หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมลูกรีด (roller) เพื่อทำการผลิตท่อตะเข็บตรง ERW

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ STI-STE-3-001ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมลูกรีด (roller) เพื่อทำการผลิตท่อตะเข็บตรง ERW

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 8121 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานแปรรูปโลหะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจเช็คลูกรีด (Roller) ก่อนนำไปใช้งาน และบำรุงรักษา เบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0110901 ตรวจเช็คลูกรีด (roller) ก่อนนำไปใช้งาน 1. อธิบายหลักการเตรียมลูกรีด(Roller) ได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 0110901.01 97500
0110901 ตรวจเช็คลูกรีด (roller) ก่อนนำไปใช้งาน 2. เตรียมลูกรีด (Roller) ได้ถูกต้องตามใบสั่งผลิต 0110901.02 97501
0110902 บำรุงรักษาลูกรีด (roller) เบื้องต้น 1. อธิบายหลักการบำรุงรักษาลูกรีด(Roller) ได้ถูกต้องตามคู่มือการบำรุงรักษา 0110902.01 97502
0110902 บำรุงรักษาลูกรีด (roller) เบื้องต้น 2. บำรุงรักษาลูกรีด (Roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการบำรุงรักษา 0110902.02 97503
0110902 บำรุงรักษาลูกรีด (roller) เบื้องต้น 3. ตรวจสอบความผิดปกติของลูกรีด (Roller) หลังการใช้งาน 0110902.03 97504
0110902 บำรุงรักษาลูกรีด (roller) เบื้องต้น 4. บันทึกผลการตรวจสอบความผิดปกติของลูกรีดได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 0110902.04 97505

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2. การใช้เครื่องมือวัด

3. ความปลอดภัยในงานทั่วไป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การตรวจเช็คลูกรีด

2. การบำรุงรักษาลูกรีดเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการรีดขึ้นรูป

2. หลักการตรวจเช็คและบำรุงรักษาลูกรีดเบื้องต้น

3. คู่มือมาตรฐานลูกรีด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรม

2. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. เตรียมลูกรีดได้ถูกต้องตรงตามใบสั่งผลิต

2. บำรุงรักษาลูกรีดเบื้องต้น

(ก) คำแนะนำ 

  ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถเตรียมลูกรีด (Roller) ได้ถูกต้องตามใบสั่งผลิต สามารถตรวจสอบความผิดปกติของลูกรีด (Roller) หลังการใช้งาน พร้อมทั้งบันทึกผลการตรวจสอบความผิดปกติได้ ตลอดจนบำรุงรักษาลูกรีด (Roller) ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการบำรุงรักษาที่กำหนด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ลูกรีด” หมายถึง ชิ้นส่วนที่ทำจากเหล็กใช้สำหรับขึ้นรูปเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆ

“การบำรุงรักษาลูกรีดเบื้องต้น” หมายถึง การบำรุงรักษาประจำวัน เช่น การตรวจสอบทั่วไป การทำความสะอาด และการชโลมน้ำมันกันสนิมอย่างถูกวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวพนักงานเองตามคำแนะนำของคู่มือ เพื่อรักษาสภาพของลูกรีด ให้มีสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ถ้าพบความผิดปกติให้แจ้งหัวหน้าทราบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความสามารถในการตรวจเช็คลูกรีด (Roller) ก่อนนำไปใช้งาน    

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินความสามารถในการ บำรุงรักษาลูกรีด (Roller) เบื้องต้น

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดตามคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ