หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-6-202ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกอ้อยประกอบด้วย การเลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย และการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกอ้อย สามารถเลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย โดยทดลองใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม บันทึกข้อมูลการดำเนินงานและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาพิจารณาตัดสินใจเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ได้ผลในการพัฒนาการเพาะปลูกอ้อย สามารถบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย โดยเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกอ้อย เพาะปลูกอ้อยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตอ้อยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดการเพาะปลูกอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกอ้อยและระบบบริหารจัดการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด สร้างระบบการเพาะปลูกอ้อยให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ โดยไม่มีการเผา มีทักษะในการบริหารจัดการกลยุทธ์และใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพ หรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นแบบอย่างหรือผู้นำด้านจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B711 เลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย 1.1 ทดลองใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม B711.01 100895
B711 เลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย 1.2 บันทึกข้อมูลการทดลองและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบ B711.02 100896
B711 เลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย 1.3 ตัดสินใจเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ได้ผลในการพัฒนาการผลิตอ้อย B711.03 100897
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.1 เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกอ้อย B712.01 100898
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.2 เพาะปลูกอ้อยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน B712.02 100899
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.3 สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตอ้อยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม B712.03 100900
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.4 จัดการเพาะปลูกอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม B712.04 100901
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.5 ใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกอ้อยและระบบบริหารจัดการ B712.05 100902
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด B712.06 100903
B712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย 2.7 สร้างระบบการเพาะปลูกอ้อยให้ปลอดวัสดุเหลือใช้โดยไม่มีการเผา B712.07 100904

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การทดลองและเก็บบันทึกข้อมูล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การเลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย คือการตัดสินใจเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม โดยนำมาทดลองใช้ แล้วบันทึกข้อมูลการทดลองและผลที่ ได้รับอย่างเป็นระบบ สำหรับเป็นข้อมูลการพิจารณาเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ได้ผลดีในการพัฒนาการเพาะปลูกอ้อย

               2. การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกอ้อย คือการบริหารจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรมอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงการผลิต ให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการผลิต ด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์ และใช้ศาสตร์ที่หลากหลาย โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกอ้อย การเพาะปลูกอ้อยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตอ้อยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการเพาะปลูกอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกอ้อยและระบบบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด และการสร้างระบบการเพาะปลูกอ้อยให้ปลอดวัสดุเหลือใช้โดยไม่มีการเผา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ