หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-WII-5-003ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารคลังสินค้าอันตราย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล และป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
1321 ผู้จัดการด้านการผลิต1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101111 ดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล 1. จัดทำแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล ตามโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน 101111.01 103860
101111 ดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล 2. ติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด 101111.02 103861
101111 ดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล 3. รายงานสรุปผล เสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด 101111.03 103862
101112 ป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 1. จัดทำแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ แหล่งน้ำสาธารณะตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด 101112.01 103863
101112 ป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 2. ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด 101112.02 103864
101112 ป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 3. รายงานสรุปผล เสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด 101112.03 103865

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล

  1.1 สามารถจัดทำแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด

  1.2 สามารถติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลอย่างถูกต้องตามแผนที่กำหนด

  1.3 สามารถรายงานสรุปผล และเสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลตามแผนอย่างถูกต้องตามที่กำหนด

2. ปฏิบัติการป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ

  2.1 สามารถจัดทำแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

  2.2 สามารถติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

  2.3 สามารถรายงานสรุปผล และเสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การแก้ไขการรั่วไหล

2. การป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

   3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

   2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

   3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

   4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรบุคคลในการปฏิบัติงานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

   การปฏิบัติการการดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล และการป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล จะต้องจัดทำแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล สามารถติดตามตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล และรวมถึงรายงานสรุปผล ข้อเสนอแนะวิธีป้องกัน จากการติดตามตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล

   2. การป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ จะต้องจัดทำแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ แหล่งน้ำสาธารณะ สามารถติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ รวมถึงรายงานสรุปผล ข้อเสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบอัตนัย 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ