หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HRB-2-029ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ปฏิบัติงานเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อนำมาตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพ และสามารถใช้เครื่องมือในการทำสอบคุณลักษณะทางกายภาพตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10305-01 เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 1 จัดเตรียมอุปกรณ์สุ่มตัวอย่าง 10305-01.01 77226
10305-01 เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 2 สุ่มตัวอย่าง 10305-01.02 77227
10305-01 เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 3 บันทึกการสุ่มตัวอย่าง 10305-01.03 77228
10305-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 1 เตรียมเครื่องมือทดสอบ 10305-02.01 77232
10305-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 2 ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 10305-02.02 77233
10305-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร 3 บันทึกผลการทดสอบ 10305-02.03 77234

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต

2. ทักษะการใช้เครื่องมือทดสอบคุณภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้การเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

2. มีความรู้การทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง โดยทำความสะอาด ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างในแต่ละประเภท เช่น อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างแบบชิ้น อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างแบบผง อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างแบบของเหลว และดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยใช้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่าง เช่น ใช้ท่อเหล็กสแตนเลสสำหรับตัวอย่างที่เป็นผง ใช้ปิเปตสำหรับตัวอย่างที่เป็นของเหลว ใช้พายเหล็กไร้สนิมสำหรับตัวอย่างที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น อุปกรณ์จะต้องสะอาดและแห้งสนิท พร้อมบันทึกผลการสุ่มตัวอย่างลงในเอกสารการผลิตโดยระบุจำนวนตัวอย่างที่สุ่ม ชื่อผลิตภัณฑ์ที่สุ่ม ชื่อผู้สุ่ม หมายเลขรุ่นของผลิตภัณฑ์ที่สุ่ม

          2. เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบทางกายภาพ ได้แก่ เครื่องชั่ง เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง เครื่องวัดความแข็ง เครื่องวัดความหนา โดยทำความสะอาดด้วยสารทำความสะอาด เปิดเครื่องมือทดสอบ ให้พร้อมใช้งาน แล้วดำเนินการทดสอบลักษณะทางกายภาพ เช่น เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง เครื่องวัดความแข็ง เครื่องวัดความหนา เป็นต้น พร้อมบันทึกผลการตรวจโดยบันทึกค่าที่ได้จากการทดสอบ

          3. ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร ตามคู่มือการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559และ คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาล จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2555


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ