หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสินค้าขาเข้าทางบก

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-FDD-3-036ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสินค้าขาเข้าทางบก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

   ผู้ปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศทางบก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการด้านรับสินค้าขาเข้าทางบก และปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
401111 รับสินค้าขาเข้าทางบก 1. ขนย้ายสินค้าจากระวางบรรทุกไปยังตำแหน่งพักวางที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ดูแลรักษาถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401111.01 103513
401111 รับสินค้าขาเข้าทางบก 2. บันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401111.02 103514
401112 ปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก 1. ตรวจปล่อยสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด(รวมถึงความเสียหายต่างๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ) 401112.01 103515
401112 ปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก 2. บันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401112.02 103516

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  1. ปฏิบัติการรับสินค้าขาเข้าทางบก

    1.1 สามารถขนย้ายสินค้าจากระวางบรรทุกไปยังตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า มีการพักวางและดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    1.2 สามารถบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน และส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  2. ปฏิบัติการปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก

    2.1 สามารถตรวจปล่อยสินค้าได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (รวมถึงความเสียหายต่าง ๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ)

    2.2 สามารถบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน และส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การตรวจรับตู้สินค้าและสินค้า

2. การเคลื่อนย้ายตู้สินค้า

3. การจัดเก็บสินค้า

4. การบำรุงรักษาซ่อมแซมตู้สินค้า

5. การตรวจปล่อยตู้สินค้าและสินค้า

6. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

7. พิธีการศุลกากร (พิธีการนำเข้า)



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการสินค้าขาเข้าทางบก

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการสินค้าขาเข้าทางบกโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การจัดการสินค้าขาเข้าทางบก ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการรับสินค้าขาเข้าทางบก การปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การรับสินค้าขาเข้าทางบก จะต้องขนย้ายสินค้าจากระวางบรรทุกตรวจสอบสภาพตู้สินค้า ซีล และหมายเลขตู้ และซีล จากต้นทางไปยังตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า มีการพักวางและดูแลรักษา เช่น เคลื่อนย้ายตู้สินค้าพักวางในลานพักตู้ และบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกข้อมูลตู้สินค้าเข้าในท่าหรือสถานีขนถ่ายสินค้าในเอกสาร Equipment interchange receipt หรือ EIR

   2. การปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก จะต้องตรวจปล่อยสินค้า รวมถึงความเสียหายต่าง ๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ) และบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น Tally sheet, Survey note, Cargo Slip หรือ Slip ตรวจปล่อย, ใบรับของ Delivery order (D/O), Invoice, Transit entry 

   3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

   ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ