หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ STI-STE-4-043ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 8122 ผู้ควบคุมเครื่องจักรตกแต่ง ชุบ และเคลือบผิวโลหะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องสามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพ และติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0141101 แก้ไขปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 1. ชี้บ่งสาเหตุของการเกิดปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้ 0141101.01 97930
0141101 แก้ไขปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 2. ลำดับขั้นตอนการแก้ไขปัญหาคุณภาพชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้ถูกต้องตามหลักการ 0141101.02 97931
0141101 แก้ไขปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 3. ดำเนินการแก้ไขปัญหาคุณภาพชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างเป็นระบบ 0141101.03 97932
0141102 ติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเบื้องต้น 1. ติดตามผลของการแก้ไขปัญหาถูกต้องตามวิธีการที่สถานประกอบการกำหนด 0141102.01 97933
0141102 ติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเบื้องต้น 2. ตรวจสอบผล ก่อน หลัง ของการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องตามที่สถานประกอบการกำหนด 0141102.02 97934

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวางแผนงาน

2. ทักษะการควบคุมและติดตามงาน (Job Controlling and Follow-up)

3. ทักษะการจูงใจผู้อื่น (Motivation Others)

4. ทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการบันทึกและประมวลผล หรือโปรแกรมอื่นในการทำงานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหา (Problem Solving)

2. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement Methodology)

3. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ PDCA, 7QC Tool

4. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ 5 Why, 5W1H

5. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณ ตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในงาน

6. ความรู้เกี่ยวกับการ 4M Change

7. ความรู้เกี่ยวกับรหัส ชื่อ ชนิดของชิ้นงาน

8. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ

2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

2. ใบบันทึกผลข้อสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

แก้ปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตในเบื้องต้น

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น เพื่อไม่ให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของการเกิดปัญหา

4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องติดตามผลหลังการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาที่พบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ปัญหาคุณภาพของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตในเบื้องต้น” เช่น ชุบไม่ติด ความหนาชั้นเคลือบไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดลูกค้า ฯลฯ

“การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น” หมายถึง การแก้ไขปัญหาชั่วคราวเพื่อให้การผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้ (Temporary Action)

“การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ” หมายถึง การแก้ไขปัญหาที่รากของสาเหตุ (Root Cause) เพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก

“ติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาชิ้นงาน” หมายถึง เมื่อได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาและได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วนั้น ต้องดำเนินการติดตามประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหานั้นอย่างเหมาะสม ทั้งการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (Temporary Action) และการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ (Root Cause)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการแก้ไขปัญหาคุณภาพเบื้องต้นของชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเบื้องต้น

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 



ยินดีต้อนรับ