หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เฝ้าระวัง และรายงานผลพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-3-102ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เฝ้าระวัง และรายงานผลพัฒนาการเด็ก ด้านจิตใจ-อารมณ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ดูแลเด็ก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้มีความรู้และเข้าใจการเฝ้าระวังพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ และสามารถคัดกรองปัญหา พร้อมรายงานผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ไม่ระบุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10303.01 เฝ้าระวัง คัดกรองพัฒนาการเด็ก เบื้องต้น ด้านจิตใจ-อารมณ์ 1. คัดกรองเบื้องต้นพัฒนาการเด็กด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก 10303.01.01 101099
10303.01 เฝ้าระวัง คัดกรองพัฒนาการเด็ก เบื้องต้น ด้านจิตใจ-อารมณ์ 2. ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านจิตใจ-อารมณ์ 10303.01.02 101100

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10301 ส่งเสริ มด้านนิสัย พฤติกรรม  และความถนัดของเด็ก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการประเมินพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์ของเด็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือผลการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

          2. ผลการทดสอบความรู้

          3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

          2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. พัฒนาการทางด้านจิตใจ-อารมณ์ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ เด็กจะแสดงอารมณ์ออกมาตามประสบการณ์และสภาพแวดล้อมของแต่ละคน

          2. ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ