หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของการดูแลผู้สูงอายุ
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HLT-ZZZ-1-134ZC |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของการดูแลผู้สูงอายุ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริยธรรม และหลักธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
20402.01 ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง | 1. กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญและเห็นคุณค่าในตัวเอง | 20402.01.01 | 101287 |
20402.01 ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง | 2. ส่งเสริมการมีคุณค่าของผู้สูงอายุ | 20402.01.02 | 101288 |
20402.02 ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้หลักจริยธรรม | 1. ปฏิบัติกับผู้สูงอายุตามหลักของจริยธรรมวิชาชีพของผู้ดูแล | 20402.02.01 | 101289 |
20402.02 ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้หลักจริยธรรม | 2. ไม่ทอดทิ้งและไม่ทำร้ายผู้สูงอายุ | 20402.02.02 | 101290 |
20402.02 ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้หลักจริยธรรม | 3. รักษาข้อมูลของผู้สูงอายุ | 20402.02.03 | 101291 |
20402.03 ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรักและศรัทธา | 1. ดูแลผู้สูงอายุด้วยใจรักและศรัทธาในการดูแลอยู่เสมอ | 20402.03.01 | 101292 |
20402.03 ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรักและศรัทธา | 2. ให้ความเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุและเป็นที่ปรึกษาเพื่อปรับทุกข์ได้ | 20402.03.02 | 101293 |
20402.03 ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรักและศรัทธา | 3. ผู้ดูแลสามารถตอบสนองความต้องการด้านจิตใจของผู้สูงอายุได้เหมาะสม | 20402.03.03 | 101294 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ไม่มี (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการตระหนักถึงคุณค่าของความสูงอายุ 2. ความรู้เกี่ยวกับการตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมวิชาชีพ 3. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้หลักจริยธรรม 4. ความรู้เกี่ยวกับการรักและศรัทธาในอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ(Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) ไม่มี (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลการสังเกตการปฏิบัติงานจริง 2. ผลการทดสอบความรู้ 3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ 4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ 2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ไม่มี (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การตระหนักถึงคุณค่าของความสูงอายุหมายถึง การให้ความเคารพยกย่อง คำนึงถึงคุณค่าของความสูงอายุ 2. การตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมวิชาชีพหมายถึง การรับผิดชอบต่อข้อบัญญัติในจริยธรรม เพื่อส่งเสริมคุณภาพการดูแลทั้งตัวบุคคลและวิชาชีพ 3. การดูแลผู้สูงอายุโดยใช้หลักจริยธรรมหมายถึง การนำหลักธรรมโดยการมี เมตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ในการดูแลผู้สูงอายุ 4. การรักและศรัทธาในอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุหมายถึง การเห็นคุณค่าของวิชาชีพว่าเป็นวิชาชีพที่มีประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน |