หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ อย่างปลอดภัย

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการขับขี่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SDE-ZZZ-0-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ อย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้สำหรับการขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ เพื่อความปลอดภัย โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมการขับขี่ ได้แก่ การใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด ระยะเวลาในการใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด จำนวนครั้งการออกตัวรถยนต์กะทันหัน จำนวนครั้งการลดความเร็วกะทันหัน ชั่วโมงการขับขี่ต่อเนื่อง และชั่วโมงการทำงานต่อวัน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 25222. ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01104.01 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ โดยใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ในสภาวะปกติที่ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด โดยต้องไม่เกิน 53 ครั้ง ในระยะทางทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01104.01.01 104815
01104.02 ระยะเวลาที่ใช้ในการขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อด้วยความเร็วเกินกว่าที่กำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ในสภาวะปกติที่ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดที่ระยะเวลาน้อยกว่า 23 นาที ในระยะทางทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01104.02.01 104816
01104.03 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ โดยมีจำนวนครั้งการออกตัวกระทันหันเกินกำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ โดยการออกตัวกะทันหันด้วยความเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที จากสถานะรถหยุดนิ่ง ไม่เกิน 1 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01104.03.01 104817
01104.04 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ โดยมีจำนวนครั้งการลดความเร็วกระทันหันเกินกำหนด 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ โดยการลดความเร็วกะทันหันด้วยความเร็วมากกว่า 13 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่รถเคลื่อนที่ ไม่เกิน 3 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร 01104.04.01 104818
01104.05 ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในการขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ถูกต้อง 01104.05.01 104819
01104.05 ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในการขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ 2. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ต่อเนื่อง 4 ชั่วโมง ต้องพักอย่างน้อย 30 นาที 01104.05.02 104820
01104.05 ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในการขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ 3. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อวัน 01104.05.03 104821
01104.06 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ขึ้น-ลงทางลาดชันได้ถูกต้องปลอดภัย 01104.06.01 104822
01104.06 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 2. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ยางแตก เครื่องยนต์ชำรุด มีสิ่งกีดขวาง คนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้าได้ถูกต้องปลอดภัย 01104.06.02 104823
01104.06 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 3. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ในสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหันได้ถูกต้องปลอดภัย 01104.06.03 104824
01104.06 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน 4. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ เมื่อประสบอุบัติเหตุได้ถูกต้องปลอดภัย 01104.06.04 104825
01104.07 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อที่มีสินค้าหรือสิ่งของ 1. ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อ ที่มีสินค้าหรือสิ่งของได้ถูกต้องตามกฎหมาย พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 01104.07.01 104826
01104.07 ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อที่มีสินค้าหรือสิ่งของ 2. สินค้าหรือสิ่งของในรถบรรทุก 6 ล้อ มีจำนวนครบถ้วนไม่เกิดความเสียหายเมื่อขับขี่ถึงจุดหมาย 01104.07.02 104827

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายจราจรและมารยาทการขับขี่ ตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

2. ความเข้าใจความหมายของป้ายและสัญลักษณ์จราจร

3. ประสบการณ์เบื้องต้นในการขับขี่รถแต่ละประเภท

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการขับขี่และควบคุมรถบรรทุก 6 ล้อ แต่ละประเภทตามการใช้งาน

2. ทักษะการเลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับรอบเครื่องยนต์และเกียร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ความเข้าใจส่วนประกอบของรถแต่ละประเภท

2. ความรู้และความเข้าใจกฎจราจร และป้ายสัญลักษณ์

3. ความรู้และความเข้าใจประเภทรถที่ใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. ใบอนุญาตขับขี่ถูกต้องตามประเภทของรถ

2. ใบปล่อยรถ ใบงาน ใบรับรองการทำงาน ใบสั่งงาน หรืออื่น ๆ

3. เอกสารลงนามรับรองการเป็นผู้ขับขี่เพื่อเข้ารับการประเมิน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบอนุญาตขับขี่

2. ผลการทดสอบข้อเขียน

3. ผลที่ได้จากการประเมินการขับขี่

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีผลการสอบข้อเขียนผ่านเกณฑ์ในการประเมินก่อนจึงจะสามารถเข้ารับการประเมินโดยการทดสอบการขับ โดยประเมินภายใต้การติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบการขับขี่ตามค่ามาตรฐานที่กำหนด เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หรือระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อบันทึกข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่นำมาประเมินโดยวิเคราะห์ในสมรรถนะต่างๆ ด้านการขับขี่

2. ในการทดสอบปฏิบัติด้วยการขับขี่เพื่อประเมินสมรรถนะ ก่อนการขับขี่ทุกครั้งผู้เข้ารับการประเมินต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามประเภทของรถแสดงตัวตนผ่านเครื่องรูดบัตรหรือวิธีการแสดงตัวตนอื่นที่เทียบเท่า กรณีที่มีผู้ขับขี่มากกว่า 1 คน ในการขับรถ 1 คัน ต้องใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามผู้ขับขี่จริงเพื่อแสดงตัวตน

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ได้แก่ แบบทดสอบการประเมินทั้งแบบปรนัยและอัตนัยหรือแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค และใบรายงานข้อมูลจากเครื่องบันทึกการขับขี่ที่มีการประมวลผลเพื่อจัดระดับความรู้และทักษะ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การขับขี่ในสภาวะปกติ หมายถึง การขับขี่บนเส้นทางที่ได้รับมอบหมายตามตารางการขับขี่ปกติ โดยผู้ขับขี่ต้องทราบและเข้าใจกฎหมายและสัญลักษณ์ป้ายจราจรตาม พรบ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ และต้องใช้ความเร็วไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ อาจใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดได้เป็นครั้งคราว ไม่เกิน 53 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร ในการขับขี่ที่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (อาจเป็นการเร่งแซง) ระยะเวลารวมต้องไม่เกิน 23 นาที ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

2. การขับขี่รถขนาด 6 ล้อ ควรใช้รอบเครื่องในช่วง 2,000 – 2,500 รอบต่อนาที โดยอาจมีจำนวนที่รอบเครื่องยนต์เกินกำหนดได้ไม่เกิน 10 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

3. กรณีที่มีการขับขี่แบบลากเกียร์ (ความเร็วไม่สัมพันธ์กับรอบของเครื่องยนต์) ต้องเป็นไปตามคุณลักษณะของรถ (คู่มือการใช้รถ) โดยอาจมีจำนวนที่เร่งเครื่องยนต์เกินรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ในขณะรถหยุดนิ่งได้ไม่เกิน 1 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร และในขณะที่รถเคลื่อนที่ อาจใช้รอบเครื่องยนต์เกินกำหนดได้โดยเวลารวมไม่เกิน 3 นาที ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

4. กรณีที่ออกตัวรถกะทันหันจากหยุดนิ่ง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที กระทำได้ไม่เกิน 1 ครั้ง ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร ขณะที่การลดความเร็วกะทันหันด้วยอัตราเร็วมากกว่า 13 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่รถเคลื่อนที่ กระทำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

5.การเร่งเครื่องยนต์ขณะรถเคลื่อนที่ ด้วยอัตราเร็วมากกว่า 11 กิโลเมตรต่อวินาที กระทำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ในทุก ๆ 1,000 กิโลเมตร

(ก) คำแนะนำ

1. สภาพร่างกายของผู้เข้ารับการประเมินต้องอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ

2. ตัวรถที่ใช้มีสภาพพร้อมใช้งาน และมีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องไม่มีสารเสพติด ไม่มีสารแอลกอฮอล์

4. การขับรถตามกฎหมาย ในทุก ๆ 4 ชั่วโมง ควรจอดพักผ่อนอย่างน้อย 30 นาที และจอดพักรถในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ หรือสถานีบริการเอกชนที่จัดเตรียมไว้ หรือสถานที่ที่มีความปลอดภัย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การขับขี่ในสภาวะปกติ หมายถึง การขับขี่บนเส้นทางที่ได้รับมอบหมายตามตารางการขับขี่ปกติที่ไม่มีการขับขึ้น/ลงทางที่มีความลาดชันมาก ผู้ขับขี่ต้องมีความพร้อม สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการขับขี่ การมองเห็นเป็นไปโดยสะดวกชัดเจน สภาพถนนราบเรียบไม่ส่อให้เกิดอันตราย โดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หรือระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 7 วัน

2. ความเสียหายของสินค้าหรือสิ่งของที่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ ประเมินจากร่องรอยและลักษณะภายนอกของสินค้าหรือสิ่งของเมื่อการขับขี่ถึงจุดหมาย และประเมินจากข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ที่เก็บข้อมูลเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หรือระยะเวลาทดสอบไม่น้อยกว่า 7 วัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.2 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.3 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.4 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.5 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

18.6 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบทดสอบอัตนัยหรือแบบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

18.7 เครื่องมือการประเมิน

1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินการปฏิบัติหน้างานจริง

 



ยินดีต้อนรับ