หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์แบบชิ้นงานแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งตามความต้องการของลูกค้า

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-MPT-4-066ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์แบบชิ้นงานแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่งตามความต้องการของลูกค้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะด้านการวิเคราะห์แบบชิ้นงานตามความต้องการของลูกค้า โดยต้องศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจข้อกำหนดจากลูกค้ารวบรวมจุดที่เป็นปัญหาเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง ทั้งยังสามารถสรุปผลสำหรับการออกแบบแม่พิมพ์ และนำเสนอปัญหาให้กับลูกค้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101PT06.1 ศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า 1.1 ศึกษา และทำความเข้าใจรายละเอียดของแบบชิ้นงาน 101PT06.1.01 82403
101PT06.1 ศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า 1.2 รวบรวมจุดที่เป็นปัญหา 101PT06.1.02 82404
101PT06.2 กำหนดเงื่อนไขเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง 2.1 กำหนดแนวคิดการออกแบบแม่พิมพ์ 101PT06.2.01 82405
101PT06.2 กำหนดเงื่อนไขเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง 2.2 ระบุเงื่อนไขในการออกแบบแม่พิมพ์ 101PT06.2.02 82406
101PT06.3 สรุปผลสำหรับการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง 3.1 นำเสนอปัญหาและความต้องการต่อลูกค้า 101PT06.3.01 82407
101PT06.3 สรุปผลสำหรับการออกแบบแม่พิมพ์เทอร์โมฟอร์มมิ่ง 3.2 สรุปแนวทางแก้ไข โดยได้รับความเห็นชอบจากลูกค้า 101PT06.3.02 82408

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวิเคราะห์ชิ้นงานจุดที่เป็นปัญหา

2. สามารถระบุเงื่อนไขในการออกแบบแม่พิมพ์

3. สามารถนำเสนอปัญหาและความต้องการต่อลูกค้า

4. สามารถสรุปแนวทางแก้ไข โดยได้รับความเห็นชอบจากลูกค้า


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดงานตามข้อกำหนดจากลูกค้า

2. ความรู้ในการออกแบบแม่พิมพ์

3. ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของแบบชิ้นงาน

4. ความรู้ในการวิเคราะห์จุดที่เป็นปัญหาในการทำแม่พิมพ์



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายหลักการออกแบบแม่พิมพ์

     2. อธิบายหรือระบุรายละเอียดของแบบชิ้นงาน

     3. วิเคราะห์จุดที่เป็นปัญหาในการทำแม่พิมพ์

     4. แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์

     5. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบชิ้นงานลูกค้า โดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน  และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

     2. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

     3. แบบทดสอบข้อเขียน



15. ขอบเขต (Range Statement)

    การวิเคราะห์แบบชิ้นงานตามความต้องการของลูกค้า คือการศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจข้อกำหนด เงื่อนไขการทำงานจากลูกค้า

(ก) คำแนะนำ 

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดจากลูกค้า

     2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดเงื่อนไขเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์เพื่อความเหมาะสม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การวิเคราะห์แบบชิ้นงานตามข้อกำหนดของลูกค้า หมายถึงการศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจข้อกำหนด เงื่อนไขการทำงานจากลูกค้า



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

    1. แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติงาน

    2. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

    3. แบบทดสอบข้อเขียน




ยินดีต้อนรับ