หน่วยสมรรถนะ
ดูแลป้องกันสภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุได้และปลอดภัย
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HLT-ZZZ-4-126ZC |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดูแลป้องกันสภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุได้และปลอดภัย |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้มีความรู้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยมีการดูแลผู้สูงอายุที่มีการเจาะคอ สายสวนปัสสาวะ ให้เหมาะสมในแต่ละส่วน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
20107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย | 1. ประเมินการหายใจ ก่อน ขณะ และหลังการดูดเสมหะ | 20107.01.03 | 105046 |
20107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย | 2. ดูดเสมหะได้อย่างถูกวิธี | 20107.01.01 | 105054 |
20107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย | 3. สังเกตความผิดปกติของเสมหะของผู้สูงอายุ | 20107.01.02 | 105055 |
20107.02 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสวนปัสสาวะ | 1. สังเกต บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องความผิดปกติของปัสสาวะ | 20107.02.01 | 105047 |
20107.02 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสวนปัสสาวะ | 2. ดูแลป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ | 20107.02.02 | 105056 |
20107.02 ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสวนปัสสาวะ | 3. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง | 20107.02.03 | 105057 |
20107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* | 1. ถอดและทำความสะอาด ท่อชั้นในของท่อเจาะคอได้อย่างถูกวิธี | 20107.03.03 | 105048 |
20107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* | 2. ทำความสะอาด บริเวณแผลเจาะคอได้อย่างถูกวิธี สังเกตความผิดปกติของแผลเจาะคอ และตำแหน่งของท่อ | 20107.03.01 | 105058 |
20107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* | 3. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง | 20107.03.02 | 105059 |
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน | 1. เตรียมอุปกรณ์และอาหารทางสายยางได้ถูกต้อง | 20107.04.01 | 105049 |
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน | 2. ตรวจสอบตำแหน่งสายยางให้อาหารได้ถูกต้อง | 20107.04.02 | 105060 |
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน | 3. ตรวจสอบปริมาณและลักษณะอาหารคงค้างในกระเพาะอาหาร | 20107.04.03 | 105061 |
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน | 4. ให้อาหารทางสายยางได้ถูกต้อง | 20107.04.04 | 105062 |
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน | 5. สังเกตภาวะผิดปกติขณะที่ให้อาหาร | 20107.04.05 | 105063 |
20107.04 การให้อาหารทางสายยาง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน | 6. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง | 20107.04.06 | 105064 |
20107.05 ดูแลทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้อง | 1. ทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้องและบริเวณแผลหน้าท้องได้อย่างถูกวิธี | 20107.05.03 | 105050 |
20107.05 ดูแลทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้อง | 2. สังเกตความผิดปกติของแผลบริเวณหน้าท้อง และตำแหน่งของท่อ | 20107.05.01 | 105065 |
20107.05 ดูแลทำความสะอาดท่อให้อาหารทางหน้าท้อง | 3. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง | 20107.05.02 | 105066 |
20107.06 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ทวารเทียม | 1. สังเกตอาการผิดปกติในบริเวณผิวหนังรอบทวารเทียมของผู้สูงอายุอยู่เสมอ | 20107.06.01 | 105051 |
20107.06 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ทวารเทียม | 2. ทำความสะอาดบริเวณทวารเทียมและเปลี่ยนถุงอย่างถูกวิธี ทำความสะอาดถุงบรรจุของเสียบริเวณทวารเทียม บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง | 20107.06.02 | 105067 |
20107.07 ดูแลผิวหนังและป้องกันการเกิดแผลกดทับ | 1. สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง | 20107.07.02 | 105052 |
20107.07 ดูแลผิวหนังและป้องกันการเกิดแผลกดทับ | 2. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง | 20107.07.01 | 105068 |
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* | 1. สังเกตลักษณะแผลที่เกิด | 20107.08.01 | 105053 |
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* | 2. เลือกอุปกรณ์หรือยาที่ใช้ในการทำแผล | 20107.08.02 | 105069 |
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* | 3. ทำแผลได้ถูกวิธีและถูกหลักการปลอดเชื้อ | 20107.08.03 | 105070 |
20107.08 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* | 4. บันทึกและรายงานผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง | 20107.08.04 | 105071 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ไม่มี (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นการขับเสมหะ 2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ 3. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผู้ป่วยที่มีท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย 4. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่เปิดหน้าท้อง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) ไม่มี (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง 2. ผลการทดสอบความรู้ 3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ 4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ 2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ก) คำแนะนำ ไม่มี (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การกระตุ้นการขับเสมหะ หมายถึง การกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ และเพื่อให้ร่างกายเพิ่มสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปริมาณเสมหะมากขึ้นทำให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น 2. การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ หมายถึง การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะให้สะอาดเพื่อป้องกันภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อน 3. การทำความสะอาดผู้ป่วยที่มีท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย หมายถึง การทำความสะอาดบริเวณที่มีการสอดท่อเข้าสู่ร่างกาย และเปลี่ยนผ้าก๊อสทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ในท่อบางชนิดสามารถถอดล็อคออกจากกันเพื่อให้สะดวกต่อการทำความสะอาดได้ 4. การดูแลผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่เปิดหน้าท้อง หมายถึง การให้การดูผู้ป่วยที่มีทวารเทียมโดยบริเวณหน้าท้องโดยสุขลักษณะที่เหมาะสม ซึ่งควรจะได้รับการทำความสะอาดที่สม่ำเสมอ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน |