หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-173ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เตรียมดินเพาะปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ประกอบด้วยการเตรียม การซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง การบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง และการซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเบื้องต้น          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง สามารถเตรียมการซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง โดยศึกษาวิธีและระยะบริการ รวมถึงวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังจากคู่มือประจำเครื่อง สามารถบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง โดยบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังที่จุดต่าง ๆ ตามเวลาที่ผู้ผลิตกำหนดในคู่มือประจำรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและปลอดภัย และเลือกชนิดและค่าความหนืดของสารหล่อลื่นถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง และซ่อมแซมได้ในงานซ่อมที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษช่วย มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B121 เตรียมการซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง 1.1 ศึกษาวิธีและระยะบริการจากคู่มือประจำรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง B121.01 100704
B121 เตรียมการซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง 1.2 ศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังจากคู่มือประจำเครื่อง B121.02 100705
B122 บริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง 2.1 บริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังตามคู่มือกำหนด B122.01 100706
B122 บริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง 2.2 ใช้เครื่องมือถูกต้องและปลอดภัย B122.02 100707
B122 บริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง 2.3 เลือกชนิดและค่าความหนืดของสารหล่อลื่นถูกต้องตามมาตรฐาน B122.03 100708
B123 ซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเบื้องต้น 3.1 วิเคราะห์ปัญหาความเสียหายเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง B123.01 100709
B123 ซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเบื้องต้น 3.2 ซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ B123.02 100710

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้เครื่องมือช่างอย่างปลอดภัย



2. การวิเคราะห์ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. จุดตรวจและวิธีบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง



2. จุดที่เกิดปัญหาบ่อย ๆ ของรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง



3. ค่าความหนืดของสารหล่อลื่น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)    



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



              หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้    



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



              ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้    



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



              เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



              ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. การเตรียมการซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง คือการศึกษาวิธีและระยะบริการจากคู่มือประจำรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ซึ่งผู้ผลิตกำหนดจุดที่ต้องบริการในคู่มือประจำรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ทุก 10, 50, 100, 150, 300, 600 และ 1,200 ชั่วโมงทำงาน หรืออื่น ๆ ตามที่ผู้ผลิตกำหนด หรือเมื่อรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเสีย ต้องศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง จากคู่มือประจำเครื่อง เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ซึ่งแต่ละเครื่องอาจมีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อคงสภาพอายุใช้งานของรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง และปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่



          2. การบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังตามคู่มือกำหนด คือการบำรุงรักษารถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ตามวิธีและระยะเวลาการใช้งานที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ในคู่มือประจำเครื่อง ได้แก่



          การบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังประจำวัน เป็นการบำรุงรักษารถแทรกเตอร์/ เครื่องต้นกำลัง ทุก 10 ชั่วโมงการใช้งานตามที่คู่มือกำหนด เช่น ก่อนใช้งานต้องตรวจวัดและเติมน้ำมันเครื่องให้ได้ระดับ ระบายน้ำและตะกอนออกจากถ้วยกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจน้ำในหม้อน้ำและเติมให้ได้ระดับ ทำความสะอาดหม้อกรองดักฝุ่น และตรวจอัดจาระบีที่จุดหล่อลื่น หลังใช้งานต้องทำความสะอาดรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง โดยเฉพาะครีบระบายความร้อน ตรวจตราจุดที่อาจเกิดชำรุดเสียหาย จุดที่ผิดปกติ เช่น ไฟส่องสว่าง ไฟเลี้ยว ไฟเบรก อุปกรณ์เครื่องวัด ตรวจฟังเสียงเครื่องยนต์ว่าปกติ เพื่อแก้ไขก่อนจะใช้งานต่อไป รวมทั้งเติมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับทำงานในวันต่อไป



          การบริการรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง จะต้องสามารถเลือกชนิดและค่าความหนืดของสารหล่อลื่นถูกต้องตามค่ามาตรฐาน มีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและปลอดภัย



          3. การซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเบื้องต้น คือการวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง เพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเมื่อตรวจพบความเสียหาย ซึ่งเป็นงานซ่อมที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ เช่น เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนหลอดไฟ ปรับตั้งเครื่องยนต์ ปรับระยะฟรีคลัตช์ ปรับระยะฟรีห้ามล้อ ไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับความตึงสายพานหรือเปลี่ยนเมื่อหมดอายุ เพื่อให้รถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังอยู่ในสภาพใช้งาน โดยศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังจากคู่มือประจำเครื่อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

  3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ