย 30 นาที 01106.05.02 104856
01106.05 ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในการขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง 3. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อวัน 01106.05.03 104857
01106.06 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 1. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง 01106.06.01 104858
01106.06 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 2. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ยางแตก เครื่องยนต์ชำรุด มีสิ่งกีดขวาง คนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้าได้ถูกต้องปลอดภัย 01106.06.02 104859
01106.06 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 3. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง ในสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหันได้ถูกต้องปลอดภัย 01106.06.03 104860
01106.06 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 4. ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง เมื่อประสบอุบัติเหตุได้ถูกต้องปลอดภัย 01106.06.04 104861
01106.07 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงที่มีสินค้าหรือสิ่งของ 1. ขับขี่10 ล้อพ่วง ที่มีสินค้าหรือสิ่งของได้ถูกต้องตามกฎหมาย พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 01106.07.01 104862
01106.07 ขับขี่รถบรรทุก 10 ล้อพ่วงที่มีสินค้าหรือสิ่งของ 2. สินค้าหรือสิ่งของในรถบรรทุก 10 ล้อพ่วง มีจำนวนครบถ้วนไม่เกิดความเสียหายเมื่อขับขี่ถึงจุดหมาย 01106.07.02 104863

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายจราจรและมารยาทการขับขี่ ตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

2. ความเข้าใจความหมายของป้ายและสัญลักษณ์จราจร

3. ประสบการณ์เบื้องต้นในการขับขี่รถแต่ละประเภท


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการขับขี่และควบคุมรถบรรทุก 10 ล้อพ่วง แต่ละประเภทตามการใช้งาน

2. ทักษะการเลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับรอบเครื่องยนต์และเกียร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ความเข้าใจส่วนประกอบของรถแต่ละประเภท

2. ความรู้และความเข้าใจกฎจราจร และป้ายสัญลักษณ์

3. ความรู้และความเข้าใจประเภทรถที่ใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. ใบอนุญาตขับขี่ถูกต้องตามประเภทของรถ

2. ใบปล่อยรถ ใบงาน ใบรับรองการทำงาน ใบสั่งงาน หรืออื่น ๆ

3. เอกสารลงนามรับรองการเป็นผู้ขับขี่เพื่อเข้ารับการประเมิน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบอนุญาตขับขี่

2. ผลการทดสอบข้อเขียน

3. ผลที่ได้จากการประเมินการขับรถยนต์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีผลการสอบข้อเขียนผ่านเกณฑ์ในการประเมินก่อนจึงจะสามารถเข้ารับการประเมินโดยการทดสอบการขับ โดยประเมินภายใต้การติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบการขับขี่ตามค่ามาตรฐานที่กำหนด เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หรือระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อบันทึกข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่นำมาประเมินโดยวิเคราะห์ในสมรรถนะต่างๆ ด้านการขับขี่

ในการทดสอบปฏิบัติด้วยการขับขี่เพื่อประเมินสมรรถนะ ก่อนการขับขี่ทุกครั้งผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามประเภทของรถแสดงตัวตนผ่านเครื่องรูดบัตรหรือวิธีการแสดงตัวตนอื่นที่เทียบเท่า กรณีที่มีผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน ในการขับรถ 1 คัน ต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามผู้ขับขี่จริงเพื่อแสดงตัวตน

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ได้แก่ แบบทดสอบการประเมินทั้งแบบปรนัยและอัตนัยหรือแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค และใบรายงานข้อมูลจากเครื่องบันทึกการขับขี่ที่มีการประมวลผลเพื่อจัดระดับความรู้และทักษะ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การขับขี่ในสภาวะปกติ หมายถึง การขับขี่บนเส้นทางที่ได้รับมอบหมายตามตารางการขับขี่ปกติ โดยผู้ขับขี่ต้องทราบและเข้าใจกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ และต้องใช้ความเร็วไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ อาจใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดได้เป็นครั้งคราว ไม่เกิน 53 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร ในการขับขี่ที่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (อาจเป็นการเร่งแซง) ระยะเวลารวมต้องไม่เกิน 23 นาที ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

2. การขับขี่รถขนาด 10 ล้อ ขึ้นไป ควรใช้รอบเครื่องในช่วง 1,700 – 2,200 รอบต่อนาที โดยอาจมีจำนวนที่รอบเครื่องยนต์เกินกำหนดได้ไม่เกิน 10 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

3. กรณีที่มีการขับขี่แบบลากเกียร์ (ความเร็วไม่สัมพันธ์กับรอบของเครื่องยนต์) ต้องเป็นไปตามคุณลักษณะของรถ (คู่มือการใช้รถ) โดยอาจมีจำนวนที่เร่งเครื่องยนต์เกินรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ในขณะรถหยุดนิ่งได้ไม่เกิน 1 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร และในขณะที่รถเคลื่อนที่ อาจใช้รอบเครื่องยนต์เกินกำหนดได้โดยเวลารวมไม่เกิน 3 นาที ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

4. กรณีที่ออกตัวรถกะทันหันจากหยุดนิ่ง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที กระทำได้ไม่เกิน 1 ครั้ง ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร ขณะที่การลดความเร็วกะทันหันด้วยอัตราเร็วมากกว่า 13 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่รถเคลื่อนที่ กระทำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

5. การเร่งเครื่องยนต์ขณะรถเคลื่อนที่ ด้วยอัตราเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที กระทำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

(ก) คำแนะนำ

1. สภาพร่างกายของผู้เข้ารับการประเมินต้องอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ

2. ตัวรถที่ใช้มีสภาพพร้อมใช้งาน และมีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องไม่มีสารเสพติด ไม่มีสารแอลกอฮอล์

4. การขับรถตามกฎหมาย ในทุก ๆ 4 ชั่วโมง ควรจอดพักผ่อนอย่างน้อย 30 นาที และจอดพักรถในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ หรือสถานีบริการเอกชนที่จัดเตรียมไว้ หรือสถานที่ที่มีความปลอดภัย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การขับขี่ในสภาวะปกติ หมายถึง การขับขี่บนเส้นทางที่ได้รับมอบหมายตามตารางการขับขี่ปกติที่ไม่มีการขับขึ้น/ลงทางที่มีความลาดชันมาก ผู้ขับขี่ต้องมีความพร้อม สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการขับขี่ การมองเห็นเป็นไปโดยสะดวกชัดเจน สภาพถนนราบเรียบไม่ส่อให้เกิดอันตราย โดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หรือระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 7 วัน

2. ความเสียหายของสินค้าหรือสิ่งของที่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ ประเมินจากร่องรอยและลักษณะภายนอกของสินค้าหรือสิ่งของเมื่อการขับขี่ถึงจุดหมาย และประเมินจากข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ที่เก็บข้อมูลเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หรือระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 7 วัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.2 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.3 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.4 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.5 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.6 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบทดสอบอัตนัยหรือแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

18.7 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

 



ยินดีต้อนรับ