หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-182ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ดูแลรักษาอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาอ้อย ประกอบด้วยการให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม การให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย และการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลรักษาอ้อย สามารถให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยจัดการระบบน้ำในไร่อ้อย และให้น้ำตามแผนการให้น้ำ สามารถให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย โดยให้ปุ๋ยอ้อยตามแผนการให้ปุ๋ย ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งาน และให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย โดยป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยตามแผนการป้องกัน/กำจัด อาจใช้วิธีการเขตกรรม ใช้วิธีกล ชีววิธี หรือใช้สารเคมี ปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยก่อนใช้งาน และป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม มีทักษะในการทำงานตามขั้นตอนปฏิบัติที่กำหนดได้อย่างปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาที่พบเป็นประจำภายใต้คำแนะนำ มีความรับผิดชอบต่องานที่รับมอบหมาย และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B331 ให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม 1.1 จัดการระบบน้ำในไร่อ้อย B331.01 100760
B331 ให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม 1.2 ให้น้ำตามแผนการให้น้ำ B331.02 100761
B332 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย 2.1 ให้ปุ๋ยอ้อยตามแผนการให้ปุ๋ย B332.01 100762
B332 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย 2.2 ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งาน B332.02 100763
B332 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย 2.3 ให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม B332.03 100764
B333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย 3.1 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยตามแผนการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย B333.01 100765
B333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย 3.2 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยการเขตกรรม B333.02 100766
B333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย 3.3 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยวิธีกลหรือชีววิธี B333.03 100767
B333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย 3.4 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยใช้สารเคมี B333.04 100768
B333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย 3.5 ปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยก่อนใช้งาน B333.05 100769
B333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย 3.6 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม B333.06 100770

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

กรณีใช้เครื่องดูแลรักษาอ้อยที่ติดพ่วงกับรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง เช่น เครื่องให้ปุ๋ย เครื่องพ่นยา เครื่องกำจัดวัชพืชระหว่างแถวอ้อย ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็นคือ

          B11 ใช้รถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเพื่อการเพาะปลูกอ้อย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การปฏิบัติงานโดยปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ควรใช้

2. การใช้สารเคมีให้ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกเวลาและตรงเป้าหมายที่ต้องการ

3. วิธีป้องกัน/กำจัดวัชพืช โดยไม่ใช้สารเคมี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (RequiredSkills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม คือการจัดการระบบน้ำในไร่อ้อยวิธีการให้น้ำจะแตกต่างกันไปและต้องมีการวางระบบล่วงหน้า เช่น การให้น้ำแบบราดร่องจะปล่อยน้ำเข้าระหว่างร่องอ้อย วิธีนี้จะต้องปรับพื้นที่ให้ลาดเอียงเล็กน้อยก่อนปลูกเพื่อให้น้ำไหลเข้าแปลง การใช้ระบบน้ำหยด จะต้องมีการวางสายน้ำหยดตามแถวอ้อย และระบบสปริงเกลอร์ต้องมีการกำหนดจุดให้น้ำและระยะเวลาการให้น้ำ แล้วจึงดำเนินการให้น้ำตามแผนการให้น้ำ ซึ่งกำหนดตามความต้องการน้ำของอ้อยในช่วงอายุต่าง ๆ

               2. การให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย คือการหว่านหรือโรยปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่อ้อยต้องการในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตตามแผนการให้ปุ๋ย ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งานให้สามารถหว่านหรือโรยปุ๋ยได้ตามปริมาณที่คำนวณไว้ และให้ปุ๋ยอ้อยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

               3. การป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย คือการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยทั้งโดยการใช้และไม่ใช้สารเคมี



               การป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยไม่ใช้สารเคมี ด้วยวิธีการเขตกรรมเป็นการจัดการระบบการเพาะปลูก ที่สร้างเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค และแมลงศัตรูพืช โดยจัดการระบบเพาะปลูกในเชิงของพื้นที่หรือเวลา ที่มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนร่มเงาและสภาพภูมิอากาศในฟาร์ม หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการระบาดของโรคและแมลง เช่น ไถกลบก่อนปลูกเพื่อลดวัชพืชคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุต่าง ๆ เพื่อควบคุมวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน การเขตกรรมที่ดีอาจเป็นการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา โรคหรือแมลงบางชนิด การปลูกพืชหลากหลาย การปลูกพืชร่วม การปลูกพืชไล่และล่อแมลง การปลูกพืชเป็นแนวป้องกัน หรือการปลูกพืชในเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

               การป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากวิธีการเขตกรรมแล้ว อาจกระทำโดยวิธีกล เช่น การใช้เครื่องกำจัดวัชพืชระหว่างแถวต้นอ้อย การใช้กับดัก หรือใช้ชีววิธี เช่น การฉีดพ่นสารชีวภาพ การใช้เชื้อราเมตตาไรเซียม (metarhizium) ควบคุมด้วงหนวดยาวอ้อย การเลี้ยงขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไข่ แตนเบียนหนอน ช่วยป้องกัน/กำจัดหนอนกออ้อย และแมลงตัวห้ำ เช่น มด แมลงหางหนีบ



               ส่วนการใช้สารเคมีป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย จะต้องเลือกชนิดและความเข้มข้นของสารเคมีที่จะใช้ เนื่องจากการใช้สารเคมีเพื่อป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้น จะต้องใช้ให้ถูกชนิดถูกขนาด ถูกเวลา และตรงเป้าหมายที่ต้องการ จึงต้องอ่านสลากและคำนวณความเข้มข้นของสารเคมี จากนั้นจึงผสมสารเคมีให้ได้ความเข้มข้นที่ถูกต้อง มีการปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยก่อนใช้งาน เช่น เมื่อใช้เครื่องฉีดพ่นสารเคมี ต้องปรับตั้งให้ฉีดพ่นได้ปริมาณที่เหมาะสมปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ