หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อธิบายหลักการพื้นฐานงานทางพยาธิวิทยาและงานสารสนเทศ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MNT-5-017ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อธิบายหลักการพื้นฐานงานทางพยาธิวิทยาและงานสารสนเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


3211 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการสร้างภาพทางการแพทย์และอุปกรณ์การบําบัดรักษาโรค



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จําเป็นในการสนับสนุนงานระบบเวชสารสนเทศด้านพยาธิวิทยา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 นักเวชสารสนเทศด้านพยาธิวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข         มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2555 สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์      มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ มาตรฐานวิชาการทางห้องปฏิบัติการ ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PAT0101 อธิบายหลักการพื้นฐานงานทางพยาธิวิทยา 1.1 มีความรู้ในงานทางพยาธิวิทยา PAT0101.01 86770
PAT0101 อธิบายหลักการพื้นฐานงานทางพยาธิวิทยา 1.2 อธิบายมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และทางพยาธิวิทยา PAT0101.02 86771
PAT0102 สามารถแยกประเภทของงานทางพยาธิวิทยา 2.1 ระบุประเภทของงานทางพยาธิวิทยา PAT0102.01 86772
PAT0102 สามารถแยกประเภทของงานทางพยาธิวิทยา 2.2 ระบุชนิดและประเภทของตัวอย่างทางพยาธิวิทยา PAT0102.02 86773
PAT0103 อธิบายหลักการพื้นฐานงานสารสนเทศโรงพยาบาลและทางห้องปฏิบัติการ 3.1 มีความรู้ในงานสารสนเทศโรงพยาบาลและทางห้องปฏิบัติการ PAT0103.01 86774
PAT0103 อธิบายหลักการพื้นฐานงานสารสนเทศโรงพยาบาลและทางห้องปฏิบัติการ 3.2 ระบุมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง PAT0103.02 86775

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. มีทักษะในการใช้กล้องจุลทรรศน์




2. มีทักษะในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์




3. มีทักษะในการใช้งานระบบสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เรื่องงานทางพยาธิวิทยาเบื้องต้น




2. ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการ (Laboratory Information System: LIS)




3. ความรู้เรื่องระบบเครือข่ายโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสาร/หลักฐานรับรองประสบการณ์การทำงาน




2. แฟ้มสะสมผลงาน




3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




เอกสารผ่านการอบรมงาน/สาขาที่เกี่ยวข้อง




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง




(ง) วิธีการประเมิน




1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน




2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ




3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หมายถึง ห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสิ่งส่งตรวจ (Specimens) ของผู้เข้ามารับบริการตรวจทางสุขภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย

  2. งานทางพยาธิวิทยา หมายถึง การศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ สารคัดหลั่ง และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) โดยงานทางพยาธิวิทยาแบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology)

  3. ระบบเครือข่ายโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) หมายถึง เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้จัดการกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล เช่น ประวัติผู้ป่วย การรักษา การนัดหมาย ระบบการเงิน ระบบผู้ป่วยนอก ระบบผู้ป่วยใน ระบบห้องยา เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

  4. ระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการ (Laboratory Information System: LIS) หมายถึง การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในจัดการข้อมูลในการรับ-ส่งข้อมูลสิ่งส่งตรวจ ตรวจสอบ รายงานผลการตรวจ และประมวลผลข้อมูลผู้ป่วย ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์




สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite)



    - ภายในแผนกพยาธิวิทยา ห้องปฏิบัติการ หรือภายในสถานพยาบาล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน        



- การสอบข้อเขียน



- การสัมภาษณ์



โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น





 



ยินดีต้อนรับ