หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกระบวนการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ STI-STE-4-042ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกระบวนการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 8122 ผู้ควบคุมเครื่องจักรตกแต่ง ชุบ และเคลือบผิวโลหะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องสามารถจัดลำดับการผลิต ติดตามความคืบหน้าและเผ้าติดตามพารามิเตอร์ของงานผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0141001 จัดลำดับการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 1. กำหนดลำดับการผลิตประจำวันให้เป็นไปตามแผนการผลิตที่กำหนด 0141001.01 97922
0141001 จัดลำดับการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 2. จัดกำลังคนในการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้ถูกต้องกับแผนการผลิต 0141001.02 97923
0141001 จัดลำดับการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 3. ควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนการผลิตที่กำหนด 0141001.03 97924
0141002 ติดตามความคืบหน้าของงานการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 1. เฝ้าติดตามความคืบหน้าของการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้ถูกต้องตามแผนที่กำหนด 0141002.01 97925
0141002 ติดตามความคืบหน้าของงานการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 2. ประเมินผลการปฏิบัติงานการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนได้ถูกต้องตามแผนการผลิตที่กำหนด 0141002.02 97926
0141002 ติดตามความคืบหน้าของงานการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 3. กำหนดมาตรการแก้ไขเบื้องต้นเมื่อไม่ได้ผลการผลิตตามเป้าหมายที่กำหนดได้ถูกต้อง 0141002.03 97927
0141003 เฝ้าติดตามพารามิเตอร์ (Parameter) ของการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 1. อธิบายหลักการทำงานของชุดควบคุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่าควบคุมพารามิเตอร์ (Parameter) 0141003.01 97928
0141003 เฝ้าติดตามพารามิเตอร์ (Parameter) ของการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 2. ดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อค่าควบคุมพารามิเตอร์ (Parameter) ไม่เป็นไปตามที่กำหนด 0141003.02 97929

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการควบคุมและติดตามงาน (Job Controlling and Follow-up)

2. ทักษะการจูงใจผู้อื่น (Motivation Others)

3. ทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการบันทึกและประมวลผล หรือโปรแกรมอื่นในการทำงานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและจัดตารางการผลิต

2. ความรู้เกี่ยวกับกำลังการผลิตของเครื่องจักร (Capacity)

3. ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหา (Problem Solving)

4. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement Methodology)

5. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ PDCA, 7QC Tool

6. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ 5 Why, 5W1H

7. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณ ตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในงาน

8. ความรู้เกี่ยวแผนการผลิตประจำวัน

9. ความรู้เกี่ยวกับการ 4M Change

10. ความรู้เกี่ยวกับรหัส ชื่อ ชนิดของชิ้นงาน

11. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ

2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

2. ใบบันทึกผลข้อสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

วางแผนงานการผลิต มอบหมายงาน ติดตามความคืบหน้าของงาน ในการผลิตภัณฑ์ชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน และแก้ปัญหาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตในเบื้องต้น

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนดในการผลิต, รูปทรงของชิ้นงานที่จะทำการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญในเรื่องของผลิตภาพ (Productivity)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

“ควบคุมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน” หมายถึง การจัดตารางการผลิต, การมอบหมายการผลิตให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง, การกำหนดกำลังคนในแต่ละส่วนงานได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องต่อความสามารถในการผลิต, การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้

“การเฝ้าติดตามพารามิเตอร์” (Parameter) หมายถึง ค่าที่เป็นตัวเลขที่ใช้ในการควบคุมให้เครื่องจักรและอุปกรณ์สามารถทำงานได้ตามที่กำหนด เช่น ระดับอุณหภูมิ, ความเป็นกรดด่าง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการจัดลำดับการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการติดตามความคืบหน้าของงานการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการเฝ้าติดตามพารามิเตอร์ (Parameter) ของการผลิตชิ้นงานชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน

1) แบบทดสอบข้อเขียน

2) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 



ยินดีต้อนรับ