หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-184ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เก็บเกี่ยวอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย สามารถสำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวอ้อยและสำรวจพื้นที่เก็บเกี่ยว สามารถวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย โดยกำหนดแผนการเก็บเกี่ยวและแผนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B411 สำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย 1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวอ้อย B411.01 100777
B411 สำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย 1.2 สำรวจพื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อย B411.02 100778
B412 วางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย 2.1 กำหนดแผนการเก็บเกี่ยวอ้อย B412.01 100779
B412 วางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย 2.2 กำหนดแผนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย B412.02 100780

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผน

2. การรวบรวมข้อมูลและสำรวจพื้นที่

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กระบวนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ

2. ระบบการส่งผลผลิตอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (RequiredSkills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือ หลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การสำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวอ้อยและสำรวจพื้นที่เก็บเกี่ยว เพื่อทราบข้อมูลการเข้าเก็บเกี่ยว เช่น สภาพพื้นที่ ความชื้นในดินพื้นที่หัวแปลง ระยะแถวปลูก มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อายุเก็บเกี่ยวของอ้อยพันธุ์

หนักพันธุ์เบา ความชื้นที่เหมาะสม พันธุ์อ้อย ลำดับการตัดอ้อย เพื่อนำมากำหนดแผนการเก็บเกี่ยวให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพสูง

               2. การวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย คือการกำหนดแผนการเก็บเกี่ยวอ้อยและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจตัดอ้อยทั้งลำหรือตัดอ้อยเป็นท่อน ขึ้นอยู่กับวิธีการและเครื่องมือเก็บเกี่ยว หากตัดเป็นลำต้องใช้เครื่องมืออื่นหรือแรงงานเข้ามาช่วยขนขึ้นรถบรรทุก เพื่อขนถ่ายออกจากไร่ เนื่องจากช่วงเวลาหลังการเก็บเกี่ยวอ้อยมีระยะจำกัด โดยเฉพาะอ้อยที่ตัดส่งโรงงานน้ำตาลหลังจากตัดอ้อยต้องส่งเข้าโรงงานน้ำตาลภายในเวลาที่กำหนด ต้องวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อยให้สัมพันธ์กับลำดับการตัดอ้อยที่ได้รับจากทางโรงงาน เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย เนื่องจากการตัดอ้อยค้างไว้เป็นเวลานาน จึงต้องเตรียมทั้งเครื่องมือเครื่องจักร แรงงาน และพาหนะขนส่งให้พร้อม การเก็บเกี่ยวอ้อยให้มีคุณภาพยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นอีกหลายด้าน เช่นพันธุ์อ้อย อายุของอ้อย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ