หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาข้าว

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-150ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาข้าว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ดูแลรักษาข้าว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาข้าว ประกอบด้วยการให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม การให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าว และการป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลรักษาข้าว สามารถให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยให้น้ำข้าวตามแผนการให้น้ำ ควบคุมระดับน้ำซึ่งจะช่วยควบคุมวัชพืชด้วยหรือระบายน้ำออก สามารถให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าว โดยให้ตามแผนการให้ปุ๋ย ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งาน และให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย โดยปฏิบัติตามแผนการป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าว ใช้วิธีการเขตกรรม วิธีกล ชีววิธี หรือใช้สารเคมี ปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวก่อนใช้งาน และป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม มีทักษะในการทำงานตามขั้นตอนปฏิบัติที่กำหนดได้อย่างปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาที่พบเป็นประจำภายใต้คำแนะนำ มีความรับผิดชอบต่องานที่รับมอบหมาย และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A331 ให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม 1.1 ให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสมตามแผนการให้น้ำ A331.01 100540
A331 ให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม 1.2 ใช้ระดับน้ำช่วยควบคุมวัชพืช A331.02 100541
A331 ให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม 1.3 ควบคุมระดับน้ำหรือระบายน้ำออก A331.03 100542
A332 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าว 2.1 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าวตามแผนการให้ปุ๋ย A332.01 100543
A332 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าว 2.2 ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งาน A332.02 100544
A332 ให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าว 2.3 ให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม A332.03 100545
A333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย 3.1 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวตามแผนการป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าว A333.01 100546
A333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย 3.2 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวโดยการเขตกรรม A333.02 100547
A333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย 3.3 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวโดยวิธีกลหรือชีววิธี A333.03 100548
A333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย 3.4 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวโดยใช้สารเคมี A333.04 100549
A333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย 3.5 ปรับตั้งเครื่องฉีดพ่นสารเคมีก่อนใช้งาน A333.05 100550
A333 ป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย 3.6 ฉีดพ่นสารเคมีโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม A333.06 100551

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การปฏิบัติงานโดยปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ควรใช้

  2. การใช้สารเคมีอย่างถูกชนิด ถูกขนาด ถูกเวลาและตรงเป้าหมายที่ต้องการ

  3. วิธีป้องกัน/กำจัดวัชพืช โดยไม่ใช้สารเคมี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



               ไม่มี



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. การให้น้ำข้าวในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม คือการให้น้ำตามเวลาที่กำหนดตามแผน ซึ่งกำหนดตามความต้องการน้ำของข้าวในช่วงอายุต่าง ๆ และการใช้ระดับน้ำเพื่อช่วยควบคุมวัชพืชในแปลงข้าว สามารถสูบน้ำเข้าและระบายออกตามกำหนด



               2. การให้ปุ๋ยตามความต้องการของข้าว คือการหว่านหรือโรยปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่ข้าวต้องการในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตตามแผนการให้ปุ๋ย ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งานให้สามารถหว่านหรือโรยปุ๋ยได้ตามปริมาณที่คำนวณไว้ และให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



               3. การป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวอย่างปลอดภัย คือการป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวทั้งโดยการใช้และไม่ใช้สารเคมี



                   การป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี ด้วยวิธีการเขตกรรมเป็นการจัดการระบบการเพาะปลูกที่สร้างเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช โดยจัดการระบบเพาะปลูกในเชิงของพื้นที่หรือเวลา ที่มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนร่มเงาและสภาพภูมิอากาศในฟาร์ม หรือปรับ เปลี่ยนเงื่อนไขการระบาดของโรคและแมลง เช่น ไถกลบก่อนปลูกเพื่อลดวัชพืช ปล่อยน้ำท่วมขังแปลงนาในเวลาที่เหมาะสมหรือคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุต่าง ๆ เพื่อควบคุมวัชพืช การเขตกรรมที่ดีอาจเป็นการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา โรค หรือแมลงบางชนิด การปลูกพืชหลากหลาย การปลูกพืชร่วม การปลูกพืชไล่และล่อแมลง การปลูกพืชเป็นแนวป้องกัน หรือการปลูกพืชในเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น



                   การป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากวิธีการเขตกรรมแล้ว อาจกระทำโดยวิธีกล เช่น การใช้เครื่องกำจัดวัชพืชระหว่างแถวต้นข้าว การล่อด้วยแสงไฟฟรือพืชสมุนไพร การใช้กับดัก หรือใช้ชีววิธี เช่น การฉีดพ่นสารชีวภาพ การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา (trichoderma) ควบคุมโรคพืช การเลี้ยงขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ



                   ส่วนการใช้สารเคมีป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวจะต้องเลือกชนิดและความเข้มข้นของสารเคมีที่จะใช้ เนื่องจากการใช้สารเคมีเพื่อป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้น จะต้องใช้ให้ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกเวลา และตรงเป้าหมายที่ต้องการ จึงต้องอ่านสลากและคำนวณความเข้มข้นของสารเคมี จากนั้นจึงผสมสารเคมีให้ได้ความเข้มข้นที่ถูกต้อง มีการปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูข้าวก่อนใช้งาน เช่น เมื่อใช้เครื่องฉีดพ่นสารเคมี ต้องปรับตั้งให้ฉีดพ่นได้ปริมาณที่เหมาะสม ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน



          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน



          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ