หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฎิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล ระดับ 2

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-2-043ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฎิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล ระดับ 2

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ดิจิตอลระดับ 2 (Digital Printing Technician)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ การจัดการสี และการวางแผนและสรุปการใช้งานวัสดุใช้พิมพ์ระบบดิจิตอล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
สามารถสื่อสารภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302021 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลได้ 1.1 ตรวจสอบและปรับตั้งเครื่องพิมพ์ดิจิทัลให้อยู่ในสภาวะมาตรฐานพร้อมใช้งาน 302021.01 1557
302021 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลได้ 1.2 ตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์งานก่อนสั่งพิมพ์ (preflight) 302021.02 1558
302021 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลได้ 1.3 ใช้งานโปรแกรมประมวลผลข้อมูล (RIP) เพื่อสั่งพิมพ์งาน 302021.03 1559
302022 ปฎิบัติการจัดการสีเบื้องต้น 2.1 พิมพ์งานภายใต้ระบบการจัดการสีได้อย่างถูกต้อง 302022.01 1560
302022 ปฎิบัติการจัดการสีเบื้องต้น 2.2 ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดค่าสีได้อย่างถูกต้อง 302022.02 1561
302023 วางแผนและสรุปการใช้วัสดุพิมพ์ระบบดิจิทัล 3.1 จัดเตรียมวัสดุใช้พิมพ์ให้เพียงพอกับการผลิต 302023.01 76046
302023 วางแผนและสรุปการใช้วัสดุพิมพ์ระบบดิจิทัล 3.2 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัสดุให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 302023.02 76048

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ต้องผ่านหน่วยสมรรถนะช่างพิมพ์ดิจิตอลระดับ 1 (Digital Printing Operator) และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ดิจิตอล

  2. ความสามารถในการใช้โปรแกรมประมวลผลข้อมูล (RIP) ของเครื่องพิมพ์ดิจิตอล

  3. ความสามารถพิมพ์งานภายใต้ระบบการจัดการสี

  4. ความสามารถในการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดค่าสี

  5. ความสามารถในเตรียมวัสดุใช้พิมพ์ให้เพียงพอกับการผลิต

  6. ความสามารถในการตรวจสอบคุณลักษณะของวัสดุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ดิจิตอล

  2. ความรู้เกี่ยวกับโหมดสีของงานพิมพ์และตัวอักษร

  3. ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมประมวลผล (RIP) ของเครื่องพิมพ์ดิจิตอล

  4. ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการสี

  5. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์วัดค่าสี และวิธีการเลือกใช้

  6. ความรู้ในการประเมินปริมาณวัสดุที่ต้องการใช้ในการผลิต

  7. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุใช้พิมพ์

  8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบวัสดุใช้พิมพ์ และใช้เครื่องมือวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. งานพิมพ์ดิจิตอลที่ถูกต้องตามคำสั่งผลิต

  2. งานพิมพ์ดิจิตอลที่ผ่านระบบการจัดการสี

  3. รายงานผลการวัดค่าสี

  4. แผนการใช้วัสดุใช้พิมพ์

  5. รายงานการตรวจสอบคุณลักษณะของวัสดุ

  6. การสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน ปรับตั้งขนาดงาน การเลือกสี การตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์งาน และการใช้โปรแกรมประมวลผลข้อมูล (RIP) การวัดค่าสี

  7. ใบบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

  8. แฟ้มสะสมผลงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



             1.   แบบสัมภาษณ์



             2.   แบบทดสอบความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



            การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี



(ง) วิธีการประเมิน



             1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์



             2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกต ใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน และ/หรือ แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. สภาวะมาตรฐานพร้อมใช้งาน คือ เครื่องพิมพ์อยู่ในสภาวะ (อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์) ที่เหมาะสมและสามารถพิมพ์งานได้โดยไม่เกิดปัญหา  

  2. ความถูกต้องของไฟล์งาน (Prefight) เช่น โหมดสีของงานพิมพ์ ความถูกต้องของตัวอักษร การวางหน้า ICC Profile

  3. โปรแกรมประมวลผลข้อมูล (RIP) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นคำสั่งพิมพ์

  4. การจัดการสี เช่น การควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์บนวัสดุใช้พิมพ์ หรือการเลือกใช้ค่าโปรไฟล์สี (ICC Profile)

  5. อุปกรณ์วัดค่าสี เช่น เครื่องวัดค่าความดำ (densitometer), เครื่องวัดค่าพิกัดสี (spectrophotometer) เป็นต้น

  6. วางแผนการใช้วัสดุ คือการคาดคะเนความต้องการและจัดเตรียมวัสดุใช้พิมพ์

  7. จัดเตรียม คือการหาผู้จำหน่าย การสั่งซื้อ การเบิกของ

  8. วัสดุใช้พิมพ์ เช่น วัสดุใช้พิมพ์ หมึก และตลับเก็บหมึกเสีย เป็นต้น

  9. คุณลักษณะของวัสดุ เช่น ความหนา แกรมกระดาษ ชนิด เป็นต้น

  10. เครื่องมือวัด เช่น ไม้บรรทัด ไมโครมิเตอร์ เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น

  11. ลูกค้า เช่น ผู้สั่งงานจากภายในองค์กร และผู้สั่งงานจากภายนอกองค์กร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)



18.2 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ