หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกข้าว

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-6-170ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกข้าว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกข้าว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกข้าวประกอบด้วย การเลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกข้าว และการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมพัฒนาระบบการเพาะปลูกข้าว สามารถเลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนา การเพาะปลูกข้าว โดยทดลองใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม บันทึกข้อมูลการดำเนินงานและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาพิจารณาตัดสินใจเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ได้ผล ในการพัฒนาการเพาะปลูกข้าว สามารถบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว โดยเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าว เพาะปลูกข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดการเพาะปลูกข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกข้าวและระบบบริหารจัดการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด สร้างระบบการเพาะปลูกข้าวให้ปลอดวัสดุเหลือใช้โดยไม่มีการเผา มีทักษะในการบริหารจัดการกลยุทธ์และใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพ หรือแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นแบบอย่างหรือผู้นำด้านจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A711 เลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกข้าว 1.1 ทดลองใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม A711.01 100678
A711 เลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกข้าว 1.2 บันทึกข้อมูลการดำเนินงานและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบ A711.02 100679
A711 เลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกข้าว 1.3 ตัดสินใจเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ได้ผลในการพัฒนาการเพาะปลูกข้าว A711.03 100680
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.1 เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าว A712.01 100681
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.2 เพาะปลูกข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน A712.02 100682
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.3 สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม A712.03 100683
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.4 จัดการเพาะปลูกข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม A712.04 100684
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.5 ใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกข้าวและระบบบริหารจัดการ A712.05 100685
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด A712.06 100686
A712 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว 2.7 สร้างระบบการเพาะปลูกข้าวให้ปลอดวัสดุเหลือใช้โดยไม่มีการเผา A712.07 100687

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การทดลองและเก็บบันทึกข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ไม่มี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การเลือกองค์ความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อใช้พัฒนาการเพาะปลูกข้าว คือการตัดสินใจเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม โดยนำมาทดลองใช้ แล้วบันทึกข้อมูลการดำเนินงานและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบ สำหรับเป็นข้อมูลการพิจารณาเลือกใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ได้ ผลดีในการพัฒนาการเพาะปลูกข้าว



               2. การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกข้าว คือการบริหารจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรมอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงการผลิต ให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณ/มูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการผลิต ด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์และใช้ศาสตร์ที่หลากหลาย โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าว การเพาะปลูกข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการเพาะปลูกข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกข้าวและระบบบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด และการสร้างระบบการเพาะปลูกข้าวให้ปลอดวัสดุเหลือใช้โดยไม่มีการเผา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน



          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน



          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ