หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-193ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกอ้อย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน และการเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเพาะปลูกอ้อยได้ตามมาตรฐานสามารถวางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน โดยสำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกอ้อย และศึกษาเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงานสามารถเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน ในด้านการเลือกพื้นที่เพาะปลูกอ้อย การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างปลอดภัยการจัดการก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย การเก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยการขนส่งโดยรักษาคุณภาพอ้อย การดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และบันทึกข้อมูลเพื่อการตรวจประเมินและตามสอบผลิตผล มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ และมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B571 วางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน 1.1 สำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกอ้อย B571.01 100833
B571 วางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน 1.2 ศึกษาเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน B571.02 100834
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.1 เลือกพื้นที่เพาะปลูกอ้อย B572.01 100835
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.2 ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างปลอดภัย B572.02 100836
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.3 จัดการก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย B572.03 100837
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.4 เก็บเกี่ยวและจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย B572.04 100838
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.5 ขนส่งโดยรักษาคุณภาพอ้อย B572.05 100839
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.6 ดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม B572.06 100840
B572 เพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน 2.7 บันทึกข้อมูลเพื่อการตรวจประเมินและตามสอบผลิตผล B572.07 100841

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การสำรวจรวบรวมข้อมูล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

เกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การวางแผนเพาะปลูกอ้อยตามมาตรฐาน คือการสำรวจรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูกอ้อยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices, GAP) สำหรับอ้อยโรงงาน



               2. การเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน คือการดำเนินการเพาะปลูกอ้อยตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงานในด้านต่าง ๆ คือ

                    - พื้นที่ปลูก กำหนดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนโลหะหนัก และวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล ในระดับที่เกินมาตรฐานตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                    - การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เบื้องต้นเรื่องชนิดศัตรูพืชของอ้อย และการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้อง กรณีมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ให้ใช้ตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร หรือคําแนะนําในฉลากที่ขึ้นทะเบียนอยางถูกตองกับกรมวิชาการเกษตร ต้องเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรและทำลายภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วอย่างถูกต้อง

                    - การจัดการก่อนการเก็บเกี่ยว กำหนดให้มีการอนุรักษ์และบำรุงดิน คัดเลือกท่อนพันธุที่มีตาสมบูรณ์ปลอดศัตรูพืช และตรงตามพันธุ์ที่บันทึก ต้องกำจัดและควบคุมศัตรูพืชหลังการปลูกและตัดอ้อยอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

                    - การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว กำหนดให้เก็บเกี่ยวอ้อยอายุไม่น้อยกว่า 10 เดือน หรือน้ำอ้อยมีความหวานไม่น้อยกว่า 20 องศาบริกซ์ ไม่เผาใบอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว

                    - การขนส่ง กำหนดให้ต้องส่งอ้อยที่เก็บเกี่ยวแล้วถึงโรงงานผลิตน้ำตาลอย่างช้าไม่เกิน 3 วัน ไม่มีสิ่งปลอมปน เช่น ดิน หิน หรือวัตถุอื่นใดที่ไม่ใช่อ้อย รวมทั้งส่วนของต้นอ้อยที่ไม่ต้องการ ปะปนรวมไปกับลำอ้อยบนรถขนส่ง โดยให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายที่เกี่ยวข้อง

                    - สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน กำหนดให้มีการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

                    - การบันทึกข้อมูล กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจประเมินและตามสอบสินค้าในระดับฟาร์ม และเก็บรักษาการบันทึกข้อมูลไม่น้อยกว่า 2 ปี ข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่



: จำนวนพื้นที่ปลูก ผลผลิตต่อไร่ และความหวาน

: ที่มาของปัจจัยการผลิต เช่น ท่อนพันธุ์ ปุ๋ย วัตถุอันตรายทางการเกษตร

: การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

: หลักฐานการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับศัตรูพืชของอ้อยและการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

: การอนุรักษ์และบำรุงดิน

: การกำจัดและควบคุมศัตรูพืช

: วันที่ปลูก และวันที่เก็บเกี่ยว

: ผู้รับซื้อผลิตผล

: หนังสือสัญญาการซื้อขายอ้อย

: บันทึกรายงานของคณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ