หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PSI-PLP-2-002ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามใบสั่งผลิต ปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ จัดเตรียมเศษเหลือใช้จากกระบวนการผลิตได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมพลาสติก 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05111 เตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามใบสั่งผลิต 1. อ่านและเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ 05111.01 87761
05111 เตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามใบสั่งผลิต 2. อธิบายรายละเอียดที่ระบุในใบสั่งผลิตได้ 05111.02 87762
05111 เตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามใบสั่งผลิต 3. เบิกจ่ายวัตถุดิบตามใบสั่งผลิต 05111.03 87763
05111 เตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามใบสั่งผลิต 4. ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบเบื้องต้น 05111.04 87764
05112 ปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ 1.ปรับอุณหภูมิสำหรับปรับสภาพของวัตถุดิบตามใบสั่งการผลิตได้อย่างถูกต้อง 05112.01 87765
05112 ปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ 2.ปรับเวลาสำหรับปรับสภาพของวัตถุดิบตามใบสั่งการผลิตได้อย่างถูกต้อง 05112.02 87766
05112 ปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ 3. ปรับสีของวัตถุดิบตามใบสั่งการผลิตได้อย่างถูกต้อง 05112.03 87767
05113 จัดเตรียมเศษเหลือใช้จากกระบวนการผลิต 1.เตรียมเศษเหลือใช้ในการผลิตที่เหมาะสมตามสัดส่วนที่ระบุในใบสั่งผลิต 05113.01 87768
05113 จัดเตรียมเศษเหลือใช้จากกระบวนการผลิต 2. กำหนดปริมาณที่เหมาะสมของเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิต 05113.02 87769

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถการอ่าน พูด และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ วัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ

2. สามารถระบุชนิดของวัตถุดิบ 

3. สามารถอธิบายรายละเอียดที่ระบุในใบสั่งผลิต

4. สามารถระบุคุณภาพของวัตถุดิบ

5. วิธีการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ

6. สัดส่วนปริมาณของเศษเหลือใช้ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ในกระบวนการลิต

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ วัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ

2. ระบุชื่อของวัตถุดิบได้อย่างถูกต้อง 

3. การจำแนกชนิดของวัตถุดิบ

4. การระบุข้อบ่งชี้คุณภาพของวัตถุดิบ

5. เลือกสภาวะการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ    

6. กำหนดเวลาสำหรับการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ

7. เลือกวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ที่เหมาะสม           

8. กำหนดปริมาณเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

2. เอกสารการประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการผ่านการอบรม 

2. เอกสารการประเมินผลการสอบข้อเขียน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน 

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับการอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ การระบุชื่อของวัตถุดิบได้อย่างถูกต้อง การจำแนกชนิดของวัตถุดิบ การระบุข้อบ่งชี้คุณภาพของวัตถุดิบ เลือกสภาวะการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ กำหนดเวลาสำหรับการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ เลือกวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ที่เหมาะสม กำหนดปริมาณเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม และมีทักษะที่สามารถระบุชนิดของวัตถุดิบ สามารถอ่านใบสั่งการผลิต สามารถระบุคุณภาพของวัตถุดิบ วิธีการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ สัดส่วนปริมาณของเศษเหลือใช้ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ในกระบวนการลิต

วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ การระบุชนิดของวัตถุดิบสำหรับงานอัดรีดผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งผลิต คุณลักษณะของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ข้อกำหนดของสภาพวัตถุดิบสำหรับการผลิตชิ้นส่วนงานอัดรีด และเครื่องจักรในการปรับสภาพของวัตถุดิบ กรรมวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิต และเครื่องมือในการจัดเตรียมเศษเหลือใช้จากกระบวนการผลิต การกำหนดปริมาณของเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตชิ้นงานอัดรีด

 (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับการอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิค ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ การระบุชื่อของวัตถุดิบได้อย่างถูกต้อง การจำแนกชนิดของวัตถุดิบ การระบุข้อบ่งชี้คุณภาพของวัตถุดิบ เลือกสภาวะการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ กำหนดเวลาสำหรับการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ เลือกวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ที่เหมาะสม กำหนดปริมาณเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม และมีทักษะที่สามารถระบุชนิดของวัตถุดิบ สามารถอ่านใบสั่งการผลิต สามารถระบุคุณภาพของวัตถุดิบ วิธีการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ สัดส่วนปริมาณของเศษเหลือใช้ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิต

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. สามารถการอ่าน และเขียนคำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์เทคนิภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ วัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอัดรีดขึ้นรูปโปรไฟล์และท่อ

2. สามารถอ่านรายละเอียดที่ระบุในใบสั่งผลิตได้

3. สามารถเบิกจ่ายวัตถุดิบตามใบสั่งผลิต

4. สามารถตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบเบื้องต้น 

5. สามารถปรับอุณหภูมิสำหรับปรับสภาพของวัตถุดิบตามใบสั่งการผลิตได้อย่างถูกต้อง

6. สามารถปรับเวลาสำหรับปรับสภาพของวัตถุดิบตามใบสั่งการผลิตได้อย่างถูกต้อง

7. สามารถปรับสีของวัตถุดิบตามใบสั่งการผลิตได้อย่างถูกต้อง

8. สามารถกำหนดวิธีการเตรียมเศษเหลือใช้ในการผลิตที่เหมาะสม

9. สามารถกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของเศษเหลือใช้ในกระบวนการผลิต

“ใบสั่งผลิต” หมายถึง เอกสารแสดงรายละเอียดประกอบการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลิตภัณฑ์, วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต, หมายเลขเครื่องที่ผลิต, ชื่อผู้ผลิต, ชื่อลูกค้า, แม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิตเป็นต้น ซึ่งอ้างอิงตามของสถานประกอบการ

“คุณภาพของวัตถุดิบเบื้องต้น” หมายถึง วัตถุดิบที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ บรรจุภัณฑ์ไม่ฉีกขาด, วัตถุดิบไม่เปียกชื้น, ชนิดของวัตถุดิบกับฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์ตรงกัน, จำนวนวัตถุดิบตรงกับฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์ตรงกัน, ลักษณะสีของวัตถุดิบไม่ผิดปกติ, กลิ่นไม่ฉุนผิดปกติ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
0000 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมินการเตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามใบสั่งผลิต                                          

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือการประเมินการปรับสภาพและสีของวัตถุดิบ

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.3 เครื่องมือการประเมินการจัดเตรียมเศษเหลือใช้จากกระบวนการผลิต

1. แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

2. แบบฟอร์มการประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ