หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-178ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการปลูกอ้อย ซึ่งประกอบด้วยการจัดการท่อนพันธุ์อ้อย และการปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกโดยคำนึงถึงความปลอดภัย          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปลูกอ้อย สามารถจัดการท่อนพันธุ์อ้อย โดยจัดหาท่อนพันธุ์คุณภาพที่อายุเหมาะสม และป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงให้กับท่อนพันธุ์ สามารถปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกโดยคำนึงถึงความปลอดภัย โดยปรับตั้งเครื่องปลูกขณะทำงาน และปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูก มีทักษะในการทำงานตามขั้นตอนปฏิบัติที่กำหนดได้อย่างปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาที่พบเป็นประจำภายใต้คำแนะนำ มีความรับผิดชอบต่องานที่รับมอบหมาย และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B221 จัดการท่อนพันธุ์อ้อย 1.1 จัดหาท่อนพันธุ์คุณภาพที่อายุเหมาะสม B221.01 100735
B221 จัดการท่อนพันธุ์อ้อย 1.2 ป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงให้กับท่อนพันธุ์ B221.02 100736
B222 ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกโดยคำนึงถึงความปลอดภัย 2.1 ปรับตั้งเครื่องปลูกอ้อย ขณะทำงาน B222.01 100737
B222 ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกโดยคำนึงถึงความปลอดภัย 2.2 ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูก B222.02 100738

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

กรณีใช้เครื่องปลูกอ้อยที่ติดพ่วงกับรถแทรกเตอร์ ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็นคือ

          B11 ใช้รถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังเพื่อการเพาะปลูกอ้อย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจำแนกท่อนพันธุ์อ้อยได้ตามสายพันธุ์

2. การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ลักษณะพันธุ์อ้อยสายพันธุ์ต่าง ๆ

2. ลักษณะท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (RequiredSkills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานจริง ที่สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ใบรับรองผลการศึกษา



               ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การจัดการท่อนพันธุ์อ้อย คือการจัดหาท่อนพันธุ์คุณภาพที่มีอายุเหมาะสม และปลอดจากโรคและแมลง จึงต้องมีการป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงแก่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกการจัดหาท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพจะต้องเตรียมให้เพียงพอกับพื้นที่ปลูก สามารถจำแนกพันธุ์อ้อยให้ได้ท่อนพันธุ์ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ ท่อนพันธุ์ควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน และยังไม่ออกดอก ตาอ้อยสมบูรณ์ มีกาบหุ้มติดอยู่ ส่วนการป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงที่อาจติดมากับท่อนพันธุ์ก่อนขนย้ายท่อนพันธุ์ไปยังแปลงปลูก ทำได้โดยการแช่ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือผ่านน้ำยากันเชื้อรา เป็นต้น



               2. การปลูกอ้อยโดยคำนึงถึงความปลอดภัย คือการปลูกโดยใช้เครื่องปลูกอ้อยที่ติดพ่วงกับรถแทรกเตอร์ ผู้ป้อนท่อนพันธุ์จะอยู่บนเครื่องปลูก ป้อนลำอ้อยเข้าเครื่อง เครื่องปลูกอ้อยจะยกร่อง ตัดท่อน วางท่อนพันธุ์ กลบ และกดดินให้จับกับท่อนพันธุ์ สามารถปรับตั้งให้เครื่องปลูกได้ตามความลึกและระยะปลูกที่ต้องการ บางเครื่องอาจติดตั้งถังปุ๋ยและใส่ปุ๋ยตามลงไปในร่องอ้อยในคราวเดียวขณะปลูก ในกรณีนี้จะต้องปรับตั้งปริมาณการใส่ปุ๋ยตามอัตราปุ๋ยที่ต้องการด้วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน



          2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือการปฏิบัติงานจริง



          3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน



          4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ