หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-147ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปลูกข้าว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว ประกอบด้วยการเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว การบริการเครื่องปลูกข้าว  และการซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวเบื้องต้น          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว สามารถเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว โดยศึกษาวิธีและระยะบริการ รวมทั้งวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเครื่องเตรียมดินจากคู่มือประจำเครื่อง สามารถบริการเครื่องปลูกข้าว โดยบริการเครื่องปลูกข้าวตามคู่มือกำหนดและใช้เครื่องมือถูกต้องและปลอดภัย สามารถซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าว และซ่อมแซมในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษได้ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A231 เตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว 1.1 ศึกษาวิธีและระยะบริการจากคู่มือประจำเครื่องปลูกข้าว A231.01 100519
A231 เตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว 1.2 ศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวจากคู่มือประจำเครื่อง A231.02 100520
A232 บริการเครื่องปลูกข้าว 2.1 บริการเครื่องปลูกข้าวตามคู่มือกำหนด A232.01 100521
A232 บริการเครื่องปลูกข้าว 2.2 ใช้เครื่องมือถูกต้องและปลอดภัย A232.02 100522
A233 ซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวเบื้องต้น 3.1 วิเคราะห์ปัญหาความเสียหายเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าว A233.01 100523
A233 ซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวเบื้องต้น 3.2 ซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ A233.02 100524

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การใช้เครื่องมือช่างอย่างปลอดภัย

  2. การวิเคราะห์ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. จุดตรวจและวิธีบริการเครื่องปลูกข้าว

  2. จุดที่เกิดปัญหาบ่อย ๆ ของเครื่องปลูกข้าว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องปลูกข้าว คือการศึกษาวิธีและระยะบริการเครื่องปลูกข้าว รวมทั้งวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมจากคู่มือประจำเครื่อง เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อคงสภาพอายุใช้งานของเครื่องปลูกข้าว



               2. การบริการเครื่องปลูกข้าว คือการบำรุงรักษาเครื่องปลูกข้าวตามชั่วโมงทำงานที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด ซึ่งพบในเครื่องปลูกข้าวบางชนิด เช่น เครื่องดำนา เครื่องโรยข้าวชนิดติดท้ายรถแทรกเตอร์ โดยศึกษาจุดที่ต้องบำรุงรักษา วิธีปฏิบัติ และชั่วโมงทำงานได้จากคู่มือประจำเครื่อง และการใช้เครื่องมือบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย



               3. การซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวเบื้องต้น คือการวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายของเครื่องปลูกข้าว เพื่อตัดสินใจซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ เช่น การปรับตั้งเครื่องยนต์ ปรับความตึงหรือเปลี่ยนสายพาน ความเสียหายเนื่องจากส้อมปักดำในเครื่องดำนาคดงอหรือหัก เครื่องหว่านข้าวสตาร์ทติดยาก ตรวจซ่อมส่วนที่ชำรุด หลุด หลวม ขันนอตให้แน่น เพื่อให้เครื่องปลูกอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเครื่องปลูกข้าวจากคู่มือประจำเครื่อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน



          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน



          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ