หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมการกระตุ้นและฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ถูกต้อง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-3-127ZC

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมการกระตุ้นและฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ถูกต้อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ผู้ดูแลผู้สูงอายุ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
  เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการส่งเสริมและการกระตุ้น การรับรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20108.01 กระตุ้นการรับรู้ของผู้สูงอายุ 1. การพูดคุย เช่นการเรียกชื่อ การจำแนกประเภทวัตถุสิ่งของต่างๆ 20108.01.01 101243
20108.01 กระตุ้นการรับรู้ของผู้สูงอายุ 2. กระตุ้นการรับรู้ ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความรู้สึกต่างๆเช่นการรับสัมผัส การดมกลิ่น และการรับรส การได้ยิน การมองเห็น 20108.01.02 101244
20108.01 กระตุ้นการรับรู้ของผู้สูงอายุ 3. กระตุ้นการรับรู้ด้วยการให้เชื่อมโยงคำหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกันโดยให้ผู้สูงอายุบอกความหมายของคำหรือสัญลักษณ์ต่างๆ 20108.01.03 101245
20108.02 กระตุ้นการรับรู้บุคคล สถานที่ วัน เวลา 1. สนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในอดีต ของผู้สูงอายุ 20108.02.01 101246
20108.02 กระตุ้นการรับรู้บุคคล สถานที่ วัน เวลา 2. กระตุ้นการรับรู้ วัน เวลา สถานที่ บุคคลในปัจจุบัน 20108.02.02 101247
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 1. กระตุ้น/ดูแล ผู้สูงอายุทำความสะอาดร่างกายและ เปลี่ยนเสื้อผ้าล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด 20108.03.01 101248
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 2. กระตุ้น/ดูแลการเคลื่อนไหวบนเตียง 20108.03.02 101249
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 3. กระตุ้น/ดูแล ให้ผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายลุกจากที่นอนไปยังเก้าอี้หรือไปห้องน้ำ 20108.03.03 101250
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 4. กระตุ้น/ดูแล ทำความสะอาดหลังขับถ่าย 20108.03.04 101251
20108.03 กระตุ้น/ดูแลการทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุ 5. กระตุ้น/ดูแลให้ผู้สูงอายุเลือกอาหารและรับประทานอาหารอาหาร 20108.03.05 101252
20108.04 กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของตนเอง 1. พูดคุยเพื่อให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและมีความคิดเชิงบวก รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง 20108.04.01 101253
20108.04 กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของตนเอง 2. จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย 20108.04.02 101254

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้กระบวนการกระตุ้นการรับรู้

2. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการกระตุ้นรับรู้ บุคคล สถานที่ เวลา

3. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและโปรแกรมด้านกิจวัตรประจำวัน

4. ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นแรงจูงใจ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

  (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      ไม่มี

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลจากการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

     2. ผลการทดสอบความรู้

     3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

     4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

  (ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

    2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. กระบวนการกระตุ้นการรับรู้ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลได้รับความรู้สึกและแปลความหมายหรือตีความจากสิ่งเร้าที่รับเข้ามา ผ่านการวิเคราะห์โดยอาศัยความจำ ความรู้ ผสมผสานกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ ออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจ

    2. การรับรู้ บุคคล สถานที่ เวลา หมายถึง กระบวนการที่บุคคลได้รับการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการรับรู้สภาวะในปัจจุบัน เพื่อทดสอบภาวะสมองเสื่อม

    3. เทคนิคและโปรแกรมด้านกิจวัตรประจำวัน หมายถึง สิ่งที่ได้รับการรวบรวมซึ่งจะมีบริบทในเชิงของสิ่งที่ทำเป็นประจำทุกวัน โดยจะถูกรวบรวมและจัดรูปแบบออกมาในเชิงของเทคนิคและโปรแกรม

    4. การกระตุ้นแรงจูงใจ หมายถึง แรงขับหรือสิ่งกระตุ้นให้บุคคลมุ่งแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการ แรงจูงใจสร้างขึ้นมาได้ทั้งจากปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ