หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนออกแบบ การดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-4-095ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนออกแบบ การดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ดูแลเด็ก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้มีความรู้และเข้าใจเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถวิเคราะห์ วางแผน และออกแบบการดูแลกิจวัตรประจำวัน และการดูแลความปลอดภัยเด็กจากอันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
5311 ผู้ปฏิบัติงานดูแลเด็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10106.01 วางแผน ออกแบบส่งเสริมสุขลักษณะการกิน 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการกินของเด็ก 10106.01.01 101058
10106.01 วางแผน ออกแบบส่งเสริมสุขลักษณะการกิน 2. วางแผน แก้ไข สุขลักษณะการกิน 10106.01.02 101059
10106.01 วางแผน ออกแบบส่งเสริมสุขลักษณะการกิน 3. ให้คำแนะนำในด้านสุขลักษณะการกิน 10106.01.03 101060
10106.02 ส่งเสริมสุขลักษณะการนอน 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากการนอนร่วมกันของเด็ก 10106.02.01 101061
10106.02 ส่งเสริมสุขลักษณะการนอน 2. แก้ไข ความเสี่ยงจากการนอนร่วมกันของเด็ก 10106.02.02 101062
10106.02 ส่งเสริมสุขลักษณะการนอน 3. ให้คำแนะนำสุขลักษณะการนอนแก่ผู้ดูแลเด็กในระดับที่ต่ำกว่า 10106.02.03 101063
10106.03 ส่งเสริมสุขลักษณะการขับถ่าย 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ขับถ่ายอุจจาระ 10106.03.01 101064
10106.03 ส่งเสริมสุขลักษณะการขับถ่าย 2. แก้ไข สุขลักษณะการไม่ขับถ่าย 10106.03.02 101065
10106.03 ส่งเสริมสุขลักษณะการขับถ่าย 3. ให้คำแนะนำ ในการแก้ไขการไม่ขับถ่ายอุจจาระ 10106.03.03 101066
10106.03 ส่งเสริมสุขลักษณะการขับถ่าย 4. ติดตามการขับถ่ายอุจจาระ 10106.03.04 101067
10106.04 วางแผน ออกแบบ การดูแลสุขภาพเด็ก 1. คัดกรองปัญหาสุขภาพของเด็ก 10106.04.01 101068
10106.04 วางแผน ออกแบบ การดูแลสุขภาพเด็ก 2. วิเคราะห์ความเสี่ยงปัญหาสุขภาพเด็ก 10106.04.02 101069
10106.04 วางแผน ออกแบบ การดูแลสุขภาพเด็ก 3. วางแผน แก้ไข ปัญหาสุขภาพเด็ก 10106.04.03 101070
10106.04 วางแผน ออกแบบ การดูแลสุขภาพเด็ก 4. ให้คำแนะนำ ปัญหาสุขภาพเด็กแก่ผู้ดูแลเด็กในระดับที่ต่ำกว่า 10106.04.04 101071
10106.04 วางแผน ออกแบบ การดูแลสุขภาพเด็ก 5. แก้ไขปัญหาสุขภาพของเด็ก 10106.04.05 101072
10106.04 วางแผน ออกแบบ การดูแลสุขภาพเด็ก 6. บันทึก ติดตาม 10106.04.06 101073
10106.05 วางแผน ออกแบบดูแลด้านความปลอดภัย 1. วิเคราะห์ความเสี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก 10106.05.01 101074
10106.05 วางแผน ออกแบบดูแลด้านความปลอดภัย 2. ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก 10106.05.02 101075
10106.05 วางแผน ออกแบบดูแลด้านความปลอดภัย 3. บันทึกและรายงาน 10106.05.03 101076

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10101 ดูแลด้านโภชนาการเด็ก

10102 ดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

10103 ดูแลด้านความปลอดภัยเด็ก

10104 ป้องกัน และแก้ไขการดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก

10105 เฝ้าระวัง และรายงานผลการดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็ก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการประเมินการดูแลกิจวัตรประจำวัน

2. มีทักษะในการประเมินการดูแลด้านความปลอดภัยเด็ก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลกิจวัตรประจำวัน

2. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลด้านความปลอดภัยเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลจากการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

          2. ผลการทดสอบความรู้

          3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. วางแผนการสุขลักษณะการกินของเด็ก หมายถึง การวางแผนกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกสุขลักษณะการกินเพื่อพัฒนาการเด็กที่ดี ได้แก่




  • ฝึกการรักษาอนามัยของเด็ก คือ ล้างมือก่อนรับประทาน และแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร

  • ฝึกพัฒนาการเด็กให้รู้จักการเลือกรับประทานอาหารสะอาด สุก อุ่น และมีคุณค่าแก่ร่างกายครบ 5หมู่ เช่น ผัก ผลไม้ ปลา เนื้อ นมไข่ และดื่มน้ำสะอาด

  • ฝึกมารยาทการรับประทานอาหาร เช่น เคี้ยวอาหารไม่มีเสียง ไม่พูดคุยขนาดรับประทานอาหาร เป็นต้น

  • ฝึกควบคุมตนเอง เช่น การกินอาหารเป็นเวลา กินอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย เป็นต้น



          2. วางแผนการสุขลักษณะการนอนของเด็กหมายถึง การวางแผนกระบวนการปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะการนอนเพื่อพัฒนาการเด็กที่ดี ได้แก่    




  • ฝึกให้เด็กนอนและตื่นเป็นนิสัย

  • ฝึกให้เด็กนอนในที่นอนสะอาด มีพื้นที่เพียงพอ มีบรรยากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีเสียงรบกวน

  • ฝึกแปรงฟันและปัสสาวะก่อนนอน

  • ฝึกกิจกรรมสงบก่อนนอน เช่น กิจกรรมทางศาสนา สมาธิ ฯลฯ



          3. วางแผนการสุขลักษณะการขับถ่ายของเด็ก หมายถึง การวางแผนกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกสุขลักษณะการขับถ่ายเพื่อพัฒนาการเด็กที่ดี ในเรื่อง




  • ฝึกขับถ่ายเป็นเวลา

  • ฝึกทำความสะอาดอวัยวะในการขับถ่ายด้วยการล้างน้ำ และทำความสะอาดมือทุกครั้งเมื่ออุจจาระ หรือปัสสาวะแล้ว

  • ฝึกทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

  • ฝึกให้รับประทานที่มีกากใยในการขับถ่ายให้เป็นนิสัย เช่น ผัก และผลไม้ และน้ำดื่ม เพื่อช่วยระบบขับถ่าย



          4. วางแผนการสุขลักษณะในการทำความสะอาดของเด็ก หมายถึง การวางแผนกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกสุขลักษณะในการทำความสะอาดเพื่อพัฒนาการเด็กที่ดี ในเรื่อง




  • ฝึกล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง และหลังจากการเล่น

  • ฝึกล้างเท้าทุกครั้ง หรือสวมรองเท้าเมื่อออกนอกห้องเรียน ตัดเล็บให้สะอาด ดูแลเล็บ

  • ฝึกให้การอาบน้ำ เช่น สบู่ แปรงสีฟัน หวี ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น

  • แปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยยาสีฟัน หลังรับประทานอาหาร บ้วนปากหรือแปรงฟันหลังรับประทานขนมหวาน เพื่อป้องกันฟันผุ



          5. วางแผนการสุขลักษณะการดูแลสุขภาพเด็ก หมายถึง การวางแผนกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกสุขลักษณะการสุขภาพเพื่อพัฒนาการเด็กที่ดี ในเรื่อง




  • ฝึกในการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • ฝึกในด้านอารมณ์ รู้จักการควบคุมอารมณ์



  6. วางแผนด้านความปลอดภัยเด็ก หมายถึง การวางแผนกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องความปลอดภัยเพื่อพัฒนาการเด็กที่ดี ในเรื่อง




  • การป้องกันอุบัติเหตุในการดำเนินกิจกรรม 

  • การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ