หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-4-010ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 4 


1 2631 นักเศรษฐศาสตร์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของทรัพยากร ประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส วิเคราะห์เครื่องมือทางการเงินโดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน มีทักษะทางความคิดและปฏิบัติที่หลากหลายครอบคลุมการปฏิบัติงาน หาข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2631 นักเศรษฐศาสตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01241 ประเมินมูลค่าของทรัพยากร 1.1 อธิบายมูลค่าทรัพยากรการผลิตและวัตถุดิบ เช่น เครื่องจักร ที่ดิน ค่าจ้างแรงงาน ที่มีการคำนึงถึงภาระทางภาษี 01241.01 79388
01241 ประเมินมูลค่าของทรัพยากร 1.2 จำแนกมูลค่าทรัพยากรตามต้นทุนการผลิต 01241.02 79389
01242 ประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส 2.1 อธิบายต้นทุนค่าเสียโอกาสจากกิจกรรมทางเลือกต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงสุดที่ไม่ได้ดำเนินการในโครงการ 01242.01 79390
01242 ประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส 2.2 จำแนกต้นทุนค่าเสียโอกาสที่หน่วยธุรกิจยอมสละไปเพื่อดำเนินโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 01242.02 79391
01243 วิเคราะห์เครื่องมือทางการเงิน 3.1 ระบุเกณฑ์การตัดสินใจดำเนินโครงการตามเครื่องมือทางการเงินของระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิอัตราผลตอบแทนภายใน อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน 01243.01 79392
01243 วิเคราะห์เครื่องมือทางการเงิน 3.2 อธิบายวิธีการตั้งราคา คำนวณต้นทุนและการจัดทำสมมติฐานรายได้ และรายจ่าย (ต้นทุน) 01243.02 79393
01243 วิเคราะห์เครื่องมือทางการเงิน 3.3 อธิบายหลักการการบันทึกรายงานทางบัญชีและการเงินประกอบด้วย งบดุล งบกระแสเงินสด งบกำไรขาดทุน 01243.03 79394
01243 วิเคราะห์เครื่องมือทางการเงิน 3.4 อธิบายอัตราส่วนทางการเงิน ประกอบด้วยระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน 01243.04 79395

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับประเมินความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

1.1 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

แนวคิดพื้นฐานของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ว่า เป็นการศึกษาและการจัดทำเอกสารที่ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นอันแสดงถึงเหตุผลสนับสนุนความถูกต้องสมบูรณ์ของโครงการ เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการที่ดี โดยโครงการที่ดีได้แก่ โครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเมื่อปฏิบัติแล้วให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนการศึกษาความเป็นไปได้จึงมีความหมายเช่นเดียวกับการวิเคราะห์โครงการ (Project Analysis) ซึ่งเป็นวิธีแสดงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดภายใต้จุดมุ่งหมายหรือความต้องการของสังคมในรูปแบบที่สะดวกและเหมาะสม เพราะการวิเคราะห์โครงการ เป็นการประเมินข้อดีและข้อเสีย หรือผลประโยชน์ (Benefit) ต้นทุน (Cost)   ต่าง ๆ ของโครงการ โดยจะเน้นการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ โครงการจะมีความคุ้มค่าก็ต่อเมื่อผลประโยชน์มีค่าสูงกว่าต้นทุน ฉะนั้นการวิเคราะห์โครงการจึงมีส่วนช่วยต่อการตัดสินใจ ในการที่จะใช้ทรัพยากรไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่าสูงสุดตามหลักวิชาการ การพิจารณาเชิงเศรษฐศาสตร์ในด้านคุณค่าของผลงานเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจึงมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โครงการ โดยรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบเชิงปริมาณและคุณสมบัติอื่น ๆ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมาตรการที่ถูกต้องตามการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน (Financial Analysis)และทางเศรษฐศาสตร์(Economic Analysis)ความเป็นไปได้ทางการเงิน หรือการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน เป็นการพิจารณาโครงการโดยมองในแง่การเงินเพียงด้านเดียว ด้วยการวัดค่าผลได้ผลเสียในราคาตลาด (Market Price)กล่าวคือ การวิเคราะห์มุ่งแสดงกระแสของผลตอบแทน หรือรายได้ที่สร้างขึ้นโดยโครงการ และค่าใช้จ่ายในรูปการลงทุน และทุนดำเนินการที่ต้องเสียในการดำเนินงานตามโครงการนั้น และต้นทุนนี้คิดจากราคาที่ปรากฏในตลาด และทุนดำเนินการ ไม่ได้มีการปรับค่าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของสินค้าและปัจจัยการผลิตแต่อย่างใด ดังนั้นการวิเคราะห์ทางการเงินนี้ก็เพื่อหาข้อยุติว่าโครงการ  ที่พิจารณาอยู่นั้นจะมีฐานะทางการเงินเป็นเช่นไร และไปรอดหรือไม่ทางด้านการเงิน

การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ หรือการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในการประเมินค่าโครงการ (Project Appraisal) คือ เป็นการพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการลงทุนหรือการดำเนินการในโครงการใดโครงการหนึ่งว่ามีความคุ้มค่าและสมควรนำไปลงทุนหรือไม่ โดยวิเคราะห์โครงการที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นว่าจะให้ผลตอบแทนต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศหรือไม่เพียงใด เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผลการวิเคราะห์คือ ถ้าผลประโยชน์ของโครงการนั้นสูงกว่าต้นทุนโครงการนั้นก็เป็นโครงการที่ดีทาง

เศรษฐศาสตร์ (Economically Sound or Profitable)แต่ถ้าโครงการใดให้ผลประโยชน์ต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นโครงการนั้นก็เป็นโครงการที่ไม่ดีทางเศรษฐศาสตร์ (Economically Unwise or Unprofitable) การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจึงมีส่วนช่วยอย่างสำคัญต่อการตัดสินใจในการที่จะรับหรือปฏิเสธโครงการการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ จะใช้ราคาที่แน่นอนที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงเป็นราคาที่ถูกปรับค่าเรียกว่า ราคาเงา (Shadow Price) หรือ ราคาในทางบัญชี (Accounting Price) สำหรับรายการค่าใช้จ่าย   ที่ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ (ประสิทธิ์, 2538: 100-103)

1) ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) 

ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ค่าเสื่อมราคาจะไม่รวมเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ ทั้งนี้ เพราะเมื่อมีการซื้อเครื่องจักรเครื่องมือหรือสินทรัพย์ถาวรมาใช้กับโครงการในปีใดก็ได้มีการพิจารณาเป็นค่าใช้จ่าย  ในปีนั้นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีการหักค่าเสื่อมราคาของการใช้ในปีต่อๆ มาอีก 

2) ค่าชาระหนี้ (Debt Service) 

การชำระหนี้ก็เหมือนกับค่าเสื่อมราคาที่มีลักษณะกระจาย (Spreading) คือ กระจายค่าใช้จ่ายออกไปเป็นเวลาหลาย ๆ ปี ในขณะที่เรานับค่าใช้จ่าย ณ เวลาที่มีการใช้ทรัพยากรนั้น การชำระหนี้สินจึงไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ และจะต้องมีการหักออกจากค่าใช้จ่ายหากมี เพราะเป็นการโอนเปลี่ยนมือทางการเงินที่ไม่ได้แสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างแท้จริง 

3) ค่าภาษี (Tax Payment) 

ภาษีทุกชนิดที่โครงการจ่ายให้กับรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นเงินที่จ่ายไปตามจริงแต่การวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจถือเป็นเพียงรายจ่ายโอนจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการไปสู่ภาครัฐ ไม่ได้มีส่วนต่อการใช้ทรัพยากรจริงๆ ของโครงการแต่อย่างใด ดังนั้นต้องมีการหักรายการภาษีออกจาก ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ 

4) รายจ่ายสารอง (Contingency) 

ในทางเศรษฐศาสตร์จะคิดเฉพาะเงินสำรองจ่ายที่กันไว้เฉพาะรายการที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่รวมถึงเงินสำรองจ่ายสำหรับเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อเป็นการเพิ่มราคาให้กับสินค้าทั่วไปโดยกระทบราคาที่ใช้คำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ในอัตราเดียวกันจึงไม่ส่งผลต่อราคาโดยเปรียบเทียบ (Relative Price) สำหรับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ราคาที่นามาใช้ในการคำนวณต้นทุน ผลประโยชน์จะต้องเป็นราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพยากรนั้นๆ ที่เรียกว่า ราคาเงา 

5) ต้นทุนจม (Sunk Cost) ต้นทุนจม หมายถึง รายจ่ายที่ได้จ่ายไปแล้วในอดีตของโครงการส่วนการวิเคราะห์โครงการนั้น เป็นการพิจารณาถึงรายจ่ายของโครงการแต่เฉพาะค่าใช้จ่ายในอนาคตที่หวังผลตอบแทนในอนาคตเช่นกัน แล้วนำมาเป็นฐานของการตัดสินใจรายจ่ายต่างๆ ในอดีตซึ่งเป็นต้นทุนจมจึงไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ นอกจากนั้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและทางการเงินก็เพื่อช่วยการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรไปอย่างไรจึงจะดีที่สุด จากบรรดาหนทางเลือกต่างๆ ที่มีให้เลือก การตัดสินใจจึงเกี่ยวข้องกับว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน สิ่งที่เป็นอดีตก็ขอให้เป็นอดีตไปไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วได้แต่ในการวิเคราะห์ทางการเงินจะใช้ราคาตลาด (Market Price) ซึ่งจะรวมเอาภาษี เงินอุดหนุน ดอกเบี้ย เข้าไปด้วย โดยภาษีและดอกเบี้ยถือว่าเป็นต้นทุนเพราะจ่ายให้กับแหล่งเงินทุนภายนอก และเงินอุดหนุนคือผลตอบแทนของโครงการ

2. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำหนดวิธีประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ

1. ความแตกต่างของวิธีการวิเคราะห์ทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์ (ประสิทธิ์, 2538: 151) จะใช้ราคาตลาด (Market Price) ซึ่งจะรวมเอาภาษี เงินอุดหนุน ดอกเบี้ย เข้าไปด้วย โดยภาษีและดอกเบี้ยถือว่าเป็นต้นทุนเพราะจ่ายให้กับแหล่งเงินทุนภายนอก และเงินอุดหนุนคือผลตอบแทนของโครงการ ซึ่งสามารถสรุปความแตกต่างของการวิเคราะห์ทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์ ได้ดังนี้ 

1. ความแตกต่างเรื่องราคาที่ใช้ 

2. ความแตกต่างด้านการคิดค่าใช้จ่าย 

3. ความแตกต่างด้านการคิดผลตอบแทน 

1.1 ความแตกต่างเรื่องราคาที่ใช้ 

โดยการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจะใช้ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของผลผลิตออกและทรัพยากรที่ใช้ ฉะนั้น หากราคาตลาดที่ปรากฏอยู่ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงดังกล่าว จะต้องมีการปรับราคาและใช้ราคาเงาหรือราคาทางบัญชีแทน ส่วนการวิเคราะห์ทางการเงินจะใช้ราคาตลาดที่รวมถึงค่าภาษีและเงินอุดหนุนโดยตรง โดยไม่ต้องมีการปรับแต่ประการใด 

1.2 ความแตกต่างด้านการคิดค่าใช้จ่าย 

โดยการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจะพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของสังคมจากการมีโครงการ ในขณะที่การวิเคราะห์ด้านการเงินจะคิดแต่เฉพาะรายจ่ายภายในโครงการ จึงไม่รวมรายจ่ายทางอ้อมอื่น ๆ ที่ตกแก่สังคมว่าเป็นรายจ่ายของโครงการและในขณะที่รายจ่ายทางด้านดอกเบี้ย ค่าภาษีอากร และค่าชาระหนี้ ไม่คิดรวมว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ แต่กลับถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจยังคิดในรูปของค่าเสียโอกาส เช่น ค่าเสียโอกาสของการใช้แรงงานและทุนของตนเอง แต่ทางการเงินไม่ได้คิดในรูปของ ค่าเสียโอกาส เป็นต้น

1.3 ความแตกต่างด้านการคิดผลตอบแทน 

ความแตกต่างด้านการคิดผลตอบแทน เป็นเช่นเดียวกับทางด้านค่าใช้จ่ายที่ผลตอบแทนบางประเภทคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เช่น ผลตอบแทนที่ไม่มีตัวตน แต่ไม่คิดเป็นผลตอบแทนในทางการเงิน และในขณะเดียวกันผลตอบแทนบางรายการไม่คิดว่าเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแต่คิดเป็นผลตอบแทนทางการเงิน เช่น เงินอุดหนุนนอกจากนั้น อัตราส่วนลดที่นำมาใช้ยังมีความแตกต่างกัน โดยการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จะใช้ค่าเสียโอกาสของทุน ในขณะที่การวิเคราะห์ทางการเงินหรือเอกชนจะใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดเป็นอัตราส่วนลด

2. การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ (วันชัย ริจิรวนิช และ ชอุ่ม พลอยมีค่า)

ส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติซึ่งกำหนดเพื่อใช้เปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกใช้แนวทางการแก้ปัญหาของระบบก็คือ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ในแนวนี้เกี่ยวเนื่องในเชิงเศรษฐศาสตร์จึงไม่พ้นในเรื่องการวิเคราะห์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์อื่นๆ โดยมีจำนวนเงิน เป็นหน่วยเปรียบเทียบถ้าจะพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่กำหนดให้ดีแล้วจะพบว่ามีสองลักษณะคือ ลักษณะ   ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ สำหรับการดำเนินการในปัจจุบันและการดำเนินการในอนาคต โดยมีค่าใช้จ่ายและผลได้ต่างๆ เป็นการคาดคะเนสำหรับอนาคตทั้งสิ้น การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ มีหลักการดังต่อไปนี้ 

1. เงินมีความสัมพันธ์กับเวลา 

2. การเปลี่ยนแปลงในอนาคตมีไม่มาก 

3. การคาดหมายอนาคตมีความแม่นยำพอควร 

โดยอาศัยหลักการดังกล่าว การวิเคราะห์จะทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลรายรับรายจ่ายในอนาคตของแต่ละแนวปฏิบัติ แล้วจึงเปรียบเทียบปรับเข้าสู่เกณฑ์การเปรียบเทียบมาตรฐานเดียวกันคือ จะใช้วิธีการเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายทั้งสิ้น ด้วยอัตราดอกเบี้ยอัตราหนึ่งให้แสดงค่าเชิงปริมาณเป็น   ค่าเทียบเท่าเงินต้นปัจจุบันหรือจะใช้วิธีเปรียบเทียบเป็นเงินรายปีเท่าๆ กันก็ได้ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นก่อนจะศึกษารายละเอียดวิธีการต่างๆ ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ หลักการและแนวคิดต่างๆ

การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ที่ควรทราบมีดังนี้ 

1. นักวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์จะต้องทราบเป้าหมายที่แน่นอนของปัญหา เพื่อจะได้สามารถกำหนด คาดคะเน และเลือกองค์ประกอบที่มีขนาดและความคุ้มค่าที่ต้องการได้

2. การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่การตัดสินใจของฝ่ายจัดการ ดังนั้นนักวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ จึงเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูลสำหรับฝ่ายจัดการ และการตัดสินใจจะไม่จำเป็นต้องคล้อยตามผลการวิเคราะห์ด้วย 

3. ไม่ควรมีการตัดสินใจโดยขาดหลักการเมื่อสามารถวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ได้ การตัดสินใจของฝ่ายจัดการถึงแม้จะทำได้โดยอาศัยประสบการณ์และความคิดเห็น โดยไม่ต้องอาศัยตัวเลขข้อมูลต่างๆ แต่ถ้าจะใช้ตัวเลขข้อมูลต่างๆ ที่ได้เป็นส่วนประกอบ โอกาสที่จะตัดสินใจได้ดีก็มีมากขึ้น 

4. ควรพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่จะเป็นไปได้ทุกๆ แนวทางเพราะว่าการวิเคราะห์เป็นการเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติทั้งหมดเพื่อกำหนดหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด 

5. ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ควรแยกองค์ประกอบออกเป็นส่วนที่สามารถวิเคราะห์เป็นตัวเลขเป็นจำนวนเงิน และส่วนที่ไม่สามารถวิเคราะห์เป็นตัวเลขแท้จริงได้ 

6. การลงทุนหรือส่วนอื่น ๆ ของรายได้และรายจ่ายในอดีตเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การตัดสินใจจะเป็นเรื่องของอนาคต จึงไม่ควรนำส่วนที่ได้ผ่านไปแล้วมารวมคิดด้วย 

7. รายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ควรพิจารณาจากช่วงเวลาเดียวกัน การเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติติจึงจะเป็นการเปรียบเทียบที่สมเหตุสมผล 

8. ช่วงเวลาในการวิเคราะห์ไม่ควรเกินกว่าระยะที่จะสามารถคาดหมายได้ถูกต้อง ดังที่เข้าใจแล้วว่า การวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติเป็นเรื่องของอนาคต ดังนั้นการคาดหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ  มากปกติ เราจะมีช่วงที่สามารถคาดหมายได้ถูกต้องพอสมควร การวิเคราะห์เฉพาะในช่วงนั้นก็พอจะถูกต้อง  ได้บ้าง แต่ถ้าไปวิเคราะห์ช่วงซึ่งการคาดหมายอาจจะไม่ถูกต้อง การวิเคราะห์ก็หมดความหมาย 

9. เปรียบเทียบองค์ประกอบทุกอย่างในการวิเคราะห์ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน   การเปรียบเทียบจึงจะทำได้มาตรฐาน 

10.ความแตกต่างของแนวทางปฏิบัติเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการตัดสินใจ  ในการเปรียบเทียบแนวปฏิบัติหลายๆ แนว การศึกษาผลแตกต่างของแต่ละแนวทางเทียบกับทุกๆ แนวทางจะช่วยให้การตัดสินใจได้ถูกต้องขึ้น 

11.การวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติต่างๆ ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์คุณสมบัติร่วมซึ่งมีคุณค่าเท่าๆ กันสำหรับแนวทางปฏิบัตินั้นๆ 

12.การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ เป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจเพื่อการลงทุนในขณะเดียวกัน เกี่ยวกับการหาเงินทุน งานทั้งสองส่วนจึงเป็นอิสระต่อกัน 

13.ในการตัดสินใจนอกเหนือจากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ แล้วจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ทีมีเงื่อนไขไม่แน่นอนด้วย 

14. การตัดสินใจต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเป้าหมายที่แน่นอน

3. แนวคิดเกี่ยวกับอายุโครงการ

อายุของโครงการ (Project Life) ก็คือ ช่วงเวลาที่โครงการยังคงให้ผลตอบแทน อายุโครงการ  จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างโครงการ และสิ้นสุดเมื่อโครงการไม่สามารถจะให้ผลประโยชน์ได้อีกต่อไป สามารถ  แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อสร้าง (Construction or Implementation Period) และระยะการดำเนินงาน (Operational Period) โดยหลักการสามารถพิจารณาได้เป็น 2 ประเภท คือ อายุทางเศรษฐกิจ (Economic Life) ซึ่งเริ่มตั้งแต่โครงการให้ผลตอบแทนจนถึงเวลาที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าบำรุงรักษามีแนวโน้มสูงขึ้นเกินกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับและอายุทางเทคนิค (Technical Life) จะพิจารณาตามอายุการใช้งานของทรัพย์สินประเภททุนโดยยึดเหตุผลทางวิศวกรรมจากเวลาที่โครงการเริ่มดำเนินงานไปจนถึงเวลาที่โครงการหมดสภาพการใช้งานทางเทคนิค

4. แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนและประโยชน์ของโครงการ

การวัดต้นทุนและผลประโยชน์นั้นจะต้องคำนึงถึง คำถาม 2 ประการ คือ ผู้ตัดสินใจคือใครและวัตถุประสงค์ของเขาเหล่านั้นคืออะไร ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่า เป็นการพิจารณาจากแง่มุมของบุคคลโดยตรงหรือของสังคมโดยรวมนั่นคือ การวิเคราะห์ทางด้านการเงินใช้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่วัดหรือนับจากแง่มุมของบุคคลหน่วยงานหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจใช้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่วัดหรือนับจากแง่มุมของสังคมโดยส่วนรวม มีรายละเอียดดังนี้

4.1 ต้นทุนของโครงการ 

ต้นทุนโครงการ อาจจำแนกได้เป็นต้นทุนทางตรง (Direct cost) และต้นทุนทางอ้อม(Indirect Cost) ซึ่งต้นทุนทางตรง หมายถึง มูลค่าของการใช้สิ่งที่ใส่เข้าไปเพื่อติดตั้งดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ ค่าใช้จ่ายประเภทนี้จัดเป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านการลงทุนและการดำเนินงาน ส่วนต้นทุนทางอ้อม หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีโครงการหรือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากผลพลอยได้ของโครงการ นอกจากนี้ ต้นทุน โครงการ ยังจำแนกออกเป็นต้นทุนที่วัดเป็นตัวเงินได้ (Tangible Cost) และต้นทุนที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้(Intangible Cost) (พรเพ็ญ, 2539) 

4.2 ผลประโยชน์โครงการ 

ผลประโยชน์โครงการอาจจำแนกได้เป็นผลประโยชน์ทางตรง (Direct Benefit) และผลประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefit) ซึ่งผลประโยชน์ทางตรง หมายถึงผลประโยชน์ของโครงการที่เป็นเจตจำนงหรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่วน ผลประโยชน์ทางอ้อมหมายถึง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากกลุ่มเป้าหมายและผู้ได้รับประโยชน์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนในการลงทุนดำเนินงานโครงการแต่อย่างใด นอกจากนี้ผลประโยชน์โครงการยังจำแนกได้เป็นผลประโยชน์ที่วัดค่าเป็นตัวเงินได้ (Tangible Benefit) และผลประโยชน์ที่วัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ (Intangible Benefit) (พรเพ็ญ, 2539) 

4.3 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) 

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ คือมูลค่าสุทธิของรายได้และค่าใช้จ่ายรวมตลอดโครงการและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) คือยอดสุทธิของเงินทุนโครงการมากกว่าค่าใช้จ่ายของโครงการหลังจากหักต้นทุนของโครงการรวมกับพิจารณามูลค่าเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา (Time Value of Money)โดยต้องการให้มูลค่าของต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงและ NPV ก็คือมูลค่าเฉลี่ยของส่วนกองทุนที่ใช้ในการดาเนินธุรกิจ วิธีของ NPV จะนำ(Time Value of Money ) ลงในบัญชี เนื่องจากการลงทุนและการดำเนินการของโครงการมีระยะเวลายาว และเป็นช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเปรียบเทียบค่าประโยชน์และต้นทุนของโครงการจึงจำเป็นต้องนาค่าของเงินมาปรับให้อยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เพื่อจะได้เห็นผลตอบแทนสุทธิที่แท้จริงเป็นมูลค่าเงินปัจจุบัน โดยใช้อัตราคิดลด(Discount Rate)ซึ่งความหมายของ Time Value of Money หมายถึงการที่ยอดรวมที่จะได้รับในอนาคตมีค่าน้อยกว่ายอดรวมที่จะได้รับในปัจจุบัน เพราะว่ายอดเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นสามารถที่จะนำไปใช้ในการลงทุนซึ่งก่อให้เกิดผลตอบแทนได้ มูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นการพิจารณา ค่าปัจจุบันหรือค่าเท่าของเงินลงทุน ณ เวลาปัจจุบันของเงินในอนาคต โดยอาศัยอัตราดอกเบี้ย ต่อช่วงเวลาเพื่อกำหนดค่าในอนาคตเพื่อสัมพันธ์กับปัจจุบัน ในการวิเคราะห์หามูลค่าปัจจุบันสุทธิ ใช้การคำนวณจากสูตร

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = S  .  

(1+i) n

S = มูลค่าของเงิน ที่เป็นค่ากระแสเงินสดสุทธิสำหรับแต่ละปีที่ใช้ในการคำนวณหาค่า NPV      ซึ่งค่ากระแสเงินสดนี้ใช้แทนความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายประจำปีของสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในโครงการ กับค่าใช้จ่ายประจาปีของสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่มีอยู่ 

I = อัตราดอกเบี้ย คืออัตราส่วนลดหรืออัตราผลตอบแทนของการลงทุนในเวลาที่คำนวณค่า NPV ตัวเลือกอื่นๆ ในการคิดคำนวณอัตราส่วนลด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินลงทุนและอัตราการตอบแทนของโครงการอื่นๆ 

n = จำนวนปีทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณหาค่า NPV การคำนวณนั้นคิดในแต่ละปีที่ถูกนำมาพิจารณา 

สิ่งที่จะช่วยให้มีความเข้าใจเรื่อง NPV ขั้นแรกควรที่จะศึกษาส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องถามที่จะช่วยให้เข้าใจว่า NPV คืออะไรนั้น เช่น ค่าของเงิน 1 บาทในวันนี้กับเงิน 1 บาทในอีก 1 ปีถัดไปเท่ากันหรือไม่

คำตอบก็คือไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลานั่นเอง ค่าของเงิน 1 บาทในอีก 1 ปีถัดไปนับจากวันนี้ ย่อมมีค่าน้อยกว่าค่าของเงิน 1 บาทในวันนี้ ซึ่งอาจเป็นไปเนื่องด้วยอัตราส่วนลดหรืออัตราผลตอบแทนการลงทุน เป็นต้น อธิบายง่าย ๆ คือ สมมุติว่าให้ค่าของอัตราผลตอบแทนของการลงทุนมีค่าเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ค่าของเงิน 1 บาทในวันนี้มีค่าเท่ากับค่าของเงิน 1.1 บาท ในอีก 1 ปีถัดไปและ  ค่าของเงิน 1 บาท ในอีก 1 ปีถัดไปก็ย่อมมีค่าเท่ากับค่าของเงิน 0.91 บาทในวันนี้ เพราะว่ามีการคิดในเรื่องของดอกเบี้ยด้วย ซึ่งหากอัตราผลตอบแทนการลงทุนที่มีค่าเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ค่าของเงิน 0.91 บาท มีค่าอัตราผลตอบแทนของการลงทุนเท่ากับเงิน 0.09 บาท ถ้าเสนอ 120 บาทในหนึ่งปีจากปัจจุบันและอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) และอัตราที่เกี่ยวข้อง (Interest Rate) คือ 20% ถ้าในตอนนี้การทางานถอยค่ากลับไปในการกำหนดของวันนี้อยากจะเป็น 100 บาท สิ่งนี้ถูกเรียกว่า การแสดงค่าและเมื่อเงินสดหมุนเวียนเกินจำนวนของปีถูกผสมใว้ในวิธีการแสดงออกเป็นรูปสรุปรวมทั้งหมดนี้ ถูกเรียกว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) การคำนวณที่ดีที่สุด

4.4 ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ (Payback Period)

ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ(Payback Period) หมายถึง ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการที่ทำให้ผลตอบแทนสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนพอดี หรืออาจกล่าวได้ว่าระยะเวลาคืนทุน ของโครงการ คือ จำนวนปี ในการดำเนินงานซึ่งทำให้ผลกำไรที่ได้รับในแต่ละปี รวมกันแล้ว มีค่าเท่ากับเงินลงทุนเริ่มแรก ระยะเวลาคืนทุน (จำนวนปี ) สามารถคำนวณได้ตามสูตรการคำนวณดังนี้

ระยะเวลาคืนทุน =  ค่าใช้จ่ายในการลุงทุน

     ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี

เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจโดยการพิจารณาระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) จากโครงการที่ได้ ผลตอบแทนคืนภายในระยะเวลาอันสั้น

เกณฑ์การตัดสินใจ

โดยทั่วไปเกณฑ์ตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่นั้นจะพิจารณาจากระยะเวลาคืนทุนที่คำนวณได้เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นๆ มีความต้องการเงินต้นคืนกลับมาในช่วงเวลาใด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระยะเวลา 5 ปี คือระยะเวลาที่โครงการต้องการเงินต้นกลับคืนมา การตัดสินใจจะเป็นดังนี้

หาก ระยะเวลาคืนทุน ≤ 5 ปี ก็ตัดสินใจลงทุน

หาก ระยะเวลาคืนทุน> 5 ปี ก็ตัดสินใจไม่ลงทุน

วิธีการคำนวณระยะเวลาคืนทุนนี้ เป็นการพิจารณาอย่างคร่าวๆและมีความสะดวกในการเปรียบเทียบหรือจัดลำดับโครงการโดยเฉพาะโครงการขนาดเล็ก การคืนทุนเร็วจะช่วยให้โครงการมีสภาพคล่องดีขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยลง แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่ไม่ได้นำเรื่องค่าของเงินตามเวลามาพิจารณาและไม่ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดที่ได้รับภายหลังระยะเวลาคืนทุน

4.5 การวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis)

โดยหลังจากที่ได้ตัวชี้วัดทางการเงินแล้ว หากผลที่ออกมานั้นทำให้โครงการสามารถ ยอมรับได้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ใจว่ามีความแน่นอนในการประเมินผลตอบแทนและต้นทุนโครงการ เพราะการวิเคราะห์ เป็นการใช้ข้อมูลในปัจจุบันและแนวโน้มจากอดีตซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลในอนาคตดีที่สุด       แต่เนื่องจาก อนาคตเป็นเรื่องของความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงภัยอยู่ด้วย โอกาส ผิดพลาดจึงอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึง ต้องมีการทดสอบโดยการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้

1. ค่าในแง่ดี เงื่อนไขเชิงบวก 

   - ต้นทุนลด 10 % ผลประโยชน์เพิ่ม 10 % 

   - ต้นทุนลด 10 % ผลประโยชน์คงที่ 

   - ต้นทุนคงที่ ผลประโยชน์เพิ่ม 10 %

2. ค่าในแง่ร้ายเงื่อนไขเชิงลบ 

   - ต้นทุนเพิ่ม10 % ผลประโยชน์ลด 10 % 

   - ต้นทุนเพิ่ม 10 % ผลประโยชน์คงที่ 

   - ต้นทุนคงที่ ผลประโยชน์ลด 10 %

ซึ่งผลวิเคราะห์ความอ่อนไหวในกรณีต่างๆ ทำให้ตัวชี้วัดความคุ้มค่าทั้ง 3 ตัว ของโครงการเปลี่ยนแปลงไป

4.6 อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR)

อัตราผลตอบแทนภายใน หมายถึง ผลตอบแทนเป็นร้อยละของโครงการหรืออัตราคิดลดในกระบวนการคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับศูนย์ ถ้าอัตราคิดลดระดับหนึ่ง ที่ใช้ในกระบวนการคิดลดแล้วทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าลดลง และลดลงต่อไปเท่าที่อัตราคิดลดยังคง สูงขึ้นตามลำดับ สุดท้ายจะมีอัตราคิดลดลดระดับหนึ่งที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งก็คืออัตราผลตอบแทนภายในของโครงการในการศึกษานี้การหาค่า iซึ่งจะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นศูนย์ ใช้วิธีลองเพิ่มและลดอัตราคิดลด แล้วพิจารณาดูว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นอย่างไร ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นบวกหรือมากกว่าศูนย์แสดงว่าถึงจะเสียดอกเบี้ยลงทุนรายได้ยังคงเกินรายจ่าย อยู่อีกจำนวนหนึ่ง อัตราคิดลดที่เลือกจึงยังคงต่ำเกินไป ยังสามารถเพิ่มให้สูงขึ้นได้ ขั้นต่อไปลองเพิ่มอัตรา คิดลด ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นลบหรือน้อยกว่าศูนย์แสดงว่าอัตราคิดลดที่ต้องการจะต้องอยู่ในระหว่าง สองค่าดังกล่าว ในการคำนวนหาค่าอัตราผลตอบแทนภายในโครงการหรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) นั้นคล้ายคลึงกับการคำนวนหาค่า NPV แต่ส่วนที่แตกต่างกันนั้นอยู่ที่ค่าตัวแปร iค่า IRR ถูกใช้แทน อัตราส่วนลดหรืออัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุนของโครงการ

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = S  .  

(1+i) n

S = มูลค่าของเงินที่เป็นค่ากระแสเงินสดสุทธิสำหรับแต่ละปี ที่ใช้ในการคำนวณหาค่า NPV ซึ่ง ค่ากระแสเงินสดนี้ใช้แทนความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายประจำปี ของสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในโครงการกับค่าใช้จ่ายประจำปี ของสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่มีอยู่ 

I = อัตราผลตอบแทนภายใน 

n = จำนวนปี ทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณหาค่า IRRการคำนวณนั้นคิดในแต่ละปี ที่ถูกนำมาพิจารณา

เกณฑ์การตัดสินใจ

เกณฑ์การตัดสินใจสำหรับวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ คือ ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิที่คำนวณได้ของโครงการมีค่ามากกว่า 0 ก็ตัดสินใจลงทุนหรือยอมรับโครงการนั้น หากมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าน้อยกว่า 0 หรือ มีค่าเป็นลบก็ไม่ลงทุนในโครงการดังกล่าวเนื่องจากไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน สำหรับในกรณีที่มีโครงการลงทุนที่น่าสนใจมากกว่า 1 โครงการ จะต้องจัดอันดับโครงการโดยเรียงลำดับตามมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่คำนวณได้จากค่ามากไปหาค่าน้อย

4.7 อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio: BCR)

อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน หมายถึง การคำนวณมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์โครงการรวมหารด้วยมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนรวม 

อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) = ผลรวมมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ (NPB)

ผลรวมมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน (NPC) 

อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 1 หมายความว่า โครงการให้ผลประโยชน์รวมมากกว่า ต้นทุนรวม ซึ่งถือว่ายอมรับโครงการได้

5. การปรับราคาในการประเมินโครงการเพื่อให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์

การประเมินค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์สามารถใช้ราคาตลาด (Market Price) ในการประเมินโครงการ ได้ถ้าอยู่ภายใต้ระบบการแข่งขันสมบูรณ์ แต่เนื่องจากระบบตลาดในปัจจุบันไม่ใช่ระบบที่แข่งขันสมบูรณ์ ทำให้ราคาตลาดไม่สามารถนำมาใช้ในการประมาณค่าได้ จึงต้องมีการคำนวณหาราคาที่แท้จริงออกมา ราคาที่ คำนวณขึ้นมาเพื่อนำมาใช้แทนราคาตลาดในกรณีที่ราคาตลาดใช้ไม่ได้นี้คือราคาเงา (Shadow Price) หรือ ราคาทางการบัญชี (Accounting Price) การที่ต้องใช้ราคาเงาหรือราคาทางการบัญชีแทนที่จะเป็นราคาตลาด นั้น ก็เพราะว่าราคาตลาดไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงเหตุผลที่นำมาใช้อธิบายได้คือ ในโลกแห่งความเป็นจริง พบว่าแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์(Perfectly Competitive Paradigm) ไม่เป็นจริงราคาตลาดจึง มักจะแตกต่างไปจากราคาเหมาะสมทางสังคม ด้วยเหตุผลนี้ตลาดจึงเป็นแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีการตั้งราคา ขายของผู้ผูกขาด ( Monopolistic Pricing) การแทรกแซงตลาดของรัฐบาล (Government Intervention) ความไม่สมบูรณ์ในข่าวสารข้อมูลและความไม่รอบรู้ของผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาด (Imperfect Knowledge) ผลจากภายนอก (Externalities) ราคาเงาหรือราคาทางการบัญชี จึงเข้ามาแทนที่ราคาตลาดของผลผลิตและปัจจัยการผลิต เพื่อที่จะได้สะท้อนอย่างถูกต้องถึงต้นทุนทางสังคมหน่วยสุดท้ายที่ยอมสละไปกับส่วนอื่นของระบบ เศรษฐกิจ (ชูชีพ, 2544) ราคาเงานอกจากจะแสดงถึงความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคเพื่อที่จะได้มาซึ่งสินค้า และบริการแล้ว ยังแสดงถึงค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของทรัพยากรต่างๆ ที่นำมาใช้ใน โครงการนั้นๆ ด้วย ซึ่งถ้าหากราคาตลาดเท่ากับค่าเสียโอกาสหรือราคาเงาของผลผลิตและปัจจัยที่ใช้ในโครงการนั้น การวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องปรับราคาแต่อย่างใด เพราะผล จะออกมาเหมือนกับการวิเคราะห์ทางการเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาตลาดของผลผลิตและปัจจัยการ ผลิตมักจะไม่เท่ากับค่าเสียโอกาส เนื่องจากเหตุผลหลายอย่าง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เป็นไปตามสภาพที่แท้จริงของทรัพยากรนั้น ทำให้จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์ควบคู่ไปกับการ วิเคราะห์ทางด้านการเงินด้วย เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดการวิเคราะห์โครงการ ด้านเศรษฐศาสตร์ จะเริ่มจากการวิเคราะห์ทางการเงิน และปรับปรุงรายการหรือการปรับราคา(Price Adjustment) เพื่อให้เป็นการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ สามารถแยกออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 

1. การปรับสำหรับรายการเงินโอนทางตรง 

2. การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศได้ 

3. การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศไม่ได้ 

ในการปรับสำหรับรายการเงินโอนทางตรง ขั้นตอนแรกในการปรับราคาทางการเงินให้เป็นราคาเงา คือการขจัดรายการโอนทางตรงออกไป เพราะรายการเงินโอนทางตรงนี้ไม่เป็นเพียงค่าใช้จ่ายของการใช้ทรัพยากรที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิเรียกร้องต่อทรัพยากรที่แท้จริงที่โอนจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งในสังคมด้วย รายการเงินโอนโดยทั่วๆ ไป ได้แก่ ภาษี การอุดหนุนทางตรง และธุรกรรมสินเชื่อ ซึ่งจะรวมถึงเงินกู้ รายรับ การชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยจ่าย รายการทั้งหมดนี้จะต้องถูกตัดออกไปก่อนที่จะปรับปรุงบัญชีทางการเงินให้สะท้อนถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ

การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศได้ สินค้า หรือรายการที่ซื้อขาย ต่างประเทศได้ หมายถึง สินค้าที่นาเข้าหรือส่งออกได้จริงๆ หรือสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ในการนำเข้าและส่งออก การกำหนดมูลค่าเริ่มจากราคาชายแดน (Border Prices) อันเป็นราคาเงาหรือราคาทาง บัญชีของสินค้าที่ซื้อขายต่างประเทศได้ ซึ่งโดยปกติแล้วการนำเข้า คือ ราคา C.I.F. และการส่งออก คือราคา F.O.B. จากนั้นราคาชายแดนจะถูกปรับด้วยค่าขนส่ง และค่าการตลาดในประเทศระหว่างที่ตั้งของโครงการกับจุดการส่งออกและนำเข้า ผลที่ได้คือ ราคาเงาหรือราคาทางบัญชีที่จะใช้กับการประเมินค่าโครงการต่อไป 

การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศไม่ได้ รายการที่ซื้อขายต่างประเทศไม่ได้ คือ สินค้าหรือบริการที่ต้นทุนการผลิตในประเทศต่ำกว่าราคา C.I.F แต่สูงกว่าราคา F.O.B. หรือ การที่รายการนั้นๆ มีการแทรกแซงจากรัฐบาลด้วยวิธีการห้ามการนำเข้า โควต้า และอื่นๆ การเปลี่ยน จากราคาทางการเงินไปเป็นราคาทางเศรษฐศาสตร์สามารถทำได้โดยการคูณด้วยตัวประกอบแปลงค่า (Conversion Factor) ที่เหมาะสม หรือคูณด้วยตัวประกอบแปลงค่ามาตรฐานซึ่งสามารถหาได้จากบัญชี รายชื่อทั้งหมดของตัวประกอบแปลงค่าที่กำหนดโดยธนาคารโลก ซึ่งค่า Conversion Factor : C.F      จะ เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หากประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจไปตาม ทิศทางที่มีการแข่งขันใกล้เคียงกับการแข่งขันสมบูรณ์ค่าของ C.F. จะมีค่าใกล้ 1 ถ้าค่า C.F. น้อยกว่า 1 หมายความว่า ราคาที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น (ราคาเงา)

3. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเขียนเนื้อหารายงานประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่  สีเขียว

เขียนเนื้อหารายงานประเมินประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่สีเขียวเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงานมีความสำคัญในการดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน

3.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ 

         เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ทางเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ กล่าวคือธุรกิจเราทำอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ ชัดเจน 

3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ 

          การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่สีเขียวหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา วิธีง่าย ๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์

3.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต

           3.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่สีเขียว

              3.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ เป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมาย ที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขาย การบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ    

              3.3.1.2 ขนาดตลาด สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวนคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน   

              3.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor) พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวประสบความสำเร็จ 

          3.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ ค่านิยมของลูกค้าปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้

       ดังนั้นจึงต้องมีหลักการเขียนที่ดีและสิ่งสำคัญควรมีเทคนิคการเขียนเนื้อหารายงานอย่างมีหลักการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. แฟ้มสะสมผลงาน

3. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการประเมินมูลค่าของทรัพยากร ประเมินต้นทุน  ค่าเสียโอกาส และการวิเคราะห์เครื่องมือทางการเงิน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. ประเมินความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงการวิเคราะห์โครงการทางด้านต่างๆเพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการที่เลือกมานั้นมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสังคมตามมาในภายหลังและสามารถทำให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและเวลาในบริบทของการจัดการพื้นที่สีเขียว โดยสามารถพิจารณารายละเอียดได้ดังข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการด้านความรู้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

- แฟ้มสะสมผลงาน

- การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ