หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-FDD-5-040ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลที่ทำหน้าที่รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศ กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
401151 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศ 1. ประเมินผลการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 401151.01 103533
401151 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศ 2. จัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401151.02 103534
401152 กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ 1. วิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 401152.01 103535
401152 กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ 2. จัดการแก้ไขปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ 401152.02 103536
401152 กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ 3. จัดทำและจัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด 401152.03 103537

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ 

  1. ปฏิบัติการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

    1.1 สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

    1.2 สามารถจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามแผนดำเนินการ

  2. ปฏิบัติการกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

    2.1 สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

    2.2 สามารถจัดการแก้ไขปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างชัดเจน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

2. การจัดพื้นที่ในการจัดวาง

3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำเร็จรูป

4. พิธีการทางศุลกากร



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

  3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมการกระจายสินค้าระหว่างประเทศโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การควบคุมการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศ การกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานกระจายสินค้าระหว่างประเทศ จะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ เช่น วางแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า รวมถึงใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการเคลื่อนย้าย และตำแหน่งที่จะพักวางสินค้า/ตู้สินค้า ต้องควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ และอาจนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตั้งแต่ขั้นตอนการรวบรวมคำสั่งซื้อ รอรับสินค้า แยกแยะสินค้า จนถึงการนำส่ง โดยใช้ Software เฉพาะของแต่ละกิจการ เช่น การใช้ Barcode เข้ามาช่วยในการดำเนินการ เพื่อการส่งมอบสินค้าหรือตู้สินค้าที่ถูกต้อง ตรงเวลาและจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

    2. การกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไข ปรับปรงุการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ จะต้องวิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ จัดการแก้ไขปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างชัดเจน โดยการศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้า เช่น คน เครื่องมือ อุปกรณ์ ระบบหรือขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารการส่งมอบสินค้า รวมถึงการหาแนวทางการปรับปรุงข้อบกพร่องในการทำงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความพึงพอใจ เพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันให้กับหน่วยงานนำผลการศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้า มาออกแบบขั้นตอนการทำงานและวิธีปฏิบัติงานใหม่ ปรับปรุงจุดบกพร่องในการทำงาน ลดปัญหาการส่งมอบสินค้า ทั้งนี้อาจนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่าเข้ามาใช้ เพื่อลดจำนวนการหยิบ ยก ตักเคลื่อนย้าย และจัดทำและจัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

    3. คำว่า “อย่างมีประสิทธิภาพ” หมายถึง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 

 




ยินดีต้อนรับ