หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประสานงานกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-3-001ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประสานงานกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านกฎหมายการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 3


1 2619 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นบุคคลที่สามารถประสานงานในการปฏิบัติตามกฎหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวและบุคคลที่ปฏิบัติงานในอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานเชิงระบบ สามารถปฏิบัติงานด้านการประสานงานควบคู่กับการใช้คู่มือและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การแนะนำของผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2619 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111 ติดต่อกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว 1.1 อธิบายถึงกฎหมายพื้นที่สีเขียว 01111.01 79301
01111 ติดต่อกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว 1.2 ระบุหน่วยงานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สีเขียว 01111.02 79302
01111 ติดต่อกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว 1.3 จำแนกขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียวของหน่วยงานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สีเขียว 01111.03 79303
01111 ติดต่อกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว 1.4 ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของการประสานงานที่ดี 01111.04 79304
01111 ติดต่อกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว 1.5 ประยุกต์ใช้ทักษะการประสานงานเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทางกฎหมายพื้นที่สีเขียว 01111.05 79305
01112 รายงานผลการปฏิบัติงาน 2.1 อธิบายถึงรูปแบบของรายงานการปฏิบัติงาน 01112.01 79306
01112 รายงานผลการปฏิบัติงาน 2.2 ระบุรายละเอียดของรายงานการปฏิบัติงาน 01112.02 79307
01112 รายงานผลการปฏิบัติงาน 2.3 ประยุกต์ใช้รายงานการปฏิบัติงานนำมาจัดทำรายงานการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทางกฎหมาย 01112.03 79308

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความสามารถในการประสานงานกฎหมายพื้นที่สีเขียว

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ตามขอบเขตของกฎหมายพื้นที่สีเขียว มีดังนี้

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 

  2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 

3. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 

4. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 

5. พระราชบัญญัติขุดดินถมดิน พ.ศ.2543 

6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 

7. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

8. พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511

9. พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 

10. พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503  

11. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535  

12. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พุทธศักราช 2497 

13. พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. 2510 

14. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 

15. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค. พ.ศ. 2522 

16. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2550  

17. พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551

18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  

19. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

20. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2535


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน โดยมีประสบการณการทำงานในด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียว กฎหมายสิ่งแวดล้อมหรือสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี หรือ

          2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับกฎหมายพื้นที่สีเขียว กฎหมายสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพื้นที่สีเขียว กฎหมายสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ

2. ผู้เข้ารับการประเมินรู้วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมินรู้วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบแบบอัตนัย

2. การสอบสัมภาษณ์

3. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก) คำแนะนำ

          ศึกษาความรู้ด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียวตามขอบเขตสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        (ข1) ความรู้ด้านกฎหมายพื้นที่สีเขียว

       1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 

          ได้วางหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญใน 5 หมวด ได้แก่ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด 8 คณะรัฐมนตรี และหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ โดยที่ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชน   ชาวไทย คือ มาตรา 37 บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลา   อันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มี 4 มาตราที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย      1) มาตรา 43 บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ ในข้อ (2) จัดการบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ 2) มาตรา 50 บุคคลมีหน้าที่ ในข้อ (8) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม 3) มาตรา 57 รัฐต้อง (2) อนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการ และได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ และ 4) มาตรา 58 การดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ   ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือ  ส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการดำเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่งในการดำเนินการหรืออนุญาตตาม   วรรคหนึ่ง รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด และต้องดำเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชนหรือชุมชน  ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า

        หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ได้แก่ มาตรา 72 รัฐพึงดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากรน้ำ และพลังงาน ดังต่อไปนี้

          (1) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดิน ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          (2) จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

          (3) จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทํากินได้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม

          (4) จัดให้มีทรัพยากรน้ำที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน รวมทั้ง การประกอบเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอื่น และ (5) ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รวมทั้งพัฒนาและสนับสนุน ให้มีการผลิตและการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน

          หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่างๆ ให้เกิดผล มี 2 ด้าน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1) ฉ.ด้านเศรษฐกิจ ในข้อ (4) สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์และผู้ประกอบการแต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสมและส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างกลไกเพิ่มโอกาสในการทำงานและการประกอบอาชีพของประชาชน และ 2) ช.ด้านอื่นๆ ในข้อ (3) จัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้

       2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 

              โดยมีสาระสำคัญดังนี้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2535 โดยยกเลิกฉบับเก่าซึ่งมีใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2522 และใช้หลักว่าบุคคลที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อการขจัดมลพิษนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รักษาการ     ตาม พ.ร.บ. นี้

          โครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น 7 หมวด คือ

             1. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้นประกอบด้วยรัฐมนตรี 10 ท่าน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีเจ้าหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชนส่วนหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและดำเนินการวางแผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้เป็นไปตามกฎหมาย

             2. กองทุนสิ่งแวดล้อม จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมขึ้นในกระทรวงการคลังโดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกองทุนตามคำแนะนำของคณะกรรมการกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการให้รัฐและเอกชนกู้ยืมหรือเป็นเงินช่วยเหลือในกิจการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย

             3. การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การประกาศเขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ปฏิบัติการ

             4. การควบคุมมลพิษ ให้จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมมลพิษ โดยมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน เพี่อเสนอแผนปฏิบัติการป้องกันหรือแก้ไขอันตรายจากมลพิษ รวมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด ประกาศเขตควบคุมมลพิษ มลพิษทางอากาศและเสียง มลพิษทางน้ำ มลพิษอื่นๆ และของเสียอันตราย การตรวจสอบและควบคุม ค่าบริการและค่าปรับ ทั้งยังกำหนดให้     เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษมีหน้าที่ควบคุมตรวจสอบ สั่งปรับปรุงและให้คำแนะนำต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติการจดทะเบียนผู้รับจ้างเป็นผู้ควบคุมหรือรับจ้างให้บริการ บำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย

ประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อควบคุม ป้องกัน ลด หรือขจัดมลพิษเสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้มีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ป้องกัน ลด หรือขจัดมลพิษต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

หากปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้

             5. มาตรการส่งเสริม ต่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางด้านอากรขาเข้าของเครื่องจักรอุปกรณ์ การขอนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ โดยยื่นขอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

             6. ความรับผิดทางแพ่ง กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ มีหน้าที่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่ตนเองก่อขึ้น

             7. ทบกำหนดโทษ ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อาจถูกจำคุกตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 5 ปี หรือปรับ  ไม่เกิน 5,000 ถึง 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับแล้วแต่มาตรการที่ฝ่าฝืน

             โครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีดังนี้

                - เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ตั้งแต่ 100,000,000 ลบ.ม.ขึ้นไป หรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

                - อุตสาหกรรมผลิตถ่านโค้ก

                - โครงการระบบขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ

                - อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

                - อุตสาหกรรมแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ

                - อุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์

                - โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป

                - การถมที่ดินในทะเล

                - กรมชลประทาน ที่มีพื้นที่การชลประทานตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป

             8. องค์กรเอกชนที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 7 แล้ว อาจได้รับการช่วยเหลือหรือได้รับการสนับสนุนจากทางราชการในเรื่อง ดังต่อไปนี้

                1. การจัดให้มีอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตาม พระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                2. การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข้อมูลหรือข่าวสาร เพื่อสร้างจิตสำนึกของสาธารณชนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

                3. การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้น

                4. การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเสนอแนะความคิดเห็นต่อรัฐบาลหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

                5. การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษอันเกิดจากการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษ รวมทั้งเป็นผู้แทนในคดีที่มีการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับอันตรายหรือ ความเสียหายนั้นด้วย

                ในกรณีที่องค์กรเอกชนที่ได้จดทะเบียนประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง และร้องขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติช่วยเหลือ ให้นายกรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจสั่งให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมหรือสั่งให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกต่อไป

       3. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 

             หลักการของกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อ

             1. กำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย (อาคารควบคุมและโรงงานควบคุม) มีการอนุรักษ์พลังงานด้วยการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด

             2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานขึ้นภายในประเทศและมีการใช้อย่างแพร่หลาย

             3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อส่งเสริม  การอนุรักษ์พลังงาน” เพื่อใช้เป็นกลไกในการให้การอุดหนุนช่วยเหลือทางการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน

                กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารตามมาตรา 17 ได้แก่ การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

                1. การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร

                2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคารที่อยู่ระดับที่เหมาะสม

                3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้นๆ

                4. การใช้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ

                5. การใช้และการติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร

                6. การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์

                7. การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

                การกำหนดประเภทกิจกรรมที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานในอาคารดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้ ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนผู้ปฏิบัติและผู้กำกับดูแลมีความเข้าใจชัดเจนตรงกันว่าการดำเนินการอย่างใด  ที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายนี้

          กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลืออุดหนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

       4. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 

          มีใจความสรุปโดยเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบทลงโทษและอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นเหตุให้การดำเนิน การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในมาตรา 4 หมวด 1 การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ มาตรา 6 ถึงมาตรา 25, หมวด 2 การดูแลรักษาสนามหญ้าและต้นไม้ในถนนและสถานสาธารณะ มาตรา 26 ถึงมาตรา 28 และหมวด 4 การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย มาตรา 35 ถึง มาตรา 41

       5. พระราชบัญญัติขุดดินถมดิน พ.ศ.2543 โดยหลักการของพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ.2543 มีดังนี้ 

             1. เป็นพระราชบัญญัติที่คุ้มครองประชาชนด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากผู้ดำเนินการดังกล่าว

             2. พระราชบัญญัตินี้มีลักษณะการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่น กล่าวคือราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออกข้อกำหนด หรือข้อบัญญัติของท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้บังคับในเขตท้องถิ่นนั้นได้ และให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการควบคุมดูแลโดยการออกคำสั่งให้แก้ไขปรับปรุงการรับแจ้งหรือไม่รับแจ้ง การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการรับแจ้ง รวมทั้งเปรียบเทียบคดี เป็นต้น ทั้งนี้โดยถือว่าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรปกครองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งน่าจะปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

             3. เพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติได้อย่างมีประสิทธิภาพกฎหมายจึงได้กำหนดให้มีเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจตรวจตราผู้ดำเนินการขุดดิน ถมดินให้คำแนะนำในการปรับปรุง แก้ไขการดำเนินการผู้ประกอบการ ระหว่างการดำเนินการ

             4. ดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติของราชการส่วนท้องถิ่น โดยเสนอแนะแผนงานนโยบายและมาตรการเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งเสนอออกกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย

             5. พระราชบัญญัตินี้ ให้สิทธิแก่ประชาชนหรือผู้ประกอบการที่ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเห็นว่าไม่เป็นธรรมหรือไม่ถูกต้องมีสิทธิที่ยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือคณะกรรมการ การขุดดินและถมดิน กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกคำสั่ง ได้แล้วแต่กรณี

             โครงร่างเนื้อหาของพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ตามตัวบทของพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ได้แบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ ดังนี้

             หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง คณะกรรมการ การขุดดินและถมดิน

             หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการขุดดิน

             หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการถมดิน

             หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่

             หมวดที่ 5 ว่าด้วยเรื่องการอุทธรณ์

             หมวดที่ 6 บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

             สาระสำคัญของกฎหมายซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงเนื้อหาสาระสำคัญทั้งหมดของพระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน พ.ศ.2543 เราสามารถอาจแบ่งเนื้อหาทางกฎหมายออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

             1. หน่วยงาน องค์กร และเจ้าพนักงานของรัฐ กับอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ

             2. มาตรการ ควบคุม กำกับดูแล การประกอบธุรกิจการขุดดินหรือ ถมดิน

             3. การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงาน

             4. มาตรการลงโทษและบทเฉพาะกาล

             หน่วยงาน องค์การ เจ้าพนักงานของรัฐ กับอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสำหรับโครงสร้าง   การบังคับใช้อำนาจขององค์กร ส่วนราชการต่างและบุคคลทั้งในส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นของพระราชบัญญัติ การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ได้บัญญัติไว้ให้มีลักษณะที่ประสานสอดคล้องกัน ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีการกระจายอำนาจในการควบคุมกำกับดูแล ให้เป็นไป ตามกฎหมาย โดยในระดับท้องถิ่นจะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแล กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นเองในส่วนกลางและภูมิภาคจะมีหน้าที่กำกับดูแลกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการปฏิบัติไว้ และเพื่อเป็นหลักแนวทางปฏิบัติสำหรับส่วนราชการท้องถิ่นไว้ และเข้าใจในสาระสำคัญของกฎหมายนี้คือการกำหนดให้มีการจัดทำผังเมืองและกำหนดประเภทการใช้ที่ดินขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ

             (1) เพื่อทำให้ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

             (2) เพื่อสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมืองขึ้นใหม่หรือแทนเมืองหรือส่วนของเมือง    ที่ได้รับความเสียหายเพื่อให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะ ความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม

             (3) เพื่อส่งเสริมการเศรษฐกิจสังคม และสภาพแวดล้อม

             (4) เพื่อดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี

             (5) เพื่อบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศที่งดงาม หรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ โดยผังเมืองนั้นต้องแสดงวัตถุประสงค์ในการทำผัง การใช้ประโยชน์ในที่ดินในเขตผังเมือง ที่โล่ง ระบบโทรคมนาคม และระบบสาธารณูปโภค ในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมและกำหนดประเภทการใช้ที่ดินแล้ว บุคคลใดจะใช้ประโยชน์ที่ดิน ผิดไปจากที่กำหนดไว้ในผังเมืองหรือปฏิบัติการใดๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองไม่ได้ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่ง      หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ. 2518 มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพพื้นที่สีเชียวโดยตรงเพราะกฎหมายฉบับดังกล่าวตราขึ้นเพื่อให้การวางและจัดทำผังเมืองรวม  และการใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

             มาตรา 26/1 การแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี เสนอคณะกรรมการผังเมืองพิจารณา เมื่อคณะกรรมการผังเมืองพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในเขตผังเมืองรวมได้รับทราบ และจัดให้มีการปิดประกาศ

             แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมที่แก้ไขและรายละเอียดของการแก้ไขไว้ในที่เปิดเผย     ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสถาน ภายในเขตของผังเมืองรวมนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และในประกาศนั้นให้มีคำเชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่มีการปิดประกาศ

       6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

          มีใจความโดยสรุปดังนี้ มาตรา 4 ถึงมาตรา 13 ตรี และมาตรา 21 ถึงมาตรา 47       ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมการก่อสร้างอาคาร โดยมาตรา 8(7) ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารในการออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร เช่น รูปแบบและลักษณะของอาคาร การรับน้ำหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคาร ระบบต่างๆ รวมทั้งการใช้พื้นที่เป็นที่ก่อสร้างอาคาร    ที่จอดรถ และ “ที่ว่าง” ภายนอกอาคารซึ่งต้องไม่มีหลังคาปกคลุม ซึ่งที่ว่างนี้จะใช้เป็นที่ปลูกต้นไม้ บ่อน้ำ หรือที่จอดรถก็ได้ โดยมีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้อาคารประเภทต่างๆ ต้องมีที่ว่างตามอัตราส่วนที่กำหนด นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ    ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดให้อาคารแต่ละประเภทต้องมีที่ว่างตามอัตราส่วนที่กำหนดด้วย เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 เป็นต้น

             “อาคารสูง” หมายถึง อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป

             “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า

             (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล

             (2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

             (3) ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

             (4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

             (5) นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

             (6) ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

             มาตรา 20 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคารขึ้นในกรมโยธาธิการและผังเมือง มีหน้าที่ดังนี้

                 (1) ปฏิบัติงานธุรการและงานวิชาการให้แก่คณะกรรมการควบคุมอาคาร

                 (2) ปฏิบัติงานธุรการ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นแก่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

                 (3) ประสานงาน และให้ความช่วยเหลือแก่ราชการส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ภาคเอกชน

                 (4) ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารมอบหมาย

             มาตรา 21 ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558

             มาตรา 39 ทวิ ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ได้ โดยการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่คณะกรรมการควบคุมอาคารกำหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบดังกล่าว.........

                  (9) หนังสือแสดงการให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ในกรณีที่เป็นอาคารในโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แล้วแต่กรณี

             มาตรา 46 ในกรณีที่อาคารซึ่งก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายโดยได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิตร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรืออาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่ง ให้ดำเนินการแก้ไขตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และถ้าอาคารนั้นอาจเป็นภยันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่ง ให้รื้อถอนอาคารนั้นได้โดยให้นำมาตรา 42 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

             มาตรา 77 ท้องที่ใดมีอาคารก่อสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

                 (3) มีคำสั่ง ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินงานเพื่อขจัดหรือระงับเหตุที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ภายในกำหนดเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

             มาตรา 39 ตรี เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับข้อมูล และเอกสารและหลักฐานจากผู้แจ้งตามมาตรา 39 ทวิ และผู้แจ้งได้ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนการก่อสร้างดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมและให้ผู้แจ้งก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารตามที่ได้แจ้งไว้ได้ตั้งแต่วันที่ผู้แจ้งได้รับใบรับแจ้ง

             มาตรา 39 เบญจ ห้ามมิให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารใช้หรือยินยอม ให้ผู้ใดใช้อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นโรงมหรสพ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพจากคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาตามวรรคสอง แล้วแต่กรณี

ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการประกอบกิจการโรงมหรสพมีอำนาจพิจารณาออกใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต โอนใบอนุญาต และออกใบแทนใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ

             มาตรา 40 ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการดังนี้

                 (1) มีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการ ลูกจ้าง หรือบริวารของบุคคลดังกล่าว ระงับการกระทำดังกล่าว

                 (2) มีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคาร หรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และจัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามนั้นไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณดังกล่าว

                 (3) พิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตาม (1)

             มาตรา 41 ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาต หรือดำเนินการแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ หรือดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกก็ได้ และให้นำมาตรา 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

             มาตรา 42 ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (11) หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10

             มาตรา 43 ถ้าไม่มีการรื้อถอนอาคารตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ ดังต่อไปนี้

                 (1) ยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 42 ได้ล่วงพ้นไป ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังบุคคลซึ่งมิได้ปฏิบัติการตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

                 (2) ดำเนินการหรือจัดให้มีการรื้อถอนอาคารดังกล่าวได้เอง โดยจะต้องปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ในบริเวณนั้นแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร ผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณอาคาร ผู้ควบคุมงาน และผู้ดำเนินการจะต้องร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการนั้น เว้นแต่บุคคลดังกล่าวจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้เป็นผู้กระทำหรือมีส่วนร่วมในการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

          ในการดำเนินการรื้อถอนอาคารตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งดำเนินการแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์แล้ว บุคคลตามวรรคหนึ่งจะเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งดำเนินการแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ได้

          วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอนและสิ่งของที่ขนออกจากอาคารส่วนที่มีการรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจยึดและเก็บรักษาไว้ หรือขายและถือเงินไว้แทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และถ้าเจ้าของมิได้เรียกเอาทรัพย์สินหรือเงินนั้นคืนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการรื้อถอน ให้ทรัพย์สินหรือเงินนั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัตินี้

       7. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

             มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ    การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

             มาตรา 22 ผู้ใดขอแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป และไม่อาจแสดงให้เป็นที่เชื่อได้ว่ามิใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการจัดสรรที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินและรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน หากผู้ขอไม่เห็นด้วยให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

             ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับอุทธรณ์ ถ้าคณะกรรมการมิได้มีคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินนั้นต่อไป

 

             เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นประการใดแล้ว ให้แจ้งคำวินิจฉัยเป็นหนังสือให้   ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

             มาตรา 23 ผู้ใดประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดินให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงาน ที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมหลักฐาน และรายละเอียดดังต่อไปนี้

                 (1) โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการ จัดสรรที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใดๆ เว้นแต่บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

                 (2) ในกรณีที่ที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือภาระการจำนอง ให้แสดงบันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรง บุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองและจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิหรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้ จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อ บริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว

                 (3) แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรรและเนื้อที่โดยประมาณ ของแต่ละแปลง

                 (4) โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการ สาธารณะ รวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น โดยแสดงแผนผัง รายละเอียด และ รายการก่อสร้างประมาณการค่าก่อสร้าง และกำหนดเวลาที่จะจัดทำให้แล้วเสร็จ ในกรณีที่ได้มีการ ปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมดหรือ บางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดิน   ให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้างที่ได้จัดทำ แล้วเสร็จนั้นด้วย

                 (5) แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค

                 (6) วิธีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและการชำระราคาหรือค่าตอบแทน

                 (7) ภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น

                 (8) แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร

                 (9) ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

                 (10) ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ       

       8. พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 

          ต้องทราบหลักกฎหมายนี้ว่าเป็นรอนสิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเอกชน โดยมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการส่งกระแสไฟฟ้า หากเขตปลอดภัยฯนี้ผ่านที่ดินแปลงใด เจ้าของที่ดินจะถูกรอนสิทธิในการใช้ที่ดินโดยจะสร้างโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้หรือพืชผลในเขตปลอดภัยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กฟผ. และตามเงื่อนไขที่ กฟผ. กำหนด แต่จะได้ค่าชดเชยจากการถูกรอนสิทธิ หากฝ่าฝืน กฟผ. มีอำนาจรื้อถอน ทำลายหรือตัดฟันโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน นอกจากนี้ มาตรา 33  ให้อำนาจ กฟผ.ทำลายหรือตัดฟันต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ที่อยู่ใกล้ระบบไฟฟ้า แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้ทราบล่วงหน้าภายในเวลาอันสมควร และหากต้นไม้นั้นมีอยู่ก่อนการสร้างระบบไฟฟ้า กฟผ. ต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้เท่าที่ต้องเสียหายเพราะการกระทำ    นั้นด้วย

       9. พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 

             มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในการเดินสายส่งหรือปักเสาไฟฟ้าผ่านที่ดินของบุคคลใด ๆ ได้แต่ต้องจ่ายค่าทดแทน และมาตรา 36 ให้อำนาจ กฟน.ทำลายหรือตัดฟันต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ ที่อยู่ใกล้ระบบไฟฟ้า แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้ทราบล่วงหน้าภายในเวลาอันสมควร และหากต้นไม้นั้นมีอยู่ก่อนการสร้างระบบไฟฟ้า กฟน. ต้องจ่าย  ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้เท่าที่ต้องเสียหายเพราะการกระทำนั้นด้วย

       10. พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503  

             มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการเดินสายส่งหรือปักเสาไฟฟ้าผ่านที่ดินของบุคคลใด ๆ ได้แต่ต้องจ่ายค่าทดแทน และมาตรา 37 ให้อำนาจ กฟภ.ทำลายหรือตัดฟันต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ ที่อยู่ใกล้ระบบไฟฟ้า แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือ     ผู้ครอบครองต้นไม้ทราบล่วงหน้าภายในเวลาอันสมควร และหากต้นไม้นั้นมีอยู่ก่อนการสร้างระบบไฟฟ้า กฟภ. ต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้เท่าที่ต้องเสียหายเพราะการกระทำนั้นด้วย

       11. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535  

             มาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวงฯบัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินติดเขตทางหลวงต้องรักษาต้นไม้ในความครอบครองของตนไม่ให้กีดขวางทางจราจรหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวง หากผู้อำนวยการทางหลวงหรือเจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นทราบแล้วไม่แก้ไข ผู้อำนวยการทางหลวงหรือเจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายสามารถตัดฟันต้นไม้นั้นได้    โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย

       12. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พุทธศักราช 2497 

             มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงสนามบินเป็น “เขตปลอดภัยในการเดินอากาศ” ซึ่งเจ้าของที่ดินภายในเขตปลอดภัยนี้ จะก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือปลูกไม้ยืนต้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 59 หากมีผู้ฝ่าฝืน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามมาตรา 60 ที่จะรื้อถอนอาคารหรือ   สิ่งปลูกสร้างหรือตัดโค่นต้นไม้นั้นได้

       13. พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. 2510 

             มาตรา 38 ถึง มาตรา 40 โดยต้องทราบหลักของกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นให้อำนาจแก่การประปานครหลวงในการเดินท่อส่งน้ำเข้าไปหรือผ่านที่ดินของบุคคลใดๆ โดยต้องจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินและ     ค่าทดแทนในการตัดฟันต้นไม้ในบริเวณดังกล่าวด้วย และห้ามผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือต้นไม้ในบริเวณดังกล่าวด้วย

       14. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

             มีใจความสรุปดังนี้ โดยที่บัญญัติคำว่าสุขภาพหมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล การวางระบบเพื่อดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน จึงไม่อาจมุ่งเน้นที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเพียงด้านเดียวเพราะจะทำให้รัฐและประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และจะเพิ่มมากขึ้นตามลำ ดับในขณะเดียวกันโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงและมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้นจำเป็นต้องดำเนินการให้ประชาชนมีความรู้เท่าทัน มีส่วนร่วม และมีระบบเสริมสร้างสุขภาพและระวังป้องกันอย่างสมบูรณ์ สมควรมีกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ เพื่อวางกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ รวมทั้งมีองค์กรและกลไกเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย อันจะนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งสามารถดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

       15. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค. พ.ศ. 2522

             มีสาระสำคัญดังนี้

             1. กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับโดยกฎหมายมาตรา 4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังนี้

                 1.1 สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

                 1.2 สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ

                 1.3 สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

                 1.4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา

                 1.5 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยค่าเสียหาย

             2. การแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกฎหมาย มาตรา 9 และ 10 ให้คณะกรรมการ    มีอำนาจและหน้าที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้

                 2.1 พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ

                 2.2 ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้า ที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควรทราบ

             3. การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา มาตรา 35 ทวิ

                 "ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใด..ในการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญา" สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

                 3.1 ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นซึ่งหากมิได้ใช้ข้อสัญญาเช่นนั้นจะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ ผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร

             1. ห้ามใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค 

          สำหรับกรณีที่อาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตหรืออันตรายแก่จิตใจของผู้บริโภค แม้จะไม่ได้ระบุไว้ในมาตรา 41 แต่อันตรายแก่จิตใจก็อยู่ในความหมายของอาจเกิดอันตรายแก่ร่างกายนั้นเอง ส่วนอันตรายแก่ชีวิตไม่อาจใช้มาตรา 41 บังคับได้เพราะผู้บริโภคถึงแก่ความตายไปแล้ว

          เมื่อมีเหตุที่จะเปลี่ยนสินค้าใหม่ได้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ศาลจะพิพากษาให้เปลี่ยนสินค้าใหม่หรือไม่ ยังต้องคำนึงถึง

                 1. ลักษณะของสินค้าซึ่งเป็นสินค้าที่อาจเปลี่ยนทดแทนกันได้

                 2. พฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ

                 3. ความสุจริตของผู้บริโภค

       16. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2550  

             มีใจความดังนี้ มาตรา 3 “ปุ๋ย” หมายความว่า สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช “ปุ๋ยเคมี” หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์หรือยิปซั่ม “ปุ๋ยอินทรีย์” หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ขึ้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่นแต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี “ปุ๋ยเชิงเดี่ยว” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว ได้แก่ ปุ๋ย ไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต หรือปุ๋ยโปแตช“ปุ๋ยเชิงผสม” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดหรือประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ “ปุ๋ยเชิงประกอบ” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป “ธาตุอาหาร” หมายความว่าธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยและสามารถเป็นอาหารแก่พืชได้ “ธาตุอาหารหลัก” หมายความว่า ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม “ธาตุอาหารรอง” หมายความว่า  ธาตุอาหารมักเนเซียม คัลเซียม และกำมะถัน“ธาตุอาหารเสริม” หมายความว่า ธาตุอาหารเหล็ก มังกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน หรือธาตุอาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ปริมาณธาตุอาหารรับรอง” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำของธาตุอาหารหลักที่ผู้ผลิตหรือผู้นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งปุ๋ยเคมีรับรองในฉลากว่ามีอยู่ในปุ๋ยเคมีที่ตนผลิตนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี โดยคิดเป็นจำนวนร้อยละของน้ำหนักสุทธิของปุ๋ยเคมี “สารเป็นพิษ” หมายความว่าสารเคมีหรือสิ่งอื่น   ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ คน สัตว์ พืช หรือทรัพย์อื่นได้ “ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดสูตรและปริมาณขั้นต่ำหรือขั้นสูงของธาตุอาหารหรือสารเป็นพิษ และลักษณะจำเป็นอย่างอื่นของปุ๋ยเคมีดังกล่าวแต่ละชนิด “ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ล่วงอายุหรือถูกกระทบกระเทือนด้วยปัจจัยใดๆ อันทำให้เสื่อมคุณภาพโดยธาตุอาหารลดน้อยลงหรือเปลี่ยนสภาพไป “ปุ๋ยชีวภาพ” หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพทางกายภาพหรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ “ปุ๋ยอินทรีย์” หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ “ปุ๋ยอินทรีย์เคมี” หมายความว่า ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารรับรองแน่นอนโดยมีปริมาณอินทรียวัตถุตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ปุ๋ยเชิงเดี่ยว” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว ได้แก่ ปุ๋ย ไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต หรือปุ๋ยโพแทช

             “ปุ๋ยเชิงผสม” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมี ชนิดหรือประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ

             “ปุ๋ยเชิงประกอบ” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป

             “ธาตุอาหาร” หมายความว่า ธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยและสามารถเป็นอาหารแก่พืชได้

             “ธาตุอาหารหลัก” หมายความว่า ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือโพแทสเซียม

             “ธาตุอาหารรอง” หมายความว่า ธาตุอาหารแมกนีเซียม แคลเซียม หรือกำมะถัน

             “ธาตุอาหารเสริม” หมายความว่า ธาตุอาหารเหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน หรือธาตุอาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

             “ปริมาณธาตุอาหารรับรอง” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำของธาตุอาหารหลักที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีรับรองในฉลากว่ามีอยู่ในปุ๋ยเคมีที่ตนผลิตหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี โดยคิดเป็นจำนวนร้อยละของน้ำหนักสุทธิของปุ๋ยเคมี

             “ชนิดของจุลินทรีย์” หมายความว่า กลุ่มหรือสกุลของจุลินทรีย์เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์

             “หัวเชื้อจุลินทรีย์” หมายความว่า จุลินทรีย์ชีวภาพที่มีจำนวนเซลล์ต่อหน่วยสูงซึ่งถูกเพาะเลี้ยง  โดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์

             “วัสดุรองรับ” หมายความว่า สิ่งที่นำมาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

             “ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารับรองถึงจำนวน  เซลล์รวมหรือจำนวนสปอร์รวมหรือจำนวนตามหน่วยวัดอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีอยู่ในปุ๋ยชีวภาพหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ตนผลิตหรือนำเข้าแล้วแต่กรณี

             “จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค” หมายความว่า จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์ สัตว์ หรือพืชและให้หมายความรวมถึงจุลินทรีย์ที่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าด้วยประการใดๆ

       17. พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551

             สาระสำคัญ ดังนี้

             ความหมายของคำว่า “วัตถุอันตราย” (มาตรา 4) วัตถุอันตราย หมายถึง วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจ ทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

             วัตถุอันตราย แบ่งเป็น 4 ชนิด ตามความจำเป็นแก่การควบคุม (มาตรา 18) ดังนี้

             (1) วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การ ส่งออกหรือการมีไว้ในครองครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด โดยปฏิบัติตามประกาศ ของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามข้อ 3.4 (1) (2) และ (3)

             (2) วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การ ส่งออกหรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดด้วย โดยปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามข้อ 3.4 (1) (2) และ (3)

             (3) วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามประกาศของ รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตามข้อ 3.4 (1) (2) และ (3) (4) วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออกหรือการมีไว้ในครอบครอง

             ประเด็นเรื่องใบอนุญาตและการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตนั้น ใบอนุญาตให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต แต่ไม่เกินสามปี นับแต่วันออกใบอนุญาตและถ้าได้มีกฎหมายหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป หรือมีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครอง ความปลอดภัย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตมีอำนาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไข การอนุญาตได้ตามความจำเป็น ในกรณีที่จะขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ถือว่ามีฐานะเสมือนผู้ได้รับอนุญาตและให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าพนักงาน เจ้าหน้าที่จะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการไม่อนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต คำวินิจฉัยของ รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบให้เป็นที่สุด หากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ ได้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์การต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตจะขายวัตถุอันตรายที่มีอยู่ในความครอบครองได้ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันทราบคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตหรือทราบคำสั่งของ รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบให้ยกอุทธรณ์ หากพ้นกำหนดดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้บุคคล ดังกล่าวส่งมอบวัตถุอันตรายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อทำลายหรือจัดการตามควรแก่กรณี ในกรณีที่อาจจำหน่ายได้ให้ดำเนินการขายทอดตลาดหรือขายให้แก่หน่วยงานของรัฐภายในสามเดือน (มาตรา 25 – 29)

             กฎหมายวัตถุอันตรายเป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุอันตราย ปัจจุบันมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ 6 หน่วยงาน โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ของการนำวัตถุอันตรายไปใช้ดังนี้

             1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม 

             2. กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการเกษตร

             3. กรมประมง รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

             4. กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางปศุสัตว์

             5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือน หรือ ทางสาธารณสุข 

             6. กรมธุรกิจพลังงาน รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซปิโตรเลียม

       18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

             เรื่องนิติกรรมและสัญญา โดยมีใจความดังนี้

             1. นิติกรรม มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ การกระทำ, ชอบด้วยกฎหมาย, มุ่งผูกนิติสัมพันธ์,  สมัครใจ, ก่อ เปลี่ยนแปลง ดอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์การกระทำ “ชอบด้วยกฎหมาย” ต้องไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย., ไม่พ้นวิสัย, ไม่ขัดต่อความสงบฯตามมาตรา 151 และมาตรา 150 คือ มีวัตถุประสงค์ชอบด้วย ก.ม. แต่เป็นการขัดความสงบฯ แบบของนิติกรรม ทำเป็นหนังสือ, จดทะเบียน, ทำเป็นหนังสือต่อ  เจ้าพนักงาน, ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มาตรา 153 ทำโดยผู้เยาว์, คนวิกลจริต, คนไร้ความสามารถ,  คนเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 154 ถ้าผู้แทนนิติบุคคลมีผลประโยชน์ขัดกับนิติบุคคล จะเป็นผู้แทนไม่ได้ มาตรา 155 วรรค 1 นิติกรรมระหว่างกัน เป็นโมฆะนั้นยกข้อต่อสู้ต่อคนนอกที่สุจริตและเสียหายไม่ได้ มาตรา 155 วรรค 2 นำกฎหมายของนิติกรรมที่ถูกอำพราง มาใช้บังคับ ส่วนเรื่องสำคัญผิด ตามมาตรา 156 เป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญ, ส่วนในมาตรา 157 เป็นสำคัญผิดในคุณสมบัติ

          โมฆะกรรมและโมฆียกรรม

             มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภ มิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ มาตรา 173 ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็น โมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มาตรา 174 การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือตามนิติกรรมซึ่งไม่เป็นโมฆะ ถ้าสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า หากคู่กรณีได้รู้ว่า การนั้นเป็นโมฆะแล้ว ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น มาตรา 175 โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้ (1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้าง ก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม (2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็นคน เสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ (3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ (4) บุคคลวิกลจริตผู้กระทำ  นิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา 30 ในขณะที่จริต ของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียกรรมนั้นได้

             มาตรา 176 โมฆียกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้น หนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียกรรม

             มาตรา 177 ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมตามมาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ทั้งนี้ย่อมไม่ กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก

             มาตรา 178 การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ย่อมกระทำได้โดยการ แสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน มาตรา 179 การให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมนั้น   จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว  

          บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือ บุคคลวิกลจริต ผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา 30 จะให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ได้ต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่งโมฆียกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล แล้วแต่กรณี ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมได้  นับแต่เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย เว้นแต่สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียกรรมของผู้ตายนั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ ถ้าการให้สัตยาบันแก่โมฆียะ กรรมกระทำโดยผู้แทนโดย  ชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ มาตรา 180 ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ 

             มาตรา 179 ถ้ามีพฤติการณ์ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียกรรมโดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอก ล้างโมฆียกรรมตามมาตรา 175 ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใดให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน (1) ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (2) ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้    นั้นแล้ว (3) ได้มีการแปลงหนี้ใหม่ (4) ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น (5) ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (6) ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน

             มาตรา 181 โมฆียกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจ ให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

             2. การก่อสัญญา

                 - คำเสนอ นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องมีการแสดงเจตนา, ชัดแจ้งเท่านั้น, มีความชัดเจนแน่นอน, ต่อบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือต่อสาธารณชนเท่านั้น, ถอนไม่ได้, ไม่ใช้ มาตรา 169 วรรค 2

                 - คำสนอง นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา

             3. ผลของสัญญา

                 - สัญญาต่างตอบแทน มาตรา 369 ถึง มาตรา372 สัญญาต่างตอบแทนที่เป็นการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งและกรรมสิทธิ์โอนแล้ว สัญญาต่างตอบแทนที่เป็นการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งแต่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน สัญญาต่างตอบแทนที่ไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์-สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มาตรา 374-376 สิทธิ์เกิดเมื่อถือเอา, ถือเอาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้

             4. มัดจำเบี้ยปรับ (เป็นสัญญาอุปกรณ์) (มัดจำต้องเป็นเงินและต้องให้ในขณะทำสัญญา)  (เบี้ยปรับมี 2 ชนิด คือเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง)

             5. การเลิกสัญญา มาตรา 386-394 เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลย้อนหลัง-หนี้ระงับได้ 2 วิธี    (1) ชำระหนี้, ปลดหนี้, หักกลบลบหนี้, แปลงหนี้ใหม่, หนี้เกลื่อนกลืน (2) ทำลายบ่อเกิดแห่งหนี้ด้วยการเลิกสัญญา

             การเลิกสัญญามี 2 ประเภท (1) ระงับความผูกพันในอนาคต (2) เลิกสัญญาที่มีผลย้อนหลังการเลิกสัญญามี 2 กรณี (1) เลิกโดยข้อสัญญา (2) เลิกโดยข้อกฎหมาย โดยเมื่อเลิกสัญญาแล้วเกิดผลคือ คืนสถานะเดิม ไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก สามารถเรียกค่าเสียหายตามมาตรา 392 ได้

       19. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

             หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

             มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

             ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

             มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8

       20. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2535

             กำหนดให้การจัดทำผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ จะต้องกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำรงรักษาหรือ บูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี หรือ เพื่อบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศที่งดงาม หรือ มีคุณค่าทางธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้มีการพัฒนาเมืองให้ถูกสุขลักษณะ มีความสะดวกสบายและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (มาตรา 4) ดังนั้น การทำผังเมืองดังกล่าวจะต้องประกอบด้วย แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานที่หรือวัตถุที่มีประโยชน์และทรงคุณค่าดังกล่าว อันพึงส่งเสริมรักษาหรือบูรณะ และต้องมีแผนผังแสดงบริเวณทรัพยากรธรรมชาติหรือภูมิประเทศที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ รวมทั้งต้นไม้เดี่ยวหรือต้นไม้หมู่ที่จะพึงส่งเสริม (มาตรา 28)

        

        (ข2) หน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายพื้นที่สีเขียวและขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ

       1. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจหลัก ดังนี้

          (1) กำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเสนอแนะนโยบายและแผนการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการจัดการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

          (2) ติดตามตรวจสอบ มาตรการเงื่อนไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี

             - สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

          (1) ดำเนินการเพื่อให้มีการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ขั้นตอน ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

          (2) ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือกิจกรรมของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินโครงการ

          (3) ศึกษา วิเคราะห์ และประสานงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรายสาขาและระดับพื้นที่ เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย แผนแม่บท หรือแผนพัฒนาที่อาจมีผลกระทบสิ่งแวดล้อม

          (4) ศึกษา วิเคราะห์ และสนับสนุนการกระจายอำนาจการพิจารณารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางประเภท ขนาด และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นให้หน่วยงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

          (5) สนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางและเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดำเนินการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานที่ได้รับการกระจายอำนาจการพิจารณารายงาน รวมทั้งกำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

          (6) ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นผู้ชำนาญการในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

          (7) กำกับ ดูแล ติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการหรือกิจการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีที่เหมาะสมในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนติดตามตรวจสอบ และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนา

          (8) ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาฐานข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและข้อมูลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

          (9) ดำเนินการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอน และแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งประสาน

การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

          (10) ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจกรรมของภาครัฐหรือภาคเอกชน

          (11) ปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ

          (12) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          หน้าที่รับผิดชอบ     

          จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การมีส่วนร่วมของประชาชน

เป็นกระบวนการที่นำเอาความห่วงกังวลของสาธารณชน ความต้องการและค่านิยมผนวกเข้ไปกับการดำเนินการตัดสินใจของรัฐ กระบวนมีส่วนร่วมของสาธารณชนจึงเป็นสื่อกลางสองทาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าที่สาธาณชนโดยส่วนราชการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Participation in EIA)เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public participation in EIA) เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

       2. สำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หน้าที่รับผิดชอบ มาตรฐานของพื้นที่สีเขียว

          1) เสนอแนะนโยบาย แผน มาตรการ และกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองและชนบท พื้นที่สีเขียว และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

          2) ประสานงานเพื่อให้มีการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและดำเนินการเพื่อให้มีการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สีเขียว และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมที่มีปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมล้อมรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต

          3) ประสาน ผลักดันให้มีการนำนโยบาย แผน มาตรการ และกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองและชนบท พื้นที่สีเขียว และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของท้องถิ่น

          4) ประสานการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ชุมชนเมืองและชนบท พื้นที่สีเขียวและพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมรวมทั้งประสานเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

          5) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะการปรับปรุงกฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติที่ดี มาตรการจูงใจด้านต่าง ๆ และระบบข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองและชนบท พื้นที่สีเขียว และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

          6) พิจารณากลั่นกรอง ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อโครงการหรือกิจการ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน พื้นที่สีเขียว และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนเสนอแนะองค์กรบริหารและจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่สีเขียว ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น

          7) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ

          8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

       3. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

หน้าที่รับผิดชอบ ดูแลรับผิดชอบงานทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนและพัฒนาพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร การปลูกบำรุงรักษาต้นไม้ สนามหญ้าในสวนสาธารณะ สวนหย่อม เกาะกลาง ทางเท้าในถนนสายสำคัญต่างๆ และสถานที่ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ การตัดแต่ง ขุดย้าย ศัลยกรรมต้นไม้ การขยายพันธุ์ การประดับตกแต่งต้นไม้ การตกแต่งเมือง กำหนดแนวทางวางแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การบริหารงานสวนสาธารณะ การเพิ่มบริการต่างๆ ในสวนสาธารณะ เป็นศูนย์กลางความรู้ด้านวิชาการเกษตรการให้การศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ และวิชาการเกษตรแก่ส่วนราชการอื่น เยาวชน และประชาชนทั่วไป การสำรวจรังวัดประมาณการจัดหาข้อมูลเพื่อออกแบบ ประมาณการงบประมาณในการจัดสร้างสวน แหล่งนันทนาการ และการกีฬาของสำนักงานสวนสาธารณะ การวางแผน กำหนดนโยบาย แนวทางดำเนินการปลูกบำรุงรักษาต้นไม้แก่สำนักงานเขตให้คำแนะนำด้านวิชาการเกษตรและการออกแบบสวนและต้นไม้ สนับสนุนพันธุ์ไม้ และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ตลอดจนแก้ไขปัญหาให้กับสำนักงานเขตและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

       4. ศูนย์จัดการพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศนครเขื่อนขันธ์ โครงการสวนกลางมหานคร อำเภอ    พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้)

หน้าที่รับผิดชอบ      

          1) สนองพระราชดำริในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

          2) พัฒนาพื้นโครงการสวนกลางมหานคร ให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นปอดอย่างยั่งยืน

          3) จัดการสวนสาธารณะให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ และการพักผ่อนหย่อนใจ

          4) ส่งเสริมให้ราษฎร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกภาคส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน      

          5) ผลิตกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้ราษฎรนำไปปลูกขยายผลในพื้นที่ของราษฎร

       5. สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วม หน้าที่รับผิดชอบ ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในเขตเมือง และชนบท

       6. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หน้าที่รับผิดชอบ ขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียวของเมือง ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "สภาพัฒน์" หรือ "สภาพัฒนาฯ" นั้น ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2493 โดยในระยะแรกใช้ชื่อว่า "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" มีหน้าที่เสนอความเห็นและคำแนะนำตลอดจนข้อชี้แจงต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ

          ต่อมาคณะผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกได้เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มบทบาทหน้าที่ของ "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ให้มีมาขึ้น และให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ดังนั้นในปี 2502 จึงได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานแห่งนี้ใหม่เป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ" จนกระทั่งในปี 2515 มีการนำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมเข้ามาใช้ควบคู่กับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็น "สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้โดยสำนักงานฯ อยู่ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีตลอดมา

          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ จัดตั้งศูนย์บริการประชาชนขึ้นเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ และรับฟังปัญหาข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแก้ปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์บริการประชาชนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง และสามารถยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรงที่

 

        (ข3) ทักษะในการประสานงาน ประกอบด้วย

       1. ทักษะการสื่อสาร เพราะการสื่อสารเป็นหัวใจของการติดต่อประสานงานร่วมกันกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์ ทั้งนี้ การมีทักษะการสื่อสารจำเป็นต้องมีจิตวิทยาในการส่งสารและรับสารหรือเรียกได้ว่า การสื่อสารสองทาง

       2. ทักษะการจัดการกระบวนการ ได้แก่ ทักษะในการจัดการงานกระบวนการต่างๆ ประกอบด้วย การจัดประชุม หรือ การจัดสัมมนา ซึ่งเป็นทักษะที่แสดงความสามารถในการระดมการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและภายนอกองค์กรมาเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อที่จะสามารถพัฒนาต่อยอด    องค์ความรู้หรือทักษะให้กับบุคคลต่างๆ ได้

       3. ทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่ การมีทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถ  ในการเข้าใจและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และมีความสามารถในการปรับตัว

       4. ทักษะทางสังคม ได้แก่ ทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ทักษะด้านจิตวิทยา ทักษะในการปรับตัว และ ความสามารถทางอารมณ์ (Emotional Quotient)


        (ข4) องค์ประกอบที่สำคัญของการประสานงานที่ดี

          การประสานงานที่ดีมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

       1. ความร่วมมือ จะต้องสร้างสัมพันธภาพในการทำงาน ร่วมกันของทุกฝ่าย โดยอาศัยความเข้าใจ หรือการตกลงร่วมกัน มีการรวบรวมกำลังความคิด วิธีการ เทคนิค และระดมทรัพยากร มาสนับสนุนงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เต็มใจที่จะทำงานร่วมกัน

       2. จังหวะเวลา จะต้องปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของแต่ละคน  ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันให้ตรงเวลา

       3. ความสอดคล้อง จะต้องพิจารณาความพอเหมาะพอดี ไม่ทำงานซ้อนกัน

       4. ระบบการสื่อสาร จะต้องมีการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน อย่างรวดเร็ว และราบรื่น

       5. ทักษะการสื่อสาร เพราะการสื่อสารเป็นหัวใจของการติดต่อประสานงานร่วมกันกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์ ทั้งนี้ การมีทักษะการสื่อสารจำเป็นต้องมีจิตวิทยาในการส่งสารและรับสาร หรือเรียกได้ว่า การสื่อสารสองทาง

       6. ผู้ประสานงาน จะต้องสามารถดึงทุกฝ่ายเข้าร่วมทำงาน เพื่อตรงไปสู่จุดหมายเดียวกัน ตามที่กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของงาน


        (ข5) รูปแบบการเขียนรายงานการปฏิบัติงานและองค์ประกอบของรูปแบบรายงาน  การปฏิบัติงาน

รูปแบบการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน แบ่งได้เป็น

       - มีความยาวไม่เกิน 10 หน้า

       - ใช้ในโอกาสเร่งด่วนกับเรื่องราวที่ไม่เป็นทางการนัก

       - นิยมเขียนสนรูปบันทึก เป็นการภายใน หรือในรูปแบบของจดหมาย

       - ความยาวตั้งแต่ 10 หน้ากระดาษขึ้นไป

       - มีข้อมูลรายละเอียดที่กว้างขวาง

       - ต้ออาศัยการวิเคราะห์อย่างละเอียด แม่นยำ ชัดเจน

       - ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้

       - นิยมจัดทำเป็นรูปเล่ม

       - มีสถิติ ตาราง รูปถ่าย เอกสารอ้างอิง

องค์ประกอบของรูปแบบรายงานการปฏิบัติงาน

องค์ประกอบของรูปแบบรายงานขนาดสั้นไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย

       1. ตอนต้นหรือส่วนหน้า : กล่าวถึงวัตถุประสงค์หรือสาเหตุที่ต้องทำ

       2. ส่วนเนื้อหา : กล่าวถึงงานที่ได้ทำโดยสรุปเป็นประเด็นให้ถูกต้อง

       3. ตอนท้ายหรือตอนสรุป : กล่าวสรุปผลของการรายงาน อาจมีข้อเสนอแนะข้อคิด หรือแนวทางการแก้ปัญหา

       องค์ประกอบของรายงานขนาดสั้น

• : กล่าวถึงวัตถุประสงค์หรือสาเหตุที่ต้องทำรายงาน เช่น ได้รับคำสั่ง (อ้างคำสั่ง) กล่าวถึงขอบเขตของการปฏิบัติ และการดำเนินงานอย่างชัดเจน

• ส่วนเนื้อหา : กล่าวถึงงานที่ได้ทำโดยสรุปเป็นประเด็นสำคัญ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร) ให้ถูกต้อง

• ตอนท้ายหรือตอนสรุป : กล่าวสรุปผลของการรายงาน อาจมีข้อเสนอแนะข้อคิด หรือแนวทางการแก้ปัญหา

       ส่วนประกอบของรายงานขนาดยาวแบบเป็นทางการ

- หนังสือนำส่งรายงาน : แต่ละหน่วยงานจะกำหนดรูปแบบของหนังสือนำส่งรายงานเอง (อาจเป็นบันทึกข้อความ, จดหมายธุรกิจ ฯลฯ) โดยมีเนื้อหาสรุปย่อรายงาน และให้ข้อเสนอแนะ

• : มีส่วนประกอบดังนี้

• จะแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน จากบนลงล่าง ข้อความบนหน้าปกจะประกอบด้วย

        - ชื่อ - สกุล และตำแหน่งผู้รายงาน ระบุว่าเป็นรายงานที่ใครนำเสนอ

       - คำนำ : แจ้งให้ทราบว่า เนื้อหารายงานจะเป็นอย่างไร

       - ส่วนเนื้อหา :  คือ ส่วนของข้อมูลทั้งหมด มีส่วนประกอบดังนี้

       ส่วนนำ : เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุการทำรายงาน ตลอดจนความเป็นมาวัตถุประสงค์ รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       เนื้อเรื่อง :  มีหลายบทตามประเด็นที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง บทวิเคราะห์ ภาพประกอบ ตาราง ฯลฯ

       บทสรุปและข้อเสนอแนะ : เป็นการสรุปประเด็นของรายงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาสายงานให้ดียิ่งขึ้น

       ส่วนท้าย : ประกอบ 2 ส่วน ดังนี้

       บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง : 

       ภาคผนวก : 

       1. องค์ประกอบของรูปแบบรายงานขนาดยาวแบบเป็นทางการ

           2.1) หนังสือนำส่งรายงาน : แต่ละหน่วยงานจะกำหนดรูปแบบของหนังสือนำส่งรายงานเอง โดยมีเนื้อหาสรุปย่อรายงาน และหรือให้ข้อเสนอแนะ

           2.2) ส่วนต้นของรายงาน : ประกอบด้วย

                 ปกนอกและปกใน จะแบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน จากบนลงล่าง ข้อความบนหน้าปกจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง จัดไว้กึ่งกลาง ชื่อ - สกุล และตำแหน่งผู้รายงาน ระบุว่าเป็นรายงานที่ใครนำเสนอ หน่วยงาน และวัน เดือน ปี ที่รายงาน คำนำ สารบัญ 

           2.3) ส่วนเนื้อหา : ประกอบด้วย

                 ส่วนนำ : เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุการทำรายงาน ตลอดจนความเป็นมา วัตถุประสงค์ รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                 เนื้อเรื่อง : มีหลายบทตามประเด็นที่ตั้งไว้ ประกอบด้วยข้อเท็จจริง บทวิเคราะห์ ภาพประกอบ ตาราง

                 บทสรุปและข้อเสนอแนะ : เป็นการสรุปประเด็นของรายงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 

           2.4) ส่วนท้าย : ประกอบด้วย บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง และภาคผนวก

การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน

                 เป็นการเขียนเพื่อนำเสนอ หรือพบเห็นต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า.หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจเป็นเรื่องความสำเร็จหรือความก้าวหน้าในหน้าที่รับผิดชอบ

รายงานผลการปฏิบัติ

                 เป็นการเขียนเพื่อให้ทราบถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หลังจากปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว และเสนอต่อผู้บังคับบัญชา/หรือผู้มีอำนาจ ต้องย่างมีหลักมีเขียนอย่างมีหลักมีเกณฑ์

งานเขียนทุกชนิด : ต้องมีรูปแบบด้วยกันทั้งสิ้น บางชนิดมีรูปแบบตายตัว

รายงานผลการปฏิบัติงาน : เป็นงานเขียนที่ไม่กำหนดรูปแบบตายตัว แต่มีแนวปฏิบัติดังนี้ 

          1. ใช้รูปแบบตามที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด

          2. เขียนในรูปแบบจดหมายหรือบันทึกข้อความ

          3. เขียนในรูปแบบรายงานขนาดสั้น

แนวการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน : มีแนวทางการเขียน 2 ลักษณะ คือ

          1. เขียนอย่างละเอียดทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน : ส่วนมากใช้ในการเขียนรายงานการวิจัย หรือการทดลองที่สำคัญ

          2. เขียนแบบสรุปความ : การเขียนลักษณะนี้นิยมใช้กันทั่วไป ผู้เขียนควรเป็นผู้ปฏิบัติงานเอง หรือทราบกระบวนการทุกขั้นตอน โดยบันทึกรายละเอียดทั้งหมด แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ให้ กระชับ ชัดเจน เข้าในง่าย 

การนำเสนอรายงานการปฏิบัติงาน : มี 2 ลักษณะได้แก่

          1. รายงานปากเปล่า (เช่น การายงานในที่ประชุม)

          2. รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (นิยมมากเพราะใช้เป็นหลักฐานได้) 

การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน : มีประโยชน์หลายประการดังนี้

          1. เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มปฏิบัติงานบางอย่าง : เพื่อหาสาเหตุความต้องการ หรือตรวจสอบแนวคิด หรือความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ

          2. เพื่อช่วยในการตัดสินใจ : ควรจะดำเนินการต่อ/ยุติ/ขยายกิจการ ฯลฯ

          3. เพื่อช่วยตัดสินใจ : ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงในระยะหนึ่งๆ ของการปฏิบัติงาน

          4. เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดผลดีต่อสาธารณชน ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร การเมือง หรือวิชาชีพอื่นๆ

          5. เพื่อช่วยส่งเสริมความเข้าใจ และความรู้พื้นฐานให้แก่ผู้ร่วมงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
       ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
       ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       - การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบแบบอัตนัย

       - แฟ้มสะสมผลงาน

       - การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ