หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-BES-2-015ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO รหัส 5412 อาสาสมัครสายตรวจรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน
ISCO รหัส 5414 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)
ISCO รหัส 5414 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน
ISCO รหัส 5414 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำพิพิธภัณฑ์
ISCO รหัส 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่พนักงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ ที่จะต้องปฏิบัติงานในอาคารสถานที่ให้เกิดความปลอดภัยตามกฎระเบียบ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอย่างถูกต้องในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ดำเนินการเข้าระงับเหตุให้เป็นไปตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02221 กำกับดูแลระเบียบวินัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินในการปฏิบัติหน้าที่ 1. บอกบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 02221.01 99709
02221 กำกับดูแลระเบียบวินัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินในการปฏิบัติหน้าที่ 2. อธิบายข้อปฏิบัติ ข้อห้าม จริยธรรมของวิชาชีพของพนักงานรักษาตวามปลอดภัยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 02221.02 99710
02221 กำกับดูแลระเบียบวินัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินในการปฏิบัติหน้าที่ 3. อธิบายการปฏิบัติ ท่าตรง ท่าพักตามระเบียบและท่าทำความเคารพได้อย่างถูกต้อง 02221.03 99711
02222 กำกับดูแลการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน 1. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติการควบคุมการผ่านเข้า-ออกของบุคคล,ยานพาหนะ,ทรัพย์สินและการตรวจตราพื้นที่ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 02222.01 99712
02222 กำกับดูแลการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน 2. อธิบายการปฏิบัติกรณีมีบุคคลฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติการผ่านเข้า-ออกพื้นที่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 02222.02 99713

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ทักษะในการตรวจสอบวินัยในการปฏิบัติการเข้าแถว การทำความเคารพ การแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ การกล่าวต้อนรับผู้มาติดต่อ การปฏิบัติตนเมื่อมีผู้มาติดต่อ การตรวจยานพาหนะ การกำกับดูแลระเบียบวินัยของพนักงาน การตรวจสอบและตักเตือนพนักงานที่ประพฤติต้องห้าม หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะการปฏิบัติตนของพนักงานรักษาความปลอดภัย
- ทักษะด้านการรักษาความปลอดภัย
- ทักษะการปฏิบัติต่อผู้มาติดต่อ
- ทักษะการสังเกตและจดจำ
- ทักษะการสั่งการ การว่ากล่าวตักเตือน และลงโทษ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัย
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวินัย
- ความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติต่อผู้มาติดต่อ
- ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดบทลงโทษ
- ความรู้ด้านการตรวจสอบบุคคล และยานพาหนะผ่านเข้าออกสถานที่
- ความรู้ด้านการตรวจตราพื้นที่
- ความรู้ด้านการระงับเหตุเบื้องต้น
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
เอกสารแสดงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของกำลังพล, เอกสารแสดงการตรวจงานของผู้ตรวจ
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- เอกสารการผ่านงานการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินจากต้นสังกัด
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


กำกับดูแลระเบียบวินัยและการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน
(ก) คำแนะนำ
การมอบหมายอำนาจหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของพนักงานรักษาความปลอดภัยรายบุคคล โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบรายบุคคลอย่างชัดเจน รวมทั้งทดสอบความเข้าใจในการใช้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
  1. หน้าที่ของหัวหน้าหน่วย ประกอบด้วย
 
1) ประสานงานและรายงานแจ้งเหตุผิดปกติกับผู้ว่าจ้าง/บริษัท
  2) ตรวจสอบและควบคุมการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยงานตามนโยบายของผู้ว่าจ้าง/บริษัท
  3) ชี้แจงและฝึกการปฏิบัติงานให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัย
  4) ระงับเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน
2. ข้อปฏิบัติของพนักงานรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย
1) แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบบริษัทกำหนดไว้
  2) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  3) ให้เกียรติผู้บังคับบัญชา/ผู้ว่าจ้างอย่างเคร่งครัด
  4) ตรวจตราพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
  5) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ประมาทเลินเล่อ
  6) บุคคลภายนอกและยานพาหนะเข้าในหน่วยงาน ต้องแลกบัตรบัตรผ่านทุกครั้ง
  7) บุคคล/ยานพาหนะก่อนออกจากหน่วยงานต้องตรวจค้นทุกครั้ง
  8) ปฏิบัตหน้าที่เสร็จสิ้น ต้องลงบันทึกรายงานเหตุการณ์
  9) ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจุดรักษาการณ์ตามเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
  10) รักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง
  11) รักษาความลับของนายจ้าง
  12) พบสิ่งที่ผิดปกติ ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
  3. ข้อห้ามของพนักงานรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย
  หมวดการแต่งกาย
  1) ห้ามสวมใส่เครื่องแบบนอกเหนือจากที่บริษัทกำหนด
  2) ห้ามแต่งกายที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของบริษัท เช่น ใส่แว่นกันแดดสีดำ ใส่ต่างหู (ยกเว้น รปภ.หญิง) ไว้เล็บยาว ผมยาว หนวดเครายาว ทำสีผมและทาสีเล็บ
  3) ห้ามใช้ผ้าเช็ดหน้ารองคอเสื้อ พับแขนเสื้อ ขณะปฏิบัติหน้าที่
  หมวดการปฏิบัติตนขณะปฏิบัติหน้าที่
  1) ห้ามประพฤติปฏิบัติตนขัดต่อระเบียบวินัยข้อบังคับของบริษัท
  - นอนหลับ ละทิ้งหน้าที่หรือจุดรักษาการณ์ หรือออกเวรก่อนคู่ผลัดมาเปลี่ยน
  - ดื่มสุราของมึนเมาอื่นๆ หรือยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด
  - เล่นการพนันหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นเล่นการพนันทุกชนิด
  - ก่อการทะเลาะวิวาท ยุยง เพื่อให้เกิดความแตกแยก
  2) ห้ามประพฤติปฏิบัติตนขัดต่อระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน เช่น
  - พูดคุยโทรศัพท์ในเขตหวงห้าม
  - สูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบ
  - นำบุคคลเข้ามาในหน่วยงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
  - นำรถยนต์เข้ามาจอดภายในหน่วยงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
  - นำอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถบันทึกภาพได้เข้ามาในหน่วยงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
  - การเคลื่อนย้ายยานพาหนะและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง
  3) ห้ามอ่านหนังสือหรือทำงานอดิเรก
  4) ห้ามใช้คำพูดและกิริยาที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพกับผู้ว่าจ้างและผู้มาติดต่อ
  5) ห้ามรับอาหารและเครื่องดื่มจากผู้อื่นที่ไม่รู้จักโดยเด้ดขาด
  6) ห้ามฟังวิทยุ เครื่อง MP3 ดูโทรทัศน์ และเครื่องสื่อสารที่ใช้เสียบหูฟังทุกชนิด
  7) ห้ามต่อเติม เพิ่มข้อความในเอกสารคำสั่งของผู้ว่าจ้างหรือบริษัท
  4. การปฏิบัติท่าตรง ท่าพักตามระเบียบและท่าทำความเคารพ มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
  1) ท่ายืนตรง (คำสั่ง “ทั้งหมดแถวตรง”)
  - ยืนลำตัวตรง
  - ส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยก
  - มือแนบชิด
  2) ท่าวันทยหัตถ์ (คำสั่ง “ทั้งหมดตรงหน้าวันทยหัตถ์”)
  - ยกมือขวา นิ้วชี้แตะที่กระบังหมวก
  - นิ้วมือเรียงชิดติดกัน
  - แขนท่อนบนตั้งฉากกับลำตัว
  - ข้อมือตรง
  - สวัสดีครับ / ค่ะ
  - ลดมือลง
  3) ท่าพักตามระเบียบ (คำสั่ง “ทั้งหมดตามระเบียบพัก”)
  - แยกเท้าซ้าย
  - มือขวาทับมือซ้ายไว้ด้านหลัง
  4) ผลการปฏิบัติ
  - ความปลอดภัยในการปฎิบัติ
  - ความถูกต้องในการปฏิบัติ
  - ความเข้มแข็งในการปฏิบัติ
- เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือการประเมิน
  1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ