หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลเคลื่อนย้ายร่างกายผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-2-124ZC

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลเคลื่อนย้ายร่างกายผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ผู้ดูแลผู้สูงอายุ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้มีความรู้ในเทคนิคและวิธีการพาผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายไปในสถานที่ต่างๆ หรือการปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ของผู้สูงอายุขณะอยู่บนเตียงในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพื่อลดการเกิดแผลกดทับ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20105.01 จัดท่าผู้สูงอายุบนเตียงได้อย่างถูกวิธี 1. พยุงผู้สูงอายุให้ลุกนั่งบนเตียงได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย 20105.01.01 101224
2. การพลิกตะแคงตัวผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีและปลอดภัยพยุงผู้สูงอายุให้ลุกนั่งบนเตียงได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย 20105.01.02 101225
3. ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการเปลี่ยนท่าทางในการออกกำลังกายบนเตียงเบื้องต้นเพื่อป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแรงและข้อติดแข็งได้ถูกต้อง 20105.01.03 101226
20105.02 ช่วยเหลือสนับสนุนผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมประจำวันพื้นฐานภายในห้องหรือบ้าน 1. ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันพื้นฐานของผู้สูงอายุได้(ADL) 20105.02.01 101227
2. ดูแลให้พยุงผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายไปยังห้องน้ำ เพื่อทำกิจวัตรพื้นฐานในการชำระล้างร่างกาย 20105.02.02 101228
3. ดูแลให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดร่างกายผู้สูงอายุโดยใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง 20105.02.03 101229
4. ดูแลผู้สูงอายุโดยป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดการลื่นล้มได้ 20105.02.04 101230
5. ถอดและสวมใส่เสื้อผ้าได้อย่างถูกวิธี 20105.02.05 101231
6. จัดเตรียมอาหารให้ผู้สูงอายุเพื่อสามารถรับประทานอาหารเองได้อย่างสะดวก 20105.02.06 101232
7. ช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุจากเตียงไปยังรถเข็นได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย 20105.02.07 101233
8. ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมประจำวันพื้นฐาน 20105.02.08 101234
9. ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการออกกำลังกายได้และถูกต้องขณะอยู่นอกเตียง 20105.02.09 101235

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการช่วยกลับหรือพลิกตัวเพื่อป้องกันการเป็นแผลกดทับ

2. มีทักษะในการช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อขณะอยู่บนเตียง

3. มีทักษะในการช่วยพยุง ผู้สูงอายุให้สามารถทรงตัวได้

4. มีทักษะในการช่วยเคลื่อนย้ายจากเตียงไปยังรถเข็น

5. มีทักษะในการช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อขณะอยู่นอกเตียง


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุบนเตียง

2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุนอกเตียง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

  (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      ไม่มี

  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลการสังเกตการณ์

     2. ผลการทดสอบความรู้

     3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

     4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

  (ง) วิธีการประเมิน

     1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

     2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การเคลื่อนย้ายบนเตียง หมายถึง การช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยการเคลื่อนย้าย ยกหรือพลิกตัวผู้สูงอายุไปจนถึงการพยุงให้ทำกิจวัตรพื้นฐานได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุไปยังอีกเตียงโดยจะต้องอาศัยทักษะเพื่อการช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายไปได้ในท่าที่สามารถปฏิบัติได้

   2. การเคลื่อนย้ายนอกเตียงหมายถึงการช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยช่วยเหลือ พยุงให้ผู้สูงอายุเคลื่อนย้ายไปยังรถเข็น หรือพยุงเพื่อเดินไปทำกิจวัตรพื้นฐานได้



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน