หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-ZZZ-4-100ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่

7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

- ช่างประกอบและซ่อมเครื่องมือทันตกรรม

- ช่างประกอบและซ่อมเครื่องมือทางการแพทย์

- ช่างประกอบและซ่อมเครื่องมือผ่าตัด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมทัศนคติความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2040201 ร่วมจัดทำและปฏิบัติตามแผนทำการสอบเทียบ 1.1 ใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศได้ 162011
2040201 ร่วมจัดทำและปฏิบัติตามแผนทำการสอบเทียบ 1.2 ร่วมจัดทำและปฏิบัติตามแผนการสอบเทียบได้ 162012
2040202 ตรวจสอบ บำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) 2.1 อ่านคู่มือการทำงานของเครื่อง (Operation manual) ประกอบการทำงาน 162013
2040202 ตรวจสอบ บำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) 2.2 บำรุงรักษาการทำงานตามคู่มือ 162014
2040203 ทำการสอบเทียบ 3.1 สามารถสอบเทียบในระบบมาตรฐานนานาชาติ 162015
2040203 ทำการสอบเทียบ 3.2 สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ได้ 162016
2040204 ออกใบรายงานผล 4.1 คำนวณค่าต่างๆที่ใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ 162017
2040204 ออกใบรายงานผล 4.2 วิเคราะห์ผลได้ 162018

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ใช้เครื่องมือมาตรฐานสำหรับทดสอบ สอบเทียบ เครื่องมือแพทย์

- การอ่านค่าใบรายงานผลการทดสอบ สอบเทียบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มาตรฐานนานาชาติ ISO/IEC17025

- ค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

- หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

(ง) วิธีการประเมิน

- ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คําแนะนํา

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

เครื่องมือช่าง (Tools)  

- เครื่องมือกล (ตัด ไส เจาะ) (Mechine tools)

- เครื่องมือรื้อ และ เครื่องมือประกอบ (Accessories mechine)

- คีมช่าง (Pliers) ไขควง (Screwdriver) ประแจ (Wrench)

- อุปกรณ์บัดกรี (Soldering device) สว่านไฟฟ้า (Electric drill)

เครื่องมือทดสอบ (Test equipment)   

- มัลติมิเตอร์ (Multi-meter)

- โวลต์มิเตอร์ (Volt meter)

- โอห์มมิเตอร์ (Ohm meter)

- แอมป์มิเตอร์ (Amp meter)

- เครื่องวัดความถี่ (Frequency meter)

วัสดุ (Materials)  

- ตะกั่วบัดกรี (Soldering Lead)

- สายไฟฟ้า (Wires)

- ดอกสว่าน (Drill bits)

- ใบเลื่อย (Saw blades)

เครื่องมือแพทย์ (Medical equipments)  

- เครื่องกระตุกหัวใจ (Defibrillator)

- เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography)

- เครื่องติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วย (Patient monitor)

- เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ (Pacer)

- เครื่องวัดการบีบตัวของมดลูก (Electrical fetal monitor)

- เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator)

- เครื่องจี้ตัดด้วยไฟฟ้า (Electro surgical)

- เครื่องเอ็กซเรย์ทั่วไป (X-ray machine)

- เครื่องเอ็กซเรย์ฟัน (Dent x-ray machine)

- เครื่องตรวจโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)

- เครื่องให้การรักษาโดยคลื่นเสียงความถี่สูง Ultrasound therapy)

- ตู้อบเด็ก (Infant incubator)

- เครื่องให้สารสลบ (Anesthesia)

- เครื่องฟังเสียงหัวใจเด็กในครรภ์ (Stethoscope heart unborn child)

- เครื่องดึงคอและหลังอัตโนมัติ (Automation lumbar traction&cervical traction)

- เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oximeter)

- เครื่องวัดอัตราการไหลของสารละลาย (Infusion pump)

- เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือด (Syringe pump)

- เครื่องให้ความอบอุ่นแก่เด็กแรกคลอด (Infant warmer)

- ตู้เย็นเก็บเลือด (Blood bank)

- ตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์ (Medical refrigerator)

- ตู้แช่แข็ง (Ultra freezer)

- ตู้เพาะเชื้อ (Incubator)

- อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ (Water bath)

- เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบแห้ง (Dry bath)

- เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบปรอท (Patient thermometer)

- เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิตอล (Digital Patient thermometer)

- หม้อต้มพาราฟีน (Paraffin bath)

- หม้อต้มผ้าประคบ (Pack heater)

- เทอร์โมมิเตอร์ในตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์แบบอนาล็อก (Analog thermometer)

- เทอร์โมมิเตอร์ในตู้เย็น (Refrigerator thermometer )

- เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในห้อง (Ambient thermometer)

- เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในห้องแบบดิจิตอล (Digital ambient thermometer)

- เครื่องอุ่นเลือด (Blood warmer)

- เครื่องชั่งน้ำหนักสาร (Analytical weight)

- เครื่องชั่งน้ำหนักผู้ใหญ่ (Adult weight)

- เครื่องชั่งน้ำหนักเด็ก (Baby weight)

- เครื่องชั่งน้ำหนักทั่วไป (General weight)

- เครื่องปั่นเหวี่ยง (Centrifuge)

- เครื่องดูดช่วยคลอดสุญญากาศ (Vacuum)

- เครื่องดูดของเหลวในกระเพาะอาหาร (Aspirator)

- เครื่องวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำ (Non invasive blood pressure, NIBP)

- เครื่องวัดอัตราการไหลของก๊าซออกซิเจน (Oxygen flow meter)

- เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศ (Air flow meter)

- เครื่องดูดของเหลวระบบไปป์ไลน์ (Suction pipeline)

- เครื่องปั่นผสมสารอมัลกัม (Amalgamator)

- ยูนิตทันตกรรม (Dental unit)

- เครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า (Electric scaler)

- โคมไฟผ่าตัด/หัตถการ (Surgical lighting)

- เตียงผ่าตัด (Operating room)

- เตียงผู้ป่วย (Patient’s bed)

สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite)  

- แผนกซ่อมบํารุง (Maintenance department)

- ห้องรักษา วินิจฉัยที่มีเครื่องมือแพทย์ (Medical diagnosis room)

คู่มือ   

- คู่มือการทำงานของเครื่อง (Operation manual)

- คู่มือการซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง (Service manual)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน

- การสอบข้อเขียน อาจเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย/อัตนัย

- การสอบปฏิบัติ อาจใช้การสาธิต/สังเกตการ/การสัมภาษณ์/การตอบคำถามปากเปล่า เป็นต้น

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



ยินดีต้อนรับ