หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบงานระบบสาธารณูปโภค

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-5-035ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบงานระบบสาธารณูปโภค

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์

ISCO-08 รหัสอาชีพ 6162 นักภูมิสถาปัตย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความเข้าใจในรูปแบบและรายการ สามารถอ่านรูปแบบและรายการ     ในส่วนของงานระบบสาธารณูปโภค มีความสามารถในการตรวจสอบและทดสอบผลงานระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย ระบบน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบงานควบคุมไฟฟ้า ที่ถูกต้องครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02281 ทดสอบงานระบบน้ำ 1.1 ระบุรายละเอียดการตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์ระบบน้ำให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ 02281.01 79672
02281 ทดสอบงานระบบน้ำ 1.2. อธิบายวิธีการตรวจสอบและรายละเอียดรายการตรวจในงานระบบน้ำ 02281.02 79673
02281 ทดสอบงานระบบน้ำ 1.3 ระบุขั้นตอนการทดสอบงานระบบน้ำ 02281.03 79674
02282 ทดสอบงานระบบระบายน้ำ 2.1 ระบุรายละเอียดการตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์ระบบระบายน้ำให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ 02282.01 79675
02282 ทดสอบงานระบบระบายน้ำ 2.2 อธิบายวิธีการตรวจสอบและรายละเอียดรายการตรวจในงานระบบระบายน้ำ 02282.02 79676
02282 ทดสอบงานระบบระบายน้ำ 2.3 ระบุขั้นตอนการทดสอบงานระบบระบายน้ำ 02282.03 79677
02283 ทดสอบระบบไฟฟ้า 3.1 ระบุรายละเอียดการตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ 02283.01 79678
02283 ทดสอบระบบไฟฟ้า 3.2 อธิบายวิธีการตรวจสอบและรายละเอียดรายการตรวจในงานติดตั้งระบบไฟฟ้า 02283.02 79679
02283 ทดสอบระบบไฟฟ้า 3.3 ระบุขั้นตอนการทดสอบงานระบบไฟฟ้า 02283.03 79680
02284 ทดสอบงานควบคุมไฟฟ้า 4.1 ระบุรายละเอียดการตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์งานควบคุมไฟฟ้าให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ 02284.01 79681
02284 ทดสอบงานควบคุมไฟฟ้า 4.2 อธิบายวิธีการตรวจสอบและรายละเอียดรายการตรวจในงานควบคุมไฟฟ้า 02284.02 79682
02284 ทดสอบงานควบคุมไฟฟ้า 4.3 ระบุขั้นตอนการทดสอบงานควบคุมไฟฟ้า 02284.03 79683

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

สามารถเข้าใจถึงรูปแบบและรายการ, ทำการปฏิบัติการตรวจสอบผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รายการตรวจสอบงานระบบน้ำ ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ

2. รายการตรวจสอบงานระบบระบายน้ำ ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ

3. รายการตรวจสอบงานระบบไฟฟ้า ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ

4. รายการตรวจสอบงานควบคุมไฟฟ้า ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

        2. เอกสารรับรองผลจากการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

        3. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบและรายการ ทักษะ และความเข้าใจในการปฏิบัติงานจริงและการแก้ปัญหาในการสร้างงานได้ โดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน หลักฐานจากแบบทดสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์ในสมรรถนะนี้ ครอบคลุมการตรวจสอบผลงาน ในสายงานด้านพรรณไม้ ด้านโครงสร้างตกแต่ง และด้านระบบสาธารณูปโภค

    (ก) คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและรายการ

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะความสามารถในการตรวจสอบผลงาน

        3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และเข้าใจในปัญหาของงานและสามารถแก้ปัญหาได้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

            ข1รายการตรวจสอบงานระบบน้ำ ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการมีรายละเอียดดังนี้

1) ตรวจสอบตำแหน่งและแนวการวางท่อ

2) ตรวจสอบวัสดุและคุณภาพของท่อและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งาน

3) ตรวจสอบการขุดร่องดินวางท่อให้ได้ตามขนาดและความลึก

4) ตรวจสอบการใช้วัสดุรองพื้นร่องดินวางท่อ

5) ตรวจสอบระดับและแนวการวางท่อ

6) ตรวจสอบการใช้วัสดุ การกลบทับท่อ การบดอัด

7) ตรวจสอบคุณภาพงานติดตั้งและการประกอบท่อ

8) ตรวจสอบงานก่อสร้าง โครงสร้างรับบ่อ แท่นรับท่อ และอื่นๆ ที่จำเป็นในงานระบบน้ำ

9) ตรวจสอบการทดสอบแรงดันในท่อทุกขั้นตอน

10) ตรวจสอบการติดตั้งจุดบรรจบประสานท่อต่างๆ

11) ตรวจสอบการเชื่อมต่อท่อจ่ายน้ำเข้ากับปั๊มน้ำ

12) ทดสอบการจ่ายน้ำ การรั่วซึมจากการแตกร้าว

ข2 รายการตรวจสอบงานระบบระบายน้ำ ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการมีรายละเอียดดังนี้

1) ตรวจสอบแนวท่อระบายน้ำ ตรวจสอบระดับของท่อระบายน้ำ

2) ตรวจสอบตำแหน่ง ขนาด และจำนวนท่อที่ใช้ลอดพื้นคอนกรีตของแต่ละวัน

3) ตรวจสอบระดับและแนวลาดเอียงของงานขุดดิน ทราย รองพื้น และคอนกรีตหยาบทุกระยะ 50 เมตร

4) วางท่อต้องให้ได้แนวพร้อมกับต้องมีการยาต่อท่อ

5) การกลบข้างท่อ และหลังท่อ พร้อมกับตรวจสอบความหนาแน่น

6) งานบ่อพักน้ำ ตำแหน่ง และระดับของบ่อพักพร้อมชนิดฝาปิดบ่อพัก

7) ตรวจสอบ ขนาด ความลึก การฝังเหล็กฉากที่ฝารับ ฝาปิดบ่อพักน้ำ

8) ตรวจสอบ ขนาด ชนิด ประเภทของท่อที่ใช้ เช่น ลอดถนนกับไม่ลอดถนน ท่อจะต่างชนิด และต่างประเภทกัน

9) ตรวจสอบ รอยราว หรือข้อเสียอื่นๆ เช่น บิดงอไม่ได้ฉาก อาจเนื่องจากการถอดแบบก่อน เวลาเพื่อผลิตให้ทันเวลา

10) ตรวจสอบงานตอกเสาเข็ม ขนาด ระยะการตอก ระดับการส่งหัวเข็ม

11) ตรวจสอบจุดบรรจบของท่อระบายน้ำกับทางระบายน้ำสาธารณะของหน่วยราชการ มีระดับ ลาดเอียงที่สามารถระบายน้ำออกจากโครงการ ไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ โดยน้ำจะไม่ไหลย้อนกลับเข้าโครงการ

12) ถ้ามีการติดตั้งปั๊มเพื่อสูบน้ำในบ่อพัก ควรตรวจสอบขนาดของปั๊มและกำลังส่งไฟฟ้าที่จะใช้ด้วย

13) กรณีเป็นรางระบายน้ำจะต้องมีฝาตะแกรงหรือฝาปูน    ตรวจสอบดูว่าจะต้องเป็นส่วนที่ของหนักตัดผ่านบ่อยครั้งหรือไม่ การรับน้ำหนักของฝารางนั้นจะรับน้ำหนักได้หรือไม่

14) ตรวจสอบระยะหางของบ่อพัก

15) ตรวจสอบวิธีการดักเศษขยะที่บ่อพัก และระดับแตกต่างระหว่างก้นท่อระบายน้ำกับก้นบ่อพัก

ข3 รายการตรวจสอบงานระบบไฟฟ้า ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการมีรายละเอียดดังนี้

            ข3.1 รายการควบคุมและตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแบบเดินลอย มีดังนี้

                1) ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ให้ถูกต้องก่อนอนุญาตให้ติดตั้ง

2) ควบคุมและตรวจสอบวงจรให้ถูกต้องก่อนอนุญาตให้ติดอุปกรณ์ยึดรั้ง

3) ควบคุมและตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ยึดสายไฟฟ้า เช่น เข็มขัดรัดสายไฟฟ้าให้ได้แนวตรงและถูกต้องตามแบบ

4) ควบคุมและตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือตามที่ระบุไว้ในแบบ

5) ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟฟ้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

6) ควบคุมและตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกตำแหน่งและอยู่ในสภาพมั่นคง

7) ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อต่างๆต้องปลอดภัยและมีระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

8) ทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพการใช้งาน

ข3.2 รายการควบคุมและตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแบบเดินฝังในผนัง โดยมีรายการตรวจสอบรางและท่อร้อยสายไฟฟ้า ดังนี้

1) ตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์ตามที่กำหนด

2) ชนิดของท่อน้ำ เป็นแบบชนิดบางหรือหนาให้ตรงตามมาตรฐาน ข้อกำหนดของผู้ออกแบบตามที่กำหนด

3) ตรวจสอบวัสดุที่ใช้เคลือบภายในของท่อน้ำ

4) ตรวจสอบดูภายในท่อน้ำ มีตะเข็บมากน้อยเพียงใดจะเป็นอันตรายต่อสายหรือไม่

5) ตรวจสอบฝีมือการทำงาน

6) การดัดท่อจะต้องไม่บุบ หรือบี้แบน

7) การตัดท่อ จะต้องคว้านตรงรอยตัดไม่ให้มีความคม

8) การทำข้อต่อท่อ จะต้องแนบสนิทกับผิวโครงสร้างเพื่อหลบคานหรือเสา หรือเพดานคนละระดับ

9) การฝังท่อน้ำ จะต้องโผล่ให้เห็นเฉพาะส่วนที่เป็นแนวตรงและตั้งฉากกับผิวโครงสร้าง

10) การยึดท่อกับโครงสร้าง ท่อจะต้องแข็งแรงไม่ขยับเขยื้อนได้ในขณะที่ดึงสายไฟ

11) การต่อท่อ จะต้องยึดกับโครงสร้างให้แน่นและต้องใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม เช่น ใช้อุปกรณ์แบบกันน้ำสำหรับภายนอกอาคาร หรือในส่วนที่น้ำจะเข้าได้

12) การใช้เครื่องมือจะต้องให้เหมาะสมและถูกต้องตามขนาดและชนิด   ของท่อ

13) ท่อน้ำที่เดินเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำความสะอาดก่อนเดินสายไฟ

14) การเดินสายไฟ จะต้องระมัดระวังไม่ให้ฉนวนของสายไฟเสีย เนื่องจากการดึงที่แรงเกินไป(สาเหตุเนื่องจาก ช่วงยาวเกินไป โค้งหลายจุด หรือจำนวนสายมากกว่าข้อกำหนด)

15) ก่อนดึงสายไฟ จะต้องตรวจสอบตำแหน่งของตู้เชื่อมต่อ ต้องอยู่ในที่เหมาะสม

16) ต้องตรวจสอบท่อน้ำ หลังจากเดินสายไฟแล้ว ท่อน้ำจะต้องไม่หลุดตามข้อต่อ 

17) พยายามหลีกเลี่ยงการต่อท่อต่างชนิดกัน เช่น ท่อบางต่อกับท่อหนา หรือท่อเหล็กกับท่อพลาสติก

18) ในกรณีที่จะต้องเดินสายไฟไปยังห้องที่มีแก๊สหรือน้ำมัน หรือห้องที่มีอันตรายจากประกายไฟจะต้องใช้อุปกรณ์แบบกันระเบิดที่มีตราประทับด้วย เรียบร้อย และผ่านการรับรองจากสถาบันตรวจมาตรฐานเช่น U.L.

19) ตรวจสอบขนาดและทิศทางการเดินท่อให้สัมพันธ์กับโครงสร้างและงานระบบอื่นๆ

20) ตรวจจำนวนการตัดโค้งงอของท่อไม่ให้เกินที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน

21) ทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพการใช้งาน

ข3.3 รายการตรวจสอบ อุปกรณ์ดวงโคม ปลั๊กไฟฟ้า สวิตซ์ มีดังนี้

1) ตรวจบริษัทผู้ผลิตและตัวอย่างให้ตรงตามที่อนุมัติ

2) ตรวจสอบชนิดและขนาดของอุปกรณ์

3) ตรวจสอบความเสียหายอันเนื่องมาจากขนส่งหรือติดตั้ง

4) ตรวจสอบวิธีการยึดอุปกรณ์เกี่ยวกับความแข็งแรงและตำแหน่งที่ตั้ง

5) ทดสอบกระแสไฟฟ้าแสงสว่าง ปลั๊ก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องมีกระแสไฟมาเลี้ยงด้วยมิเตอร์วัดกระแสไฟก่อนติดตั้งอุปกรณ์

6) ทดสอบการเปิดปิดไฟแสงสว่าง ปลั๊ก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องมีกระแสไฟมาเลี้ยง

7) ตรวจสอบการเก็บความเรียบร้อยของผิวอาคาร เช่น ผนัง พื้น ที่มีการฝังท่อและบล็อกไฟ

8) ตรวจสอบฝาครอบสวิตซ์และปลั๊กไฟให้อยู่ในสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อย

ข4 รายการตรวจสอบงานควบคุมไฟฟ้า ให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการมีรายละเอียดดังนี้

            ข4.1 รายการตรวจสอบแผงเมนสวิทซ์บอร์ด มีดังนี้

1) ตรวจสอบขนาดและน้ำหนักของแผงว่าเหมาะสมกับบริเวณที่ตั้งอย่างไร

2) ตรวจสอบเนื้อที่ที่ในการซ่อมบำรุงรักษาภายหลัง

3) ตรวจสอบขนาดของแผ่นเหล็ก

4) ตรวจสอบความเรียบร้อยและความสวยงามในการประกอบ

5) ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในแผง เช่น เครื่องเจาะรูว่าถูกต้องและจำนวนครบหรือไม่

ข4.2 รายการตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองและแผงควบคุม มีดังนี้

1) ตรวจสอบชื่อผลิตภัณฑ์และแบบให้ตรงตามที่อนุมัติ

2) ตรวจสอบขนาดและน้ำหนักของเครื่องและแผงควบคุม

3) ตรวจสอบชนิดและกำลังของเครื่องผลิต

4) ตรวจสอบแนวทางการนำอุปกรณ์เข้าติดตั้งที่แท่น

5) ตรวจสอบการระบายอากาศในห้องติดตั้ง

6) ตรวจสอบแนวทางเดินของท่อระบายไอเสีย

7) ตรวจสอบการบุวัสดุกันเสียงและติดตั้งอุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือน(ถ้ามี)

8) การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องในการใช้งานต่ำ 50% ,75% การบรรจุให้เต็ม (หรือตามระบุที่กำหนดไว้)

9) ตรวจสอบการทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อกระแสไฟฟ้าดับ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 การสอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ