หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนแบบและจัดทำรูปรายการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-4-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนแบบและจัดทำรูปรายการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักออกแบบพื้นที่สีเขียวชั้น 4


1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นบุคคลที่มีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานโดยสามารถกำหนดรายละเอียดรูปแบบ ข้อกำหนดพิจารณาข้อจำกัด กำหนดกรอบเวลาการส่งมอบงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและจัดทำวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานในแต่ละขั้นตอนของงานมีทักษะทางความคิดและปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่หลากหลาย ครอบคลุมการปฏิบัติงานหาข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.1 อธิบายเรื่องงานเขียนแบบได้ 02141.01 79591
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.2 อธิบายเรื่องลักษณะของแบบได้ 02141.02 79592
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.3 อธิบายเรื่องมาตราส่วนในงานเขียนแบบได้ 02141.03 79593
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.4 อธิบายเรื่องภาพในงานเขียนแบบได้ 02141.04 79594
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.5 อธิบายเรื่องวิธีการเขียนแบบได้ 02141.05 79595
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.6 เขียนแบบรูปรายการได้ 02141.06 79596
02141 จัดทำแบบรูปรายการ 1.7 อ่านแบบรูปรายการได้ 02141.07 79597
02142 จัดทำรายงานการเขียนแบบรูปรายการ 2.1 อธิบายเรื่องวงจรการบริหารงานคุณภาพได้ 02142.01 79598
02142 จัดทำรายงานการเขียนแบบรูปรายการ 2.2 อธิบายเรื่องการจัดทำวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานในแต่ละขั้นตอนของงานได้ 02142.02 79599
02142 จัดทำรายงานการเขียนแบบรูปรายการ 2.3 อธิบายเรื่องการจัดทำรายงานการเขียนแบบรูปรายการได้ 02142.03 79600
02142 จัดทำรายงานการเขียนแบบรูปรายการ 2.4 อธิบายเกี่ยวกับกำหนดกรอบเวลาส่งมอบงานได้ 02142.04 79601
02142 จัดทำรายงานการเขียนแบบรูปรายการ 2.5 อธิบายเกี่ยวกับการรับประกันผลงานให้เป็นไปตามข้อตกลงได้ 02142.05 79602

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ความสามารถในการจัดทำแบบรูปรายการให้ถูกต้องตามความต้องการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ. 2518

มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพพื้นที่สีเชียวโดยตรงเพราะกฎหมายฉบับดังกล่าวตราขึ้นเพื่อให้การวางและจัดทำผังเมืองรวมและการใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

มาตรา 26/1 การแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี เสนอคณะกรรมการผังเมืองพิจารณา เมื่อคณะกรรมการผังเมืองพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในเขตผังเมืองรวมได้รับทราบ และจัดให้มีการปิดประกาศ

แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมที่แก้ไขและรายละเอียดของการแก้ไขไว้ในที่เปิดเผย     ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสถาน ภายในเขตของผังเมืองรวมนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และในประกาศนั้นให้มีคำเชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่มีการปิดประกาศ

2. ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2558

มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ   การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 22 ผู้ใดขอแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป และไม่อาจแสดงให้เป็นที่เชื่อได้ว่ามิใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการจัดสรรที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินและรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน หากผู้ขอไม่เห็นด้วยให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับอุทธรณ์ ถ้าคณะกรรมการมิได้มีคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินนั้นต่อไป

เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นประการใดแล้ว ให้แจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือให้   ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา 23 ผู้ใดประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดินให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงาน ที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมหลักฐาน และรายละเอียดดังต่อไปนี้

(1) โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการ จัดสรรที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใด ๆ เว้นแต่บุริมสิทธิใน มูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

(2) ในกรณีที่ที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ หรือภาระการจำนอง ให้แสดงบันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรง บุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองและจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้ จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อ บริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว

(3) แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรรและเนื้อที่โดยประมาณของแต่ละแปลง

(4) โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการ สาธารณะ รวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น โดยแสดงแผนผัง รายละเอียด และรายการก่อสร้างประมาณการค่าก่อสร้าง และกำหนดเวลาที่จะจัดทำให้แล้วเสร็จ ในกรณีที่ได้มีการ ปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมดหรือ บางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดินให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้างที่ได้จัดทำ แล้วเสร็จนั้นด้วย

(5) แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค

(6) วิธีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและการชำระราคาหรือค่าตอบแทน

(7) ภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น

(8) แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร

(9) ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

(10) ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ

3. ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558

มาตรา 39 ทวิ ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ได้ โดยการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่คณะกรรมการควบคุมอาคารกำหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบดังกล่าว………………

(9) หนังสือแสดงการให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ในกรณีที่เป็นอาคารในโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แล้วแต่กรณี

มาตรา 46 ในกรณีที่อาคารซึ่งก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายโดยได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิตร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่ง ให้ดำเนินการแก้ไขตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และถ้าอาคารนั้นอาจเป็นภยันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่ง ให้รื้อถอนอาคารนั้นได้โดยให้นำมาตรา 42 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 77 ท้องที่ใดมีอาคารก่อสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้……………

(3) มีคำสั่ง ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินงานเพื่อขจัดหรือระงับเหตุที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ภายในกำหนดเวลา   ไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

4. ความรู้เรื่องประเภทของพื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2548ก) แบ่งประเภทพื้นที่สีเขียวออกเป็น 6 ประเภทได้แก่

4.1 พื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการและความงามทางภูมิทัศน์ ได้แก่ พื้นที่สีเขียวนันทนาการ พื้นที่สีเขียวภูมิทัศน์และพื้นที่สีเขียวส่วนบุคคล

4.2 พื้นที่สีเขียวอรรถประโยชน์ ได้แก่พื้นที่สีเขียวเพื่อการผลิต พื้นที่สีเขียวบริเวณสาธารณูปการ พื้นที่สถาบัน และโบราณสถานเป็นต้น

4.3 พื้นที่สีเขียวเพื่อการอนุรักษ์ ได้แก่พื้นที่ชุ่มน้ำและ พื้นที่ป่า

4.4 พื้นที่สีเขียวที่เป็นริ้วยาว ได้แก่ฝั่งแม่น้ำและลำคลอง ริ้วแนวทางเดิน และเขตทางเท้า-ริมเกาะกลางถนนในเมือง เป็นต้น

4.5 พื้นที่สีเขียวอื่น ๆ ได้แก่ ที่ดินว่างเปล่า (ไม่มีการพัฒนา) พื้นที่ย่านการค้ารกร้างและพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมรกร้าง เป็นต้น

4.6 พื้นที่สีเขียวพิเศษ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต และแหล่งเรียนรู้พืชพรรณธรรมชาติ 

5. ความรู้เรื่องวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) คือ กิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน (อาชีวะระงับโรค, 2547) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

5.1 P: Plan การวางแผน หมายถึง ทักษะในการกำหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์และสังเคราะห์หาวิธีการและกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ โดยจะต้องมีการกำหนดตัวบ่งชี้กำกับไว้เพื่อจะได้นำไปใช้ในการประเมินผลดำเนินการ

5.2 D:Do การดำเนินงาน หมายถึง ทักษะในการปฏิบัติตามแผน ตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก จะต้องมีการปรับแผนในระหว่างดำเนินการโดยมีคำอธิบายและเหตุผลประกอบ

5.3 C: Check การประเมินผล หมายถึง ทักษะในการรวบรวมข้อมูลของผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็นตัวบ่งชี้ที่สร้างไว้ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผนในขั้นตอนที่ 1 ในการประเมินนี้จะต้องพิจารณาในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของผลงานด้วย

5.4 A: Act การปรับปรุง หมายถึง กิจกรรมที่มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ทำการตรวจสอบแลว การปรับปรุงอาจเป็นการแกไขแบบเร่งดวน เฉพาะหนา หรือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อป้องกันไมให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิม การปรับปรุงอาจนำไปสูการกำหนดมาตรฐานของวิธีการทำงานที่ต่างจากเดิมเมื่อมีการดำเนินงาน

6. ความรู้เรื่องซอฟต์สเคป (Softscape) หมายถึง ส่วนประกอบทางธรรมชาติในงาน    ภูมิสถาปัตยกรรมหรือในสวน ได้แก่ ดิน บ่อน้ำ รวมทั้งพืชพรรณประเภทต่างๆ ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะของการออกแบบและการวางตำแหน่งลงในสวน ส่วนซอฟต์สเคป (Softscape) มักมีผิวหน้าเป็นดิน หญ้า หรือพืชคลุมดินซึ่งสามารถใช้ระบายน้ำได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งความเขียวของต้นไม้ยังมีส่วนช่วยให้อาคารข้างเคียงและพื้นที่ภายในสวนดูมีชีวิตชีวาน่าเข้าไปใช้งานมากขึ้น และยังช่วยลดความแข็งกระด้างของอาคารและส่วนของฮาร์ดสเคป (Hardscape) (SCG, 2559)

7. ความรู้เรื่องฮาร์ดสเคป (Hardscape) คือ ส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างในงานภูมิสถาปัตยกรรม หรือในสวน เช่น ลานนั่งเล่น ศาลา ทางเดิน ระเบียง ซุ้มประตู เป็นต้น โดยจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น คอนกรีต เหล็ก อิฐ คอนกรีตแสตมป์ หรือวัสดุจากธรรมชาติอย่าง หิน และกรวด เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากส่วนซอฟต์สเคป (Softscape) ที่อยู่คู่กันภายในสวน ซึ่งจะเลือกใช้ส่วนประกอบทางธรรมชาติ เช่น ดิน หรือต้นไม้ มาใช้ในการออกแบบและตกแต่งในการออกแบบฮาร์ดสเคป (Hardscape) ควรคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ที่เอื้อต่อการเป็นพื้นที่ใช้งานสำหรับทำกิจกรรมต่างๆหรือเป็นทางสัญจรที่เชื่อมต่อระหว่างสวนและอาคารให้มีความต่อเนื่องกัน รวมทั้งต้องเข้ากันได้ดีกับสภาพแวดล้อมโดยรอบทั้งแสงแดด ทิศทางลม หรืออาคารข้างเคียง และที่สำคัญจะต้องช่วยส่งเสริมตัวอาคารและส่วนซอฟต์สเคป (Softscape) ข้างเคียงให้ดูสวยงามมากขึ้นอีกด้วย (SCG, 2559)

8. ความรู้เรื่องประเภทของไม้ที่ใช้ในการจัดสวน หมายถึง ไม้ใหญ่ ไม้โชว์ต้น ไม้พุ่มกลาง   ไม้ดอก ไม้เลื้อย (อ่อนเรือง, 2549)

ไม้ใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไม้ที่ให้ดอก ให้ร่มเงา และไม้ที่ให้ผล ไม้ใหญ่ให้ดอกที่นิยม ได้แก่ ประดู่ ตะเบบูย่า นกยูง ปีป ตะแบก ราชพฤกษ์ ทองกวาว ชงโค ตีนเป็ด โมกมัน และสุพรรณิการ์   เป็นต้น ส่วนไม้ใหญ่ให้ผลที่นิยมจะมีมะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง ขนุน สาเก เป็นต้น

ไม้โชว์ต้น เป็นไม้ที่มีลำต้นรูปทรงสวยงาม สามารถใช้เป็นหลักในการจัดแต่งได้ เช่น      ไม้ประเภทปาล์ม ได้แก่ หมากแดง ตาลโตนด ปาล์มสิบสองปันนา

ไม้พุ่มกลาง สามารถใช้เป็นไม้หลัก หรือไม้รองได้ เพราะมีขนาดปานกลาง สูง 2-3 เมตร เช่น โมก นกยูงไทย ทองอุไร เข็มปัตตาเวีย ยี่เข่ง รัตมา หรือคลอเดียร์ เป็นต้น

ไม้ดอก คือต้นไม้ที่สวยงามสมบูรณ์ เมื่อมีดอก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ไม้ดอกและไม้ตัดดอก ไม้ดอกที่นิยมใช้ในการจัดสวน คือ ไม้ดอก ไม่ใช่ไม้ตัดดอก ไม้ดอกที่ดีควรมีสีสวยและมีกลิ่นหอม เช่น พวงทอง พังพวย ผกากรอง บานบุรี นีออน ช้องนาง เหลือคีรีบูร เป็นต้น

ไม้เลื้อย เป็นต้นไม้ที่ลำต้นทอดอ่อนไปตามหลัก หรือต้นไม้ข้างเคียง ไม่สามารถชูต้นได้เหมือนต้นไม้อื่นๆ ควรปลูกกับซุ้มไม้เลื้อย หรือรั้วบ้าน เช่น เล็บมือนาง บานบุรีเลื้อย ชมนาด รสสุคนธ์ พวงชมพู เฟื่องฟ้า กระเทียมเถาว์ เป็นต้น

9. ความรู้เรื่องการเลือกและจัดวางองค์ประกอบพรรณไม้ให้เหมาะสมกับสถานที่ความต้องการและประโยชน์ใช้สอยสมามารถเลือกใช้พืชพรรณที่หลากหลายร่วมกันตามคุณลักษณะพื้นที่ ถิ่นอาศัย ระบบนิเวศ การคงทน และสุนทรียภาพของพืชพรรณ (ศิริพานิช, 2554)

10. ความรู้เรื่องการเขียนแบบสั่งงานโดยใช้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับการเขียนแบบ ได้แก่ Auto Cad และ Sketch Up และมีความสามารถร่างแบบและเขียนแบบด้วยเครื่องมือเขียนแบบก่อสร้างได้ 

11. มีความสามารถในการอ่านแบบรูปรายการได้

12. ความรู้เรื่องการเขียนแบบและจัดทำรูปรายการ เพื่อทำให้สามารถทำงานร่วมกับภูมิสถาปนิก และผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพได้

13. ความรู้เรื่องงานเขียนแบบ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนหรือวาดเส้น รูปภาพสัญลักษณ์ และรายการประกอบแบบ ลงบนกระดาษเขียนแบบหรือคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้การสร้างหรือการซ่อมแซมชิ้นงานต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยแบบจะแสดงรายละเอียดหรือข้อกำหนดของงานที่ช่างหรือผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจตรงกันกับผู้ออกแบบ สามารถอ่านแบบได้ถูกต้องและปฏิบัติตามรูปแบบรายการที่กำหนดไว้ได้โดยลักษณะของแบบโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะ ได้แก่ รูปแปลนและ  รูปด้าน รูปตัดและรูปขยาย (ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด, 2553)

14. ความรู้เรื่องมาตราส่วนในงานเขียนแบบเป็นสัดส่วนของแบบกับชิ้นงานจริงซึ่งมี 3 ลักษณะ (ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด, 2553) ได้แก่

14.1 มาตราส่วนเท่าของจริง ใช้เมื่อชิ้นงานมีขนาดไม่ใหญ่และเล็กมาก และสามารถเขียนลงในแบบได้พอดี รวมถึงเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน

14.2 มาตราส่วนย่อ ใช้เมื่อต้องการย่อส่วนชิ้นงานที่ใหญ่จนไม่สามารถเขียนลงในแบบได้

14.3 มาตราส่วนขยาย ใช้เมื่อต้องการขยายส่วนชิ้นงานที่เล็กจนไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดปลีกย่อยได้

15. ความรู้เรื่องภาพในงานเขียนแบบเป็นภาพสามมิติ ประกอบด้วยแกนของภาพ 3 แกน ได้แก่ ความกว้าง ความยาว และความสูง ทำมุมซึ่งกันและกันให้เห็นในลักษณะคล้ายรูปทรงชิ้นงานจริง โดยผู้อ่านแบบจะมองเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย (ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด, 2553) ภาพสามมิติที่นิยมใช้งานมีดังนี้

15.1 ภาพออบลิค (Oblique) เป็นภาพสามมิติที่ต้องมองเห็นด้านหน้าของวัตถุ   ซึ่งโครงสร้างประกอบไปด้วย เส้นแนวนอน เส้นแนวดิ่ง และเส้นเอียง 45 องศา หลักในการเขียนภาพออบลิค มีดังนี้

1) เขียนภาพด้านหน้าของวัตถุตามมาตรส่วน โดยไม่ให้เกิดความบิดเบี้ยว

2) ด้านข้าง และ ด้านบน เขียนโดยทำมุม 45 องศา กับแกนนอน

3) ความยาวของด้านที่เขียนตามแกนทำมุม 45 องศา จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของ

อีกด้าน เพื่อให้ดูเหมือนของจริงมากขึ้น

15.2 ภาพไอโซเมตริก (Isometric) เป็นภาพสามมิติที่เส้นแนวตั้งจะแสดงด้านตั้งของวัตถุ ส่วนแนวนอนใช้เส้นที่ทำมุม 30 องศา กับแกนนอน และเส้นทุกเส้นในภาพจะใช้มาตราส่วนเดียวกัน หลักการเขียนภาพไอโซเมตริก มีดังนี้

1) เขียนภาพฉายเพื่อให้ทราบความยาวและความกว้างจากภาพด้านบน ความยาว

และความสูงจากภาพด้านหน้า และความกว้างหรือความหนาและความสูงจากภาพด้านข้าง

2) เขียนวัตถุรูปแบบกล่องสี่เหลี่ยมที่ประกอบด้วยแกนสามแกนทำมุมกัน 120 องศา แกนแรกเขียนในแนวดิ่งและแกนที่เหลือสองแกนเขียนไปทางซ้ายและทางขวา โดยทำมุม 30 องศา กับเส้นแนวนอน

15.3 ภาพเพอร์สเปกทีฟ (Perspective) หรือภาพทัศนียภาพ เป็นภาพสามมิติ   ที่มองจากระยะไกล มีลักษณะการมองเส้นฉายไม่ขนานกัน และมีจุดรวมของสายตาจุดหนึ่ง โดยลักษณะของเส้นฉายจะไปสิ้นสุดที่ระยะขนาดของวัตถุนั้น เป็นภาพเหมือนจริงมากที่สุด เมื่อมองจนสุดสายตา หลักในการเขียนภาพเพอร์สเปกทีฟ มีดังนี้

1) ร่างกรอบของวัตถุที่จะวาดก่อน

2) ร่างรูปทรงพื้นฐานของวัตถุให้อยู่ภายในกรอบ

3) เพิ่มเติมรายละเอียดในภาพร่างและเติมความเข้มของเส้นต่าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

แฟ้มสะสมผลงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน โดยต้องมีประสบการณการทำงานในด้านการเขียนแบบและจัดทำรูปรายการ หรือสายงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ

2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการเขียนแบบและจัดทำรูปรายการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ

3. หนังสือรับรองการผ่านคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาอาชีพนักออกแบบพื้นที่สีเขียว ชั้น 3 แลว และมีประสบการณ์หลังจากผ่านคุณวุฒิวิชาชีพชั้น 3 มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

(ค) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบและจัดทำรูปรายการ

2. ผู้เข้ารับการประเมินรู้วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกระบวนการทำงานเพื่อเขียนแบบและจัดทำรูปรายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้

2. การสอบปฏิบัติ

3. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอธิบายพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบ 

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายเกี่ยวกับประเภทของพื้นที่สีเขียว 

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายเกี่ยวกับวงจรการบริหารงานคุณภาพ

4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบที่เป็นซอฟต์สเคป และฮาร์ดสเคป

5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายเกี่ยวกับประเภทของพรรณไม้ที่ใช้ในการจัดสวน

6. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับออกแบบรูปรายการ 

7. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายเกี่ยวกับงานเขียนแบบ 

8. การปฏิบัติงานไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่สภาวิชาชีพควบคุม 

9. ผู้เข้ารับการประเมินไม่สามารถได้รับใบรับรองจากสภาวิชาชีพจากการประเมินนี้

10. การผ่านการประเมินสมรรถนะวิชาชีพนักออกแบบพื้นที่สีเขียว ไม่สามารถนำไปเสนอเพื่อขอการรับรองใบอนุญาตประกอบวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมควบคุมจากสภาวิชาชีพได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 (แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558) มาตรา 26/1 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2)     พ.ศ. 2558 หมวด 2 การขออนุญาตจัดสรรที่ดินมาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ. 2518 ซึ่งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ 0214 ข้อ 13(ข)

2. ประเภทของพื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2548ก) ซึ่งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ 0214 ข้อ 13(ข)

3. ความหมายและองค์ประกอบของวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ซึ่งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ 0214 ข้อ 13(ข)

4. คำจำกัดความและองค์ประกอบของซอฟต์สเคป (Softscape) ซึ่งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ 0214 ข้อ 13(ข)

5. คำจำกัดความและองค์ประกอบของฮาร์ดสเคป (Hardscape) ซึ่งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ 0214 ข้อ 13(ข)

6. ประเภทของไม้ที่ใช้ในการจัดสวนที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ซึ่งอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ 0214 ข้อ 13(ข)

7.เขียนแบบสั่งงานโดยใช้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับการเขียนแบบ ได้แก่ Auto Cad และSketch Up และมีความสามารถร่างแบบและเขียนแบบด้วยเครื่องมือเขียนแบบก่อสร้างได้ และความสามารถในการอ่านแบบรูปรายการได้

8. คำจำกัดความเรื่องการเขียนแบบ มาตราส่วนในงานเขียนแบบและภาพในงานเขียนแบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

- การสอบปฏิบัติ

- แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ