หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-FDD-5-041ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

 




6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลที่ทำหน้าที่รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า กำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
401161 ติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า 1. ประเมินผลการเพิ่มมูลค่าของสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401161.01 103538
401161 ติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า 2. จัดทำรายงานการประเมินผลการเพิ่มมูลค่าสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401161.02 103539
401162 กำหนดแนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า 1. วิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 401162.01 103540
401162 กำหนดแนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า 2. จัดการแก้ไขป้องกัน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ 401162.02 103541
401162 กำหนดแนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า 3. จัดทำ จัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401162.03 103542

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ 

 1. ปฏิบัติการติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

   1.1 สามารถประเมินผลการเพิ่มมูลค่าของสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด

   1.2 สามารถจัดทำรายงานการประเมินผลการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างถูกต้องตามแผนดำเนินการ

2. ปฏิบัติการกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า

  2.1 สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.2 สามารถจัดการแก้ไขปัญหา และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.3 สามารถจัดทำ จัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างถูกต้องตามแผนดำเนินการ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

2. การจัดพื้นที่ในการจัดวาง

3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำเร็จรูป

4. พิธีการทางศุลกากร



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

  3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้าโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า การกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้าจะต้องประเมินผลการเพิ่มมูลค่าของสินค้า ของที่นำเข้ามาในเขตปลอดอากรเพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องผ่านมาตรฐานของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (มอก.) และต้องดำเนินพิธีการศุลกากร และชำระค่าภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม และจัดทำรายงานการประเมินผลการเพิ่มมูลค่าสินค้า

   2. การกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่าผู้ปฏิบัติงานจะต้องวิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้า จัดการแก้ไขปัญหา เช่น ปรับปรุงในส่วนของกระบวนการรับสินค้า ปรับปรุงโครงสร้างในคลังสินค้า พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร เช่น การจ้ดฝึกอบรม และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดทำ จัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้า 

   3. คำว่า “อย่างมีประสิทธิภาพ” หมายถึง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 

 




ยินดีต้อนรับ