หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ศึกษาข้อมูลความต้องการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-BES-5-009ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ศึกษาข้อมูลความต้องการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO รหัส 1219 ผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกรักษาความปลอดภัย
ISCO รหัส 1219 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารงานรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน จะต้องพิจารณาข้อกำหนดความต้องการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง และสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 25582. หนังสือสัญญาระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111 พิจารณาข้อกำหนดความต้องการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง 1. อธิบายข้อกำหนดในรายละเอียดตามความต้องการของผู้ว่าจ้างได้ถูกต้องและครบถ้วน 01111.01 99673
01111 พิจารณาข้อกำหนดความต้องการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง 2. วิเคราะห์ข้อกำหนดความต้องการของผู้ว่าจ้างได้ระบุไว้ได้ถูกต้องและครบถ้วน 01111.02 99674
01112 สำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน 1. สำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างได้อย่างครบถ้วน 01112.01 99675
01112 สำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน 2. ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และทรัพย์สินได้ถูกต้องและครบถ้วน 01112.02 99676
01112 สำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สิน 3. สรุปข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และทรัพย์สินการรักษาความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง 01112.03 99677

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสัญญาจ้าง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- วิเคราะห์ความเสี่ยงภัยของพื้นที่ และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่
- ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจและการประเมินความเสี่ยงการรักษาความปลอดภัยสถานที่
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำข้อกำหนดเทคนิคและการเงิน
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- สัญญาจ้าง
- ภาพถ่ายพื้นที่รักษาความปลอดภัยของผู้ว่าจ้าง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- ผลการสอบความรู้ และการสัมภาษณ์
- คู่มือการสำรวจพื้นที่และการประเมินความเสี่ยงอาคาร สถานที่และทรัพย์สิน
- เอกสารการอบรมเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงอาคาร สถานที่และทรัพย์สิน
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๘
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ประเมินเกี่ยวกับการสำรวจพื้นที่และประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


ศึกษาข้อมูลความต้องการการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างโดยพิจารณาข้อกำหนดความต้องการในการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง และสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงในการรักษาความปลอดภัย
  (ก) คำแนะนำ
1. การศึกษารายละเอียดข้อมูลความต้องการข้อกำหนดสัญญาจ้างการรักษาความปลอดภัยเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ครอบคลุม 2 ด้าน
1.1 ด้านความปลอดภัยต่อชีวิตสิ่งที่ต้องสำรวจ ได้แก่ สภาพแวดล้อม ทางเข้าออก แสงสว่าง แนวรั้วกำแพงปกปิด หรือป้องกันการเข้าถึงทรัพย์สิน
1.2 ด้านความปลอดภัยต่อทรัพย์สินสิ่งที่ต้องสำรวจ ได้แก่ สถานที่จัดเก็บทรัพย์สิน การนำทรัพย์สินเข้าออก
2. เครื่องมือที่ต้องจัดเตรียมในการสำรวจพื้นที่ ได้แก่ เอกสารแบบฟอร์มสำรวจพื้นที่ กล้องถ่ายรูป ในการเดินสำรวจ หรือยานพาหนะ (ถ้าจำเป็น)
3. การเก็บข้อมูล ภาพถ่าย อย่างละเอียดและรอบคอบ ต้องได้รับการสำรวจข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกประเด็นตามแบบฟอร์มสำรวจที่กำหนด ซึ่งจะต้องอธิบายรายละเอียดจุดเสี่ยงของภาพถ่าย และตรวจสอบความถูกต้องตามลำดับชั้น
4. การจัดระดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต้องครอบคลุมตามเกณฑ์ อย่างน้อย 4 ระดับ
5. เอกสารการประเมิน ใบสั่งงานเกี่ยวกับการสำรวจและประเมินความเสี่ยงภัยของพื้นที่ อาคารสถานที่และทรัพย์สิน เป็นต้น
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ระดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย 4 ระดับ ได้แก่
1.1 ความเสี่ยงสูง หมายถึง ความเสี่ยงที่ต้องจัดการรักษาความปลอดภัยทันที
1.2 ความเสี่ยงปานกลาง หมายถึง ความเสี่ยงทีต้องจัดการรักษาความปลอดภัยโดยมีระยะเวลาการจัดการ
1.3 ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หมายถึง มีการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่ต้องมีการจัดทำแผน
1.4 ความเสี่ยงต่ำ หมายถึง ความเสี่ยงที่ไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม
2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสัญญาจ้าง คือ ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ การดูแลพื้นที่ การเข้าออกพื้นที่ในหน่วยงานนั้น เช่น วันเวลาในการปฏิบัติงาน การลาหยุด ค่าจ้างและสวัสดิการ ระเบียบวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำผิดวินัยและการลงโทษ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การสิ้นสุดการจ้าง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือการประเมิน
  1. แบบทดสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
18.2 เครื่องมือการประเมิน
1. แบบทดสอบข้อเขียน
2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ