หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาที่คาดการณ์ได้ในการผลิตหรือบริการ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-4-167ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาที่คาดการณ์ได้ในการผลิตหรือบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกษตรกรเพาะปลูกข้าว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาที่คาดการณ์ได้ในการผลิตหรือบริการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัญหา และการตัดสินใจแก้ปัญหา          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการแก้ไขปัญหาที่คาดการณ์ได้ในการผลิตหรือบริการ สามารถวิเคราะห์ปัญหา โดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สรุปประเด็นปัญหา และทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา โดยใช้หลักการหรือความรู้เชิงทฤษฎีในการตัดสินใจ และบันทึกข้อมูลการดำเนินการ มีทักษะในการปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          ไมม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A661 วิเคราะห์ปัญหา 1.1 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง A661.01 100654
A661 วิเคราะห์ปัญหา 1.2 สรุปประเด็นปัญหา A661.02 100655
A661 วิเคราะห์ปัญหา 1.3 ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล A661.03 100656
A662 ตัดสินใจแก้ปัญหา 2.1 ใช้หลักการหรือความรู้เชิงทฤษฎีในการตัดสินใจ A662.01 100657
A662 ตัดสินใจแก้ปัญหา 2.2 บันทึกข้อมูลการดำเนินการ A662.02 100658

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การวิเคราะห์ปัญหา

  2. การใช้หลักการหรือความรู้เชิงทฤษฎีในการตัดสินใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

หลักการหรือความรู้เชิงทฤษฎีในการตัดสินใจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) ที่ใช้สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน และเอกสารหลักฐานที่เป็น ผลงานการแก้ไขปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานในอาชีพ ที่ผู้เข้ารับการประเมินต้องนำมาแสดง



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การวิเคราะห์ปัญหา คือการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปประเด็นปัญหาโดยเฉพาะปัญหาที่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูข้าวตามฤดูกาล มีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล



               2. การตัดสินใจแก้ปัญหา คือการใช้หลักการหรือความรู้เชิงทฤษฎีประกอบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้เพื่อตัดสินใจดำเนินการแก้ปัญหา โดยมีการบันทึกข้อมูลการดำเนินการและผลที่ได้ไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน



          2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



          3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน



          4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ