หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RTS-ZZZ-3-048ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ป้องกันความสูญเสีย ระดับ 3

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ ผู้ผ่านการประเมินควร มีทักษะ มีความรู้ และมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ในอาชีพป้องกันความสูญเสียระดับ 3 ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การใช้วิธีการขั้นพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย และการใช้วิธีการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจค้าปลีก 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
021021 ปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย 1.1ปฏิบัติตามวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมายและข้อบังคับขององค์กรในเรื่องอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน 021021.01 54763
021021 ปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย 1.2 ชี้แจงและรายงานข้อบกพร่องหรือวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ และสถานที่ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและข้อบังคับในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 021021.02 54764
021021 ปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย 1.3จัดการสินค้าอันตรายตามข้อกำหนดของกฎหมาย 021021.03 54765
021021 ปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย 1.4 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเรื่องความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงตามนโยบายขององค์กร 021021.04 54766
021021 ปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย 1.5รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานต่อผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 021021.05 54767
021021 ปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย 1.6 มีส่วนร่วมในกระบวนการให้คำปรึกษา/หารือ ในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 021021.06 54768
021022 ปฏิบัติตามขั้นตอนในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.1 ปฏิบัติตามวิธีการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเกิดไฟไหม้และเหตุการณ์ฉุกเฉินรวมถึงการอพยพผู้คน 021022.01 54769
021022 ปฏิบัติตามขั้นตอนในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.2ระบุได้ถึงผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน และต้องอพยพผู้คน 021022.02 54770
021022 ปฏิบัติตามขั้นตอนในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.3แจ้งเตือนความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง 021022.03 54771

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านการสื่อสาร

1.1    ทักษะในการรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน ข้อบกพร่อง/การชำรุดที่ เกิดขึ้นกับอุปกรณ์เครื่องใช้ และสถานที่ทำงาน รายงานเหตุการณ์อุบัติเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างชัดเจน

1.2    ทักษะในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร

1.3    ทักษะการตีความการสื่อสารที่ไม่ใช่คำพูด

2.    ทักษะด้านการอ่าน เขียน และการคำนวณ

2.1    ทักษะในการประมาณการน้ำหนัก ขนาด ปริมาณ และส่วนผสม

2.2    ทักษะการแปลความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2.3    ทักษะการอ่านและแปลความความข้อแนะนำของผู้ผลิตในการจัดเก็บสินค้า หรืออุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้

3.    ทักษะด้านเทคนิค

3.1    ทักษะในการกำจัดของเสียอย่างเหมาะสม

3.2    ทักษะการจัดการกับอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ชำรุดหรือเสียหาย

3.3    ทักษะในการระบุได้ถึงสินค้าและวัตถุอันตราย

3.4    ทักษะการใช้สัญญาณแจ้งเตือนความปลอดภัย และอุปกรณ์ดับเพลิง

3.5    ทักษะการจัดเก็บ และการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย

3.6    ทักษะการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการป้องกันตัว

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ในเรื่องการควบคุมความเสี่ยง ตลอดจนลำดับขั้นของการควบคุม ได้แก่ :

1.1    การใส่ชุดป้องกันตัวอย่างเหมาะสม

1.2    การขจัดอันตราย

1.3    การควบคุมด้านการบริหาร

1.4    การควบคุมด้านวิศวกรรม

2.    ความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาล

3.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดในสถานที่ทำงาน ได้แก่ :

3.1    อันตรายจากไฟไหม้ สารเคมี และเครื่องใช้ไฟฟ้า

3.2    การจัดการกับอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ชำรุดหรือเสียหาย

3.3    การลื่นไถล การสะดุด การตกหล่น

3.4    การหก และการรั่วไหลของวัสดุ

3.5    การจัดเก็บสินค้าและวัตถุอันตราย

3.6    ของเสีย

4.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดการในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ :

4.1    การสื่อสาร และกระบวนการในการให้คำปรึกษา/หารือ

4.2    การแปลความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4.3    การจัดทำคู่มือ

4.4    การรายงาน

5.    ความรู้ในเรื่องนโยบายและวิธีปฏิบัติ ในเรื่องเกี่ยวกับ :

5.1    วิธีปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5.2    แนวปฏิบัติในอุตสาหกรรมค้าปลีกที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5.3    บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน

5.4    กฎระเบียบและข้อบังคับทางกฎหมาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

2.    แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    การรู้จักสภาพแวดล้อมของการทำงานในธุรกิจค้าปลีก

2.    เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น

2.1    นโยบายและวิธีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในร้านค้า

2.2    คู่มือการปฏิบัติงาน และข้อแนะนำของผู้ผลิตสินค้า

2.3    กฎระเบียบและข้อบังคับในเรื่องอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน

2.4    แนวปฏิบัติของอุตสาหกรรมค้าปลีก

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 ไม่มี 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    วิธีการเพื่อความปลอดภัย : ในเรื่องเกี่ยวกับ

1.1    เงินสดในมือ

1.2    สถานการณ์ฉุกเฉิน ไฟไหม้ และอุบัติเหตุ

1.3    การอพยพพนักงาน และลูกค้า

1.4    สินค้าและวัตถุอันตราย

1.5    บ่งชี้ถึงสิ่งอันตราย

1.6    ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา

1.7    คู่มือการปฏิบัติงาน

1.8    ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือป้องกัน

1.9    รายงานอุบัติเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น

1.10    การรักษาความปลอดภัยในร้าน

1.11    การจัดการในสถานการณ์ที่กดดัน

1.12    การกำจัดของเสีย

2.    วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย : ในเรื่องเกี่ยวกับ

2.1    อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย

2.2    บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่ถูกทำลาย

2.3    ไฟฟ้า และน้ำประปา

2.4    วัตถุไวไฟ และอันตรายจากไฟไหม้

2.5    บันได ลิฟต์

2.6    เครื่องมือ ของมีคม

2.7    การหก รั่วไหล และเศษชิ้นส่วน

2.8    สารพิษ

2.9    รถเข็น

2.10    เหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกค้าและพนักงาน

3.    อุปกรณ์เครื่องใช้ : รวมถึง

3.1    อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย

3.2    บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่ถูกทำลาย

3.3    เครื่องมือ ของมีคม

3.4    เครื่องจักร

4.    นโยบายและข้อบังคับในเรื่องอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน : ได้แก่ 

4.1    ขั้ นตอนความปลอดภัยพื้นฐาน

4.2    ลูกค้าและพนักงาน

4.3    สินค้าและวัตถุอันตราย

4.4    ขั้นตอนฉุกเฉิน

4.5    อุปกรณ์ และเครื่องมือ

4.6    สถานที่

4.7    สินค้า

4.8    คู่มือเรื่องความปลอดภัย

4.9    กฎหมายและข้อบังคับในเรื่องอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน

5.    คู่มือการปฏิบัติงาน : ได้แก่

5.1    ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

5.2    แนวปฏิบัติในเรื่องการยกและการเคลื่อนย้าย

5.3    วิธีการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์

6.    ผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย : ได้แก่

6.1    ผู้จัดการ

6.2    ผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัย

6.3    ผู้ควบคุม

6.4    หัวหน้าทีม

7.    กระบวนการให้คำปรึกษา/หารือ : เกี่ยวข้องกับ

7.1    ระบุผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัย

7.2    เวลาในการจัดประชุมพนักงาน

7.3    ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากพนักงานเพื่อพัฒนาการทำงาน

8.    วิธีการในสถานการณ์ฉุกเฉิน : ในเรื่องเกี่ยวกับ

8.1    การเกิดอุบัติเหตุ

8.2    การพกอาวุธ

8.3    ไฟไหม้ พายุ

8.4    โรคภัยไข้เจ็บ

8.5    การอพยพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบข้อเขียน เพื่อประเมินความเข้าใจในการปฏิบัติงาน

2. สอบถามปากเปล่า/สัมภาษณ์ เกี่ยวกับทักษะ ประสบการณ์ และความรู้เฉพาะด้าน

3. แฟ้มข้อมูลประวัติการทำงานและรายงานผลการปฏิบัติงานจากบุคคลที่สาม



ยินดีต้อนรับ