หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-6-203ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใช้กลยุทธ์และศาสตร์ที่หลากหลายในการตัดสินใจพัฒนางานหรือแก้ปัญหา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพาะปลูกอ้อย          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย สามารถวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยประเมินผลงานการผลิตหรือบริการอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์เพื่อสรุปปัญหา และวางแผนใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ปัญหา สามารถใช้กลยุทธ์และศาสตร์ที่หลากหลายในการตัดสินใจพัฒนางานหรือแก้ปัญหา โดยพัฒนางานหรือแก้ปัญหาด้วยองค์ความรู้หรือนวัตกรรมตามแผน และบันทึกข้อมูลการดำเนินการ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพาะปลูกอ้อย โดยให้คำปรึกษาจากประสบการณ์หรือความชำนาญ และเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้ผลดี มีทักษะในการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นแบบอย่างหรือผู้นำด้านจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B721 วิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 1.1 ประเมินผลงานการผลิตหรือบริการอย่างต่อเนื่อง B721.01 100905
B721 วิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 1.2 วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์เพื่อสรุปปัญหา B721.02 100906
B721 วิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 1.3 วางแผนใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ปัญหา B721.03 100907
B722 ใช้กลยุทธ์และศาสตร์ที่หลากหลายในการตัดสินใจพัฒนางานหรือแก้ปัญหา 2.1 พัฒนางานหรือแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมตามแผน B722.01 100908
B722 ใช้กลยุทธ์และศาสตร์ที่หลากหลายในการตัดสินใจพัฒนางานหรือแก้ปัญหา 2.2 บันทึกข้อมูลการดำเนินการ B722.02 100909
B723 ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพาะปลูกอ้อย 3.1 ให้คำปรึกษาจากประสบการณ์หรือความชำนาญ B723.01 100910
B723 ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพาะปลูกอ้อย 3.2 เผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้ผลดี B723.02 100911

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การประเมินผล

2. การวางแผน

3. การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา

4. การให้คำปรึกษาหรือถ่ายทอดความรู้

5. ความชำนาญและประสบการณ์ในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

องค์ความรู้สะสมในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคที่ใช้สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน และเอกสารหลักฐานที่เป็น ผลงานการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในกระบวนการเพาะปลูกอ้อย ที่ผู้เข้ารับการประเมินต้องนำมาแสดง รวมทั้งหลักฐานการเผยแพร่องค์ความรู้หรือนวัตกรรมในช่องทางต่าง ๆ เช่น การนำเสนอรายงานสรุปผลงาน การตีพิมพ์ผลงานทางหนังสือพิมพ์หรือวารสารสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ การเผยแพร่ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานผ่านเว็บไซต์ หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การบรรยาย การร่วมสัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนางานหรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คือการประเมินผลงานการผลิตหรือบริการอย่างต่อเนื่อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์เพื่อสรุปปัญหา และวางแผนใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานหรือแก้ปัญหา

               2. การใช้กลยุทธ์และศาสตร์ที่หลากหลายในการตัดสินใจพัฒนางานหรือแก้ปัญหา คือการพัฒนางานหรือแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมตามแผนที่วางไว้ และมีการบันทึกข้อมูลการดำเนินการเพื่อนำไปเผยแพร่

               3. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเพาะปลูกอ้อย คือการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ด้วยการให้คำปรึกษา แนะนำ จากประสบการณ์หรือความชำนาญ มีการเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้ผลดีในช่องทางต่าง ๆ เช่น การนำเสนอเป็นรายงานสรุปผลงาน การตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวารสารสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆการเผยแพร่ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานผ่านเว็บไซต์ หรือการเป็นวิทยากรบรรยายหรือร่วมสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

          2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

          3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

          4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ