หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-WII-3-077ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมคลังสินค้าอันตราย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ และดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
9321 คนงานบรรจุผลิตภัณฑ์ด้วยมือ9329 คนงานด้านการผลิต ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น9333 คนงานขนถ่ายสินค้า9334 คนงานเติมสินค้าบนระดับวาง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101021 ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 1. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับสินค้าตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101021.01 103781
101021 ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 2. ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันภาชนะที่อยู่บนแผ่นรองสินค้าตกเสียหายได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101021.02 103782
101022 สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ 1. สำรวจความเรียบร้อยของภาชนะและหีบห่อสินค้าก่อนจัดเก็บตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101022.01 103783
101022 สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ 2. จัดเตรียมพื้นที่เฉพาะเพื่อถ่ายบรรจุใหม่ ไว้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101022.02 103784
101022 สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ 3. จัดทำรายการควบคุมการตรวจสอบสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101022.03 103785
101023 ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ 1. เปลี่ยนภาชนะใหม่สินค้าอันตรายใหม่ ได้ดำเนินการตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101023.01 103786
101023 ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ 2. กำจัดสินค้าอันตรายที่รั่วไหลจากการเปลี่ยนภาชนะใหม่ ได้เหมาะสมตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101023.02 103787
101023 ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ 3. จัดทำรายการตรวจสอบการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามของสถานประกอบการที่การกำหนด 101023.03 103788
101024 ดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 1. จัดทำเครื่องหมายที่ใช้ชี้บ่งสินค้าอันตราย ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 101024.01 103789
101024 ดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 2. เคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 101024.02 103790
101024 ดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 3. จัดการสินค้าอันตรายที่เสียหาย และแจ้งผู้เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด 101024.03 103791
101024 ดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 4. จัดทำรายงานบันทึกตรวจสอบสินค้าอันตรายที่รับเข้า จ่ายออก ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด 101024.04 103792

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

  1.1 สามารถตรวจสอบสภาพอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าให้ใช้งานได้เหมาะสมกับสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด

  1.2 สามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันภาชนะที่อยู่บนแผ่นรองสินค้าตกเสียหายได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. ปฏิบัติการสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ

  2.1 สามารถสำรวจความเรียบร้อยของภาชนะและหีบห่อสินค้าก่อนจัดเก็บตามเกณฑ์ที่กำหนด

  2.2 สามารถจัดเตรียมพื้นที่เฉพาะเพื่อถ่ายบรรจุใหม่ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

  2.3 สามารถจัดทำรายการควบคุมการตรวจสอบสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

3. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

  3.1 สามารถเปลี่ยนภาชนะใหม่สินค้าอันตรายใหม่ได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

  3.2 สามารถกำจัดสินค้าอันตรายที่รั่วไหลจากการเปลี่ยนภาชนะใหม่ได้เหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด

  3.3 สามารถจัดทำรายการตรวจสอบการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

4. ปฏิบัติการและดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

  4.1 สามารถจัดทำเครื่องหมายที่ใช้ชี้บ่งสินค้าอันตรายได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนนำเข้าจัดเก็บรักษา

  4.2 สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายดำเนินการได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

  4.3 สามารถจัดการสินค้าอันตรายที่เสียหาย และแจ้งผู้เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

  4.4 สามารถจัดทำรายงานบันทึกตรวจสอบสินค้าอันตรายที่รับเข้าจ่ายออกได้ถูกต้องครบถ้วน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

2. การสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ

3. การควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

4. การเก็บรักษาสินค้าอันตราย



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

  2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

  4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการจัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

   การปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ และดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. จัดการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าวัตถุอันตราย จะต้องจัดทำมาตรการชี้บ่งหรือเครื่องหมายสินค้า สามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าได้รับการจัดทำตามประเภทสินค้าและลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการปะปนกับสินค้าของลูกค้ารายอื่น หรือเกิดการปนเปื้อน และรวมถึงกำหนดมาตรการป้องกันภาชนะที่อยู่บนแผ่นรองสินค้าตกเสียหายจากระดับวาง หรือได้รับขีดข่วนภาชนะ

   2. จัดการสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ จะต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะและหีบห่อสินค้า รวมทั้งกำหนดพื้นที่เฉพาะเพื่อถ่ายบรรจุใหม่ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการกอบกู้ และจัดทำรายงานการตรวจสอบสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะ 

   3. จัดการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ จะต้องเปลี่ยนภาชนะบรรจุสินค้าอันตรายที่บรรจุอยู่ในภาชนะ และหีบห่อที่ได้รับความเสียหายก่อนนำไปใช้ และของเสียหรือวัตถุอันตรายที่รั่วไหลจากการเปลี่ยนภาชนะ จะต้องถูกกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามหลักวิชา รวมทั้งจัดทำรายการตรวจสอบการควบคุมสินค้าอันตรายของสินค้าที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

   4. จัดการดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย จะต้องจัดทำเครื่องหมาย ฉลาก หรือสารสนเทศที่ใช้ชี้บ่งสินค้าอันตราย ก่อนนำเข้าจัดเก็บรักษา หากสินค้าอันตรายที่สูญหายหรือเสียหาย สามารถดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุ และแจ้งลูกค้าทราบ รวมทั้งจัดทำรายงานบันทึกตรวจสอบจำนวนและชนิดสินค้าอันตรายที่รับเข้าหรือจ่ายออกแต่ละครั้งและตลอดทั้งกระบวนการ 

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

4. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ