หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-4-011ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 5


1 2631 นักเศรษฐศาสตร์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม เชิงเศรษฐกิจโดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2631 นักเศรษฐศาสตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01251 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 1.1 ระบุผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01251.01 79396
01251 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 1.2 อธิบายผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวในด้านการจ้างงาน ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ประชากร ลักษณะโครงสร้างของสังคม วัฒนธรรม ทัศนคติและความต้องการของชุมชน 01251.02 79397
01252 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม 2.1 ระบุผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01252.01 79398
01252 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม 2.2 อธิบายผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวในด้านพื้นที่ สภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ ระบบนิเวศ มลพิษ ขยะมูลฝอยกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 01252.02 79399
01253 วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ 3.1 ระบุองค์ประกอบหลักๆ ในการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) 01253.01 79400
01253 วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ 3.2 อธิบายความหมายและความสำคัญในการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจของหน่วยธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว 01253.02 79401

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ

2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคม
เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสังคมว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนและมีผลต่อสวัสดิการทางสังคมโดยเน้นที่ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันหรือการกระจายรายได้
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ความเป็นอยู่ของชุมชน วัฒนธรรมและความต้องการของคนในชุมชนและจูงใจให้คนในชุมชนเข้ามา   มีส่วนร่วมในโครงการ
เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมของโครงการและลดผลกระทบทางลบของโครงการ    ให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไปและในขณะเดียวกันสามารถเพิ่มผลกระทบทางบวกให้เพิ่มขึ้น
เพื่อวิเคราะห์สภาพสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีโครงการ
ศึกษาสภาพแวดล้อมทางด้านต่างๆก่อนที่จะมีโครงการ โดยจะเริ่มวิเคราะห์ผลกระทบที่มี  ต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มจัดเตรียมวางแผนโครงการเพื่อจะนำผลวิเคราะห์ไปร่วมพิจารณากับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเทคนิคเพื่อจะได้ออกแบบวางแผนโครงการและเลือกเทคนิคการผลิตที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่ก่อให้เกิดมลภาวะซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อมิต้องหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงภายหลัง นอกจากนั้นยังจะนำผลการวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อมไปใช้ร่วมกับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทนซึ่งต้องคำนึงถึงผลกระทบภายนอก
เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมหลังจากที่มีโครงการเกิดขึ้นแล้ว
เพื่อคาดคะเนหรือประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหลังจากที่มีโครงการว่ามีผลกระทบกับระบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือไม่อย่างไรโดยกำหนดขอบเขตการศึกษา ประมาณการผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและวิเคราะห์ตีค่าหาต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการโดยนำผลกระทบภายนอกทางลบเข้ามารวมเป็นต้นทุนของโครงการเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะลงทุนในโครงการหรือไม่อย่างไร
เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
หาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน แก้ไขหรือลดผลกระทบภายนอกทางลบ รวมทั้งหาแนวทางเพิ่มผลกระทบภายนอกทางบวกให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดในขณะที่ลดต้นทุนของโครงการและ    หาแนวทางในการฟื้นฟูปรับปรุงและชดเชยสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมไป
เพื่อวางแผนติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกระทบ
เพื่อคาดคะเนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และกำหนดแผนการบริหารสิ่งแวดล้อม มาตรการหรือแนวทางในการป้องกัน ปรับปรุงแก้ไขหรือลดผลกระทบภายนอกทางลบแล้ว ยังต้องมีการวางแผนเพื่อติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างและหลังดำเนินโครงการ
ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านสังคม
การวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสังคม
โดยเริ่มแรกจะต้องศึกษาพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ สภาพแวดล้อม ประชากร ลักษณะโครงสร้างของสังคม วัฒนธรรม ทัศนคติและความต้องการของชุมชน และประมาณการขอบเขต ขนาดของผลกระทบ กลุ่มประชากรที่จะได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ระยะเวลาในการได้รับผลกระทบ รวมทั้งสำรวจความต้องการของประชากรและสร้างฐานข้อมูล ประเมินสถานภาพและผลกระทบทางด้านสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ
ประมาณการมูลค่าผลกระทบทางสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบ
วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยคำนึงถึงผลกระทบภายนอกทั้งทางลบและทางบวกที่มีต่อสวัสดิการทางสังคมซึ่งจะให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันหรือถ่วงน้ำหนักให้กับกลุ่มที่มีรายได้ต่ำมากกว่าผู้มีรายได้สูง นอกจากนั้นจะประมาณการเปรียบเทียบผลกระทบทางสังคมทั้งทางบวกและทางลบในกรณีที่ไม่มีโครงการกับกรณีที่มีโครงการเกิดขึ้นว่าจะมีผลกระทบอย่างไรหรือประมาณการต้นทุนและผลตอบแทนว่าเป็นอย่างไร
แนวทางการปรับปรุงแก้ไขโครงการให้เหมาะสม
วิเคราะห์หาผลกระทบที่จะมีต่อสวัสดิการของสังคม โครงสร้างของสังคม สถาบัน วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมของประชากรแล้วยังต้องหามาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขโครงการให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมของชุมชนและหามาตรการหรือแนวทางในการลดผลกระทบทางลบให้เหลือน้อยที่สุดและในขณะเดียวกันต้องหามาตรการในการเพิ่มผลกระทบทางบวกหรือเพิ่มสวัสดิการทางสังคมให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
การติดตามประเมินผล
ประมาณการผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีแผนการในการติดตามประเมินผลว่าเป็นไปตามที่ประมาณการหรือคาดคะเนไว้หรือไม่อย่างไร เนื่องจากในทางปฏิบัติอาจจะเกิดผลกระทบทางลบอย่างอื่นที่มิได้คาดไว้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามประเมินผลตามมาภายหลัง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและหากสามารถเพิ่มขึ้นความสามารถของชุมชนและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการจะมีผลทำให้โครงการประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลจะทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสิ่งแวดล้อม
เริ่มแรกจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและกำหนดขอบเขตการศึกษา พื้นที่ สภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งก่อนเกิดโครงการและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลังจากมีโครงการว่ามีผลกระทบอย่างไร
การประมาณการหรือประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หลังจากวิเคราะห์ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการจะประเมินผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนภายนอก จึงประมาณการมูลค่าผลกระทบภายนอกทั้งทางบวกและทางลบซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการและนำข้อมูลในการวิเคราะห์โครงการทางด้านสิ่งแวดล้อมไปร่วมพิจารณากับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเทคนิคและทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อนำไปศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
การป้องกันและปรับปรุงแก้ไข
วางแผนหาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือหาแนวทางในการลดผลกระทบภายนอกทางลบให้เหลือน้อยที่สุดหรือกำจัดให้หมดไปแล้วยังหามาตรการในการเพิ่มผลกระทบภายนอกทางบวกหรือฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการในการชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบและพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเพื่อจะทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การประชาสัมพันธ์ สื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบ
เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปได้ควรมีการวางแผนประชาสัมพันธ์ สื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ
การติดตาม ตรวจสอบ
การวิเคราะห์โครงการทางด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการวางแผน จัดระบบการติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งอาจจะคาดเคลื่อนจากที่ประมาณการไว้ ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ทั้งผลทางด้านบวกและด้านลบ
ทั้งนี้ ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการบางโครงการอาจไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของแต่ละโครงการ บางโครงการอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม พร้อมเสนอแนวทางป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนั้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบังคับให้โครงการบางประเภทต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาเรื่อยๆเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับประกาศแก้ไขเพิ่มเติมใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2555 เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงาน  การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมี 35 ประเภท เช่น โครงการเหมืองแร่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ
2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์หรือ
3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
2. แฟ้มสะสมผลงาน
3. การสอบสัมภาษณ์

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่ม  เชิงเศรษฐกิจ

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

การประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อมเพราะมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ยอมจะมีผลกระทบกับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน ยอมเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์และกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์หรือกลุ่มการเมืองท้องถิ่น และต้องศึกษาระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับในแต่ละพื้นที่ จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นโครงการขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์โครงการทางด้านการบริหารจัดการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริหารโครงการและองค์กรจะสามารถดำเนินโครงการได้สำเร็จลุล่วง เนื่องจากการดำเนินโครงการจะต้องประสบกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอนและมีข้อจำกัดทางด้านเวลา งบประมาณและคุณภาพตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์โครงการหรือการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการที่เลือกมีความเหมาะสมคุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถดำเนินการได้จริงตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยสามารถพิจารณาได้ ดังข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)    (ข) ความต้องการด้านความรู้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

- แฟ้มสะสมผลงาน

- การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ