หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมปัจจัยการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HRB-2-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมปัจจัยการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ปฏิบัติงานเตรียมเครื่องจักร เตรียมวัตถุดิบและวัสดุการบรรจุได้ตามขั้นตอนของคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301-01 เตรียมเครื่องจักร 1 ทำความสะอาดเครื่องจักรตามคู่มือวิธีการใช้เครื่องจักร 10301-01.01 77158
10301-01 เตรียมเครื่องจักร 2 ประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักรพื้นฐานที่ใช้ในการผลิตตามคู่มือวิธีการใช้เครื่องจักร 10301-01.02 77159
10301-01 เตรียมเครื่องจักร 3 ตั้งค่าเครื่องจักรให้ทำงานตามคู่มือการใช้เครื่องจักร 10301-01.03 77160
10301-01 เตรียมเครื่องจักร 4 ทดสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร 10301-01.04 77161
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 1 ตรวจเอกลักษณ์ทางกายภาพของวัตถุดิบ 10301-02.01 77166
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 2 ตรวจปริมาณของวัตถุดิบตามใบส่งวัตถุดิบ 10301-02.02 77167
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 3 คัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากวัตถุดิบ 10301-02.03 77168
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 4 ทำความสะอาดวัตถุดิบ 10301-02.04 77169
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 5 ลดขนาดวัตถุดิบ 10301-02.05 77170
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 6 ทำวัตถุดิบให้แห้ง 10301-02.06 77171
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 7 ตรวจวัดความชี้นของวัตถุดิบ 10301-02.07 77172
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 8 สกัดวัตถุดิบสมุนไพรตามเอกสารการผลิต 10301-02.08 77173
10301-02 เตรียมวัตถุดิบ 9 บันทึกเอกสารการเตรียมวัตถุดิบ 10301-02.09 77174
10301-03 เตรียมวัสดุการบรรจุ 1 ตรวจความถูกต้องของวัสดุการบรรจุตามใบส่งวัสดุการบรรจุ 10301-03.01 77184
10301-03 เตรียมวัสดุการบรรจุ 2 ทำความสะอาดวัสดุการบรรจุ 10301-03.02 77185
10301-03 เตรียมวัสดุการบรรจุ 3 บันทึกเอกสารการเตรียมวัสดุการบรรจุ 10301-03.03 77186

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต

2. มีความรู้เรื่องตรวจเอกลักษณ์ทางกายภาพของวัตถุดิบ

3. มีความรู้ขั้นตอนการแปรรูปวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. การทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนการใช้งาน โดยใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์ 70% ทำความเครื่องจักรก่อนการปฏิบัติงาน หลังจากการใช้งาน ใช้เครื่องดูดฝุ่นออกจากเครื่องจักร แล้วใช้ผ้าชุบน้ำหรือใช้น้ำล้างทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง

          2. สามารถถอด และประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักร และตั้งค่าเครื่องจักรให้สามารถใช้งานได้ให้ถูกต้องตามคู่มือวิธีการใช้งานเครื่องจักร

          3. ทวนสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร โดยตรวจสอบความถูกต้องในการประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และทดสอบการเดินเครื่องว่าสามารถใช้งานได้ปกติ เป็นต้น

          4. ตรวจลักษณะกายภาพของวัตถุดิบและระบุชนิดวัตถุดิบได้ โดยการดูลักษณะสี รูปร่าง ขนาดของวัตถุดิบ การปนเปื้อนของสิ่งปลอมปน เป็นต้น เช่น ขมิ้นชัน ใช้ส่วนของเหง้า มีสีเหลืองเหลืองเข้ม ,บอระเพ็ด ใช้ส่วนของเถา เถามีลักษณะกลม ผิวขรุขระไม่เรียบ มีรสขมเย็น เป็นต้น

          5. ตรวจสอบความถูกต้องของปริมาณวัตถุดิบ โดยตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบให้ตรงกับใบรายการผลิต หรือการชั่งเพื่อตรวจสอบน้ำหนักและปริมาณอีกครั้ง เป็นต้น

          6. คัดแยกสิ่งแลกปลอมออกจากวัตถุดิบ โดยคัดเอาเศษดิน หิน หญ้า แยกออกจากวัตถุดิบ เป็นต้น

          7. การทำความสะอาดวัตถุดิบ เช่น การล้าง เป็นต้น

          8. การลดขนาดวัตถุดิบให้มีขนาดเล็กลง โดยวิธีการลดขนาดวัตถุดิบ เช่น หั่น สับ บด แร่ง เป็นต้น

          9. การทำวัตถุดิบให้แห้ง โดยการนำเข้าตู้อบลมร้อน ตากแดด ผึ่งลม ที่อุณหภูมิ 40-55 องศาเซลเซียสเป็นต้น

          10. การตรวจวัดความชื้นของวัตถุดิบ โดยการใช้เครื่องวัดความชื้น หากมีความชื้นเกินกว่ากำหนดให้ทำการนำเข้าตู้อบเพื่อลดความชื้น เป็นต้น

          11. วิธีการสกัดวัตถุดิบสมุนไพร โดยวิธี การหมัก การต้ม การทอด การเคี่ยว การบีบ การคั้น การกลั่น เป็นต้น

          12. บันทึกเอกสารการเตรียมวัตถุดิบ โดยระบุชื่อของวัตถุดิบ วิธีการเตรียมวัตถุดิบ ปริมาณวัตถุดิบ วันเดือนปี เวลา ลายมือชื่อผู้เตรียม เป็นต้น

          13. การตรวจความถูกต้องของวัสดุบรรจุ ตามเอกสารใบสั่งการผลิตเช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ฟองน้ำ ฝาฟรอยด์ ฟิล์มหด ซิลิกาเจล ฝาจุก เป็นต้น

          14. วิธีการทำความสะอาดวัสดุการบรรจุ เช่น เป่า ล้าง อบ เป็นต้น

          15. บันทึกเอกสารการเตรียมวัสดุการบรรจุ โดย ชนิดของวัสดุการบรรจุ จำนวน วันเดือนปี เวลา ลายมือชื่อผู้เตรียม เป็นต้น

          16. เตรียมปัจจัยการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร ตามคู่มือการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559 และ คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาล จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2555

          17. วัตถุดิบ คือ สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิต

          18. วัตถุดิบสมุนไพร คือ สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติและยังไม่ผ่านกรับวนการใดๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิต ทั้งนี้รวมถึงวัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ หรือแร่

          19. เครื่องจักร คือ เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องผสม เครื่องตัดเม็ด เครื่องรีดเส้น ตู้อบ เครื่องบรรจุแคปซูลด้วยมือ เครื่องบรรจุแคปซูลกึ่งอัตโนมัติ เครื่องบรรจุแคปซูลอัตโนมัติ เครื่องขัดฝุ่นแคปซูล เครื่องผลิตแกรนูล เครื่องบด เครื่องร่อน เครื่องตอกเม็ด เครื่องเคลือบเม็ด เครื่องบรรจุลงขวด เครื่องติดฉลาก เครื่องบรรจุแผงบลิสเตอร์ เครื่องบรรจุแคปซูลนิ่ม  เครื่องนับเม็ด เครื่องบรรจุผงลงซอง

          20. วัสดุการบรรจุ คือ วัสดุที่ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ อาจเป็นชนิดปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ขึ้นกับว่ามีการสัมผัสกับผลิตภัณฑ์หรือไม่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.3 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ