หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-5-012ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 5


1 2631 นักเศรษฐศาสตร์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติจัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการจัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ โดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2631 นักเศรษฐศาสตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01261 วางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ 1.1 ระบุขั้นตอน ระยะเวลาและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามกรอบการดำเนินโครงการ 01261.01 79402
01261 วางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ 1.2 ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่หน่วยธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวกำหนดไว้ 01261.02 79403
01262 จัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการ 2.1 ระบุเครื่องมือในการติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมายของโครงการที่จะเกิดผลการดำเนินงานในอนาคต 01262.01 79404
01262 จัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการ 2.2 อธิบายเครื่องมือที่จะนำมาใช้ประเมินติดตามผลการดำเนินงานของโครงการในอนาคตโดยใช้แผนภาพ Gantt chart และแผนภาพตามวิธี PERT 01262.02 79405
01263 จัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ 3.1 ระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการปรับปรุงโครงการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 01263.01 79406
01263 จัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ 3.2 อธิบายแนวทางการปรับปรุงโครงการให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01263.02 79407

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การนำโครงการไปปฏิบัติ

โครงการที่ผ่านการประเมินและอนุมัติโครงการแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเกี่ยวข้องกับการเตรียมแผนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม   มีการควบคุมและคิดตามความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา อยู่ภายใต้งบประมาณ และได้ผลงานตามที่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติอาจจะเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดเตรียมโครงการอย่างรอบคอบแล้ว ดังนั้น ความยืดหยุ่นจึงเป็น  สิ่งที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนนี้เพื่อสามารถทำให้การดำเนินงานของโครงการประสบความสำเร็จลุล่วงได้

การประเมินผลโครงการ

หลังจากนำโครงการไปปฏิบัติแล้ว จะต้องมีการประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและบ่งชี้ปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ รวมทั้งหลังจากจบโครงการ โดยการประเมินผลโครงการสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ และการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ

การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ เป็นการประเมินผลในระหว่างดำเนินโครงการ ซึ่งจะช่วยตรวจสอบได้ว่า โครงการได้ดำเนินไปตามแผนของโครงการหรือไม่อย่างไร มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ ซึ่งถ้าประเมินผลแล้วยังมีปัญหาจะได้เป็นการหาทางปรับปรุงและแก้ไขได้ทันท่วงที เพื่อให้ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการประเมินผลรวมสรุปการดำเนินการของโครงการทั้งหมด โดยเน้นการประเมินไปยังการวิเคราะห์ในส่วนของประสิทธิผลหรือผลลัพธ์ของการจัดทำโครงการ ว่าการดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด มีคุณภาพอยู่ในระดับใดบ้าง

การปรับปรุงโครงการ (Program improvement) หมายถึง การตรวจสอบหาข้อบกพร่องของโครงการแล้วปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นให้ดําเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง การประเมินโครงการประเภทนี้เป็นการประเมินเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว (End-of project evaluation) อย่างทันทีทันใด โดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของโครงการแล้วปรับปรุงแก้ไขตามข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อให้โครงการมีผลงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. แฟ้มสะสมผลงาน

3. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนการนำโครงการไปดำเนินงานและปรับปรุงโครงการ

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวางแผนการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติ จัดทำแผนรองรับการประเมินผลโครงการ และการจัดทำแนวทางการปรับปรุงโครงการ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

โครงการที่ผ่านการประเมินและอนุมัติโครงการแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเกี่ยวข้องกับการเตรียมแผนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม มีการควบคุมและคิดตามความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา อยู่ภายใต้งบประมาณ และได้ผลงานตามที่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติขั้นตอนการนำโครงการไปปฏิบัติอาจจะเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดเตรียมโครงการอย่างรอบคอบแล้ว ดังนั้นความยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนนี้เพื่อสามารถทำให้การดำเนินงานของโครงการประสบความสำเร็จลุล่วงได้ ดังคำอธิบายข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการด้านความรู้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

- แฟ้มสะสมผลงาน

- การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ